Economic (14 ก.พ.63)

Economic (14 ก.พ.63)

4Q62 GDP: คาดจะชะลอตัวเหลือ 2.1% YoY

Event

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (The Office of the National Economic and Social Development Council: NESDC) จะรายงานอัตราการขยายตัว GDP 4Q62 ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563

lmpact

อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยใน 4Q62 จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 2.1% YoY (Figure 1) จากที่ขยายตัว 2.4% YoY ใน 3Q62 และคาดว่าทั้งปี 2562 จะขยายตัว 2.4% การบริโภคภาคเอกชนจะยังคงเป็นตัวจักรสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย แต่การที่อัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลงส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศ และความเชื่อมั่นที่ลดลงในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐก็อาจจะเป็นอีกปัจจัยที่หน่วงการเติบโตของ GDP ใน 4Q62 อย่างไรก็ตาม การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงเป็ นปัจจัยที่ยังช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจได้เล็กน้อย

การผลิตในประเทศลดลงอย่างมากใน 4Q62 และเป็นปัจจัยหลักที่ฉุดให้ GDP ใน 4Q62 ขยายตัวต่ำ ซึ่ง GDP ที่โตต่ำมาจาก

i) การส่งออกลดลงในระดับปานกลาง 4.9% YoY และ MPI ลดลง 6.9% YoY ใน4Q62 เป็นผลกระทบโดยตรงจากกรณีพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ และการปิ ดซ่อมบำรุงโรงกลั่นสามโรงชั่วคราวที่ทำให้การผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ปิ โตรเลียมลดลงอย่างมากในขณะที่ยอดส่งออกรถยนต์ลดลงในระดับสูงสะท้อนถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า

ii) การชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศ ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 2.0% YoY ใน 4Q62 ในขณะที่ดัชนีสินค้าไม่คงทนเพิ่มขึ้นระดับต่ำ 1.2% YoY ส่วนดัชนีสินค้ากึ่งคงทนลดลง 0.7% YoY และดัชนีสินค้าคงทนลดลง 8.8% YoY การที่ดัชนีสินค้าคงทนลดลงอย่างมากใน 4Q62 เป็นผลมาจากยอดขายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ลดลง 16.6% YoY ในขณะที่ยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลลดลง 16.0% YoY และยอดขายรถมอเตอร์ไซค์ลดลง 7.5% YoY

iii) ธปท. นำเกณฑ์ LTV มาใช้เพื่อคุมการเก็งกำไรบ้านและคอนโดมิเนียมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 ส่งผลให้อุปสงค์ภาคอสังหาริมทรัพย์ลดลง 5% YoY ใน 2Q62 และ 3Q62 นอกจากนี้ ฐานที่สูงใน 4Q62 และ 1Q63 ซึ่งเป็นช่วง peak ของอุปสงค์ก่อนที่จะมีการนำมาตรการ LTV มาใช้จะส่งผลกระทบกับอุปสงค์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ 5-8% YoY ใน 4Q62 และ 1Q63 ซึ่งหมายความว่าการลงทุนในที่อยู่อาศัย และการจับจ่ายใช้สอยที่เกี่ยวกับบ้านจะลดลง
5-8% ทั้งนี้ ผลกระทบจากเกณฑ์ LTV สะท้อนให้เห็นได้จากยอดขายปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ให้แสงสว่าง และของใช้ในบ้านอื่น ๆ ในร้านขายสินค้าเฉพาะด้าน

iv) สต็อกสินค้าลดลงส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ชะลอตัวลงเนื่องจาก

             - มีการปิดโรงกลั่นน้ำมัน ทำให้ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบ และเคมีภัณฑ์ลดลง
             - กรณีพิพาททางการค้าทำให้สต็อกสินค้าในภาคส่งออกชะลอตัวตามปริมาณการส่งออกที่ลดลง
             - ยอดขายรถยนต์ในประเทศ และยอดส่งออกรถยนต์ลดลงอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อสต็อกชิ้นส่วนยานยนต์
             - ปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงทำให้ผลผลิตภาคเกษตรลดลง 1%

v) การใช้จ่ายภาครัฐใน 4Q62 ลดลง 14.1% YoY แสดงถึงการชะลอตัวของการลงทุนภาครัฐ แต่อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าการลงทุนภาครัฐ (การก่อสร้าง) จะยังคงขยายตัวจากโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานจากไตรมาสก่อนหน้า ได้แก่
        - รถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-คูคตส่วนต่อขยาย) ของ BTS
        - รถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ของ รฟท.
        - รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ) ของ รฟม.
        - รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) ของ รฟม.
        - มอเตอร์เวย์ (บางปะอิน-โคราช) รวมถึงโครงการสร้างถนน และสะพานของกรมทางหลวง
        - โครงการปรับปรุงน้ำประปากรุงเทพ ของการประปานครหลวง (กปน.)
        - โครงการสถานีจ่ายไฟของการไฟฟ้ านครหลวง (กฟน.)
        - ระบบสายส่งไฟฟ้ า และโครงการโรงไฟฟ้ าของการไฟฟ้ าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
        - รถไฟทางคู่: ช่วงถนนจิระ-ขอนแก่น ลพบุรี-ปากน้ำโพ นครปฐม-ชุมพร ของ รฟท.
        - โครงการขยายสนามบินสุวรรณภูมิเฟสที่ II ของ AOT

เกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้น 53.2% YoY ในสกุลบาทอยู่ที่ 3.144 แสนล้านบาท การนำเข้าสินค้าทุนลดลงจากกรณีพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ ในขณะที่อุปสงค์รถยนต์ที่ลดลงทำให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนยานยนต์และอะไหล่ลดลง ราคาน้ำมันดิบลดลงส่งผลให้เกินดุลการค้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติส่งผลดีต่อการเกินดุลบริการของประเทศ