KTC - ซื้อ

KTC - ซื้อ

ได้เวลาปลดล็อกกำไรแล้ว

Event

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรและราคาเป้าหมาย

lmpact

การเปลี่ยนมาใช้มาตรฐานบัญชี TFRS9 ทำให้ประมาณการกำไรของเรามี upside

การเปลี่ยนมาตรฐานบัญชีใหม่จะทำให้โครงสร้างกำไรของ KTC และตัวชี้วัดคุณภาพสินทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีทั้งด้านบวกและลบ โดยในด้านบวกจะทำให้การกันสำรองลดลงอย่างมาก เพราะ TFRS9 ไม่เปิดช่องให้ KTC ตัดหนี้สูญเมื่อมีการผิดนัดชำระสามเดือน ซึ่ง KTC ตัดหนี้สูญสูงถึง 5.9 พันล้านบาทในปี 2561 และ 6.3 พันล้านบาทในปี 2562 และทำให้การตัดหนี้สูญในอนาคต และจะต้องลดลง ซึ่งเมื่ออิงจากคุณภาพสินทรัพย์ในปัจจุบัน KTC บอกว่าการตัดหนี้สูญจะอยู่ที่ประมาณปีละ 400-500 ล้านบาท ทำให้การตั้งสำรองฯลดลงตามไปด้วย ภายใต้สมมติฐานอัตราการติดตามหนี้เสียคืนได้อยู่ที่ประมาณ 60-70% ซึ่งจากข้อมูลนี้ เราคาดว่า KTC น่าจะกันสำรองประมาณปีละ 3.0 พันล้านบาท (ลดลงจากปีที่แล้วครึ่งหนึ่ง)

....รายได้ติดตามหนี้ยังคงมีอยู่อีก 2-3 ปี ข้างหน้า

จากข้อมูลในอดีต KTC จะหนี้สูญเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระ >90 วัน และเมื่อติดตามหนี้กลับมาได้ก็จะรับรู้รายได้จากการติดตามหนี้เสียคืนมาได้ในภายหลัง ทั้งนี้ KTC บอกว่าสินเชื่ออายุ 2-3 ปีที่มีการตัดหนี้สูญสะสมอยู่ที่ประมาณ 18-20 พันลบ. และอัตราการติดตามคืนหนี้ได้ 60-70% ซึ่งหมายความว่าบริษัทจะ
สามารถติดตามหนี้เสียคืนมาได้ประมาณ 1.0-1.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้บริษัทรับรู้ในงบ P/L ประมาณ 3.4 พันล้านบาทในปี 2563 และ 3.0 พันล้านบาทในปี 2564

NPL จะพุ่งขึ้น

ส่วนในแง่ลบนั้น การที่ TFRS9 นั้นจำกัดการตัดหนี้สูญทำให้ตัวชี้วัดคุณภาพสินทรัพย์เปลี่ยนไป โดยสัดส่วน NPL ที่บริษัทรายงานจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็น 3% ใน 1Q63, 4.5% ใน 2Q63, 6% ใน 3Q63 และ 7.2% ใน 4Q63 (จาก 1% ในปี 2562) แต่อย่างไรก็ตาม สัดส่วน NPL จะค่อย ๆ ลดลงเหลือ 300% ใน 1Q63 และ <200% ใน 4Q63 (จาก 620% ในปี 2562) ทั้งนี้ NPL ที่เพิ่มขึ้น และ สัดส่วน NPL coverage ที่ลดลงจะอิงจากการ write-off NPL ที่ลดลงอย่างมากเหลือแค่ปีละ 450 ล้านบาท (จากเดิมปีละ 6 พันล้านบาท)

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2562/64 ขึ้นอีก +12%/+18% และปรับเพิ่มราคาเป้าหมายปี 63F เป็น 48บาท (จากเดิม 36 บาท)

เราปรับประมาณการกำไรเพื่อสะท้อนถึงการปรับลดสมมติฐานการกันสำรองปี 2563/64 ลงเหลือ 5.1/4.1 พันล้านบาท (จากเดิม 6.0/6.2 พันล้านบาท) คิดเป็น credit cost ที่ 526bps/375bps (ลดลงจากเดิมที่ ปีละ 720bps) เรามองว่า upside/downside จะขึ้นอยู่กับการติดตามหนี้ NPL ซึ่งหากใช้สมมติฐานอัตราการติดตาม NPL คืนมาได้ 50% ค่าใช้จ่ายกันสำรองน่าจะอยู่ที่ปีละประมาณ 3.5 พันล้านบาท และจะอยู่ที่ 3 พันล้านบาทหากสามารถติดตาม NPL ได้ 40% (สมมติฐานในกรณีฐานของเราอยู่ที่ 35%) เมื่อใช้ P/E ที่ 18x (re-rate จากเดิมที่ 15.5x) ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 48 บาท (จากเดิมที่ 36 บาท)

Risks

การแข่งขันที่เข้มข้นกดดันให้ค่าใช้จ่ายด้านการตลาดเพิ่มขึ้น และ NPL เพิ่มขึ้น