ซีลีโกะ’พลิกเกมหันส่งออก ยึดเทรนด์ "เฮลท์ตี้"สู้ "รสแซ่บ"

ซีลีโกะ’พลิกเกมหันส่งออก   ยึดเทรนด์ "เฮลท์ตี้"สู้ "รสแซ่บ"

ตลาดสาหร่ายในไทยเริ่มอิ่มตัว แข่งขันสูง ตลาดที่เติบโตเป็นกลุ่มสาหร่ายทอด จุดเปลี่ยนที่จะเป็นโอกาสพลิกตลาดเพิ่มยอดขายให้กับซีลีโกะ อยู่ตรงที่มีคู่ค้าจากจีนถึง 3 รายเข้ามาเจรจา นำเข้าสินค้าจากไทยไปจำหน่าย เขาชอบตรงความเข้มข้นรสชาติ แต่ไม่มีผงปรุงรส

บริษัทแคปปิตัล เทรดดิ้งจำกัดก่อตั้งปี2536 เพื่อทำหน้าที่การตลาด(Marketing Arms)ให้กับกลุ่มธุรกิจในเครือเอสทีซีกรุ๊ป(STC group)และเป็นเจ้าแรกของไทยที่บุกเบิกตลาดสาหร่ายเป็นขนมขบเคี้ยว(Seaweed Snack) ตั้งแต่ปี2537 ภายใต้แบรนด์ซีลีโกะ(Seleco)

ผ่านไปกว่า26 ปีมีคู่แข่งตลาดสาหร่ายทอดมาทีหลังแต่เติบโตอย่างรวดเร็วเจาะตลาดคนทั่วไป(Mass)จนทำให้ตลาดสาหร่ายรวมมีมูลค่ากว่า3,000 ล้านบาทในปี2562 แบ่งเป็นสาหร่ายทอด2,000 ล้านบาทที่เหลือ1,000ล้านบาทคือสาหร่ายอบย่างและเทมปุระโดยผู้นำตลาดคือเถ้าแก่น้อยและมาชิตะส่วนแบ่งทางการตลาดรวมเกือบ90%

ขณะที่"ซีลีโกะก็ยังเติบโตบนฐานที่มั่นในสาหร่ายอบกรอบย่างไม่มีผงปรุงรสเน้นกลุ่มเฉพาะ(Niche Market)คนรักสุขภาพเป็นหลักไต่บันไดโตเฉลี่ยปีละ20% ยอดขายรวมราว240-250 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาส่วนแบ่งทางการตลาดสาหร่ายในประเทศสัดส่วน5%ส่วนใหญ่เป็นสาหร่ายอบ

โจทย์ยากและท้าทายของซีลีโกะที่มีจุดยืนสุขภาพแต่มูลค่าตลาดหลักยังเป็นแมสที่คนห่วงรสชาติความแซ่บมากกว่าสุขภาพเห็นได้จากมูลค่าสาหร่ายทอดสูงถึง2,000 ล้านบาทคนไทยเป็นชาติที่บริโภคสาหร่ายทอดมากกว่าที่สุด

วัลลภพิชญ์พงศากรรมการผู้จัดการบริษัทแคปปิตัลเทรดดิ้งจำกัดผู้รับผิดชอบกลุ่มธุรกิจการตลาดการค้าภายใต้เครือเอสซีทีซึ่งมี8 กลุ่มธุรกิจประกอบด้วยมันสำปะหลัง, ข้าว, การขนส่งสินค้า, ธุรกิจการค้า, บรรจุภัณฑ์, การบริการเช่นโรงแรมรีสอร์ท, ธุรกิจไม้สับและกลุ่มบริษัทร่วมทุน

โดยมีสินค้าหลักมี2 ชนิดคือคือสาหร่ายปรุงรสแบรนด์ซีลีโกะและข้าวอินทรีย์เป็นการพัฒนาสินค้าสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ธุรกิจในเครือสร้างโอกาสวางฐานการเติบโตในอนาคตโดยมีจุดยืนจับกลุ่มตลาดสินค้าสุขภาพเปิดตลาดสาหร่ายมามากกว่า20ปีตั้งแต่เทรนด์การใส่ใจดูแลสุขภาพยังไม่เกิดขึ้น

เขามองว่าทำเซ็คเม้นท์สุขภาพมานานแม้จะไม่เติบโตหวือหวาแต่เป็นการเติบโตอย่างมั่นคง  ทว่าจุดเปลี่ยนเกิดขึ้นช่วงปลายปีที่ผ่านมาเมื่อพันธมิตรธุรกิจตัวแทนผู้กระจายสินค้ายักษ์ใหญ่3 รายจากจีนเข้ามาเจรจานำเข้าสาหร่ายพร้อมกับสั่งผลิตสาหร่ายสูตรเฉพาะภายใต้แบรนด์ซีลีโกะและคิดชื่ออีกแบรนด์พัฒนาเพิ่มเพื่อร่วมกันเจาะตลาดจีนในหลากหลายภูมิภาค

โดยวีรอรพิชญ์พงศารองกรรมการผู้จัดการบริษัทแคปปิตัลเทรดดิ้งจำกัดผู้ที่เข้ามาช่วยดูแลกลยุทธ์การตลาดสาหร่ายแบรนด์นี้อ่านเกมการพลิกหนีการแข่งขันดุเดือดในไทยด้วยการนำสาหร่ายไทยฉีกไปรุกตลาดจีนเนื่องจากจีนเป็นตลาดที่ใหญ่และจีนกำลังอยู่ในกระแสใส่ใจสุขภาพอย่างจริงจังถึงขั้นเป็นโรคกลัวตายแพร่ระบาดหนักในจีนกลายเป็นเทรนด์ที่ทำให้พฤติกรรมการกินของคนจีนเปลี่ยนไปเน้นสินค้าที่มีประโยชน์ไม่ทานของทอดที่สำคัญหน่วยงานภาครัฐมีกฎระเบียบด้านการนำเข้าสินค้าที่มีส่วนผสมหรือเครื่องปรุงรสที่ค่อนข้างเข้มงวด

ทำให้สินค้าภายใต้แบรนด์ซีลีโกะซึ่งมีจุดแข็งเป็นหนึ่งใน3 สาหร่ายไทยที่ได้รับมาตรฐานส่งออกได้เพราะไม่มีส่วนผสมเป็นอันตรายต่อสุขภาพรวมไปถึงสินค้ามีความหลากหลายรายการ(SKU)ไม่ต่ำกว่า20 รายการเน้นสินค้าอบย่างไม่มีส่วนผสมผงชูรสและนำไปสร้างสรรค์ส่วนผสมกับสินค้าหลากหลายชนิดที่จะเพิ่มรสชาติให้กับสาหร่ายอาทิทุเรียนนมปลากรอบและธัญพืช

โดยผู้ที่ทำหน้าที่กระจายสินค้าในจีน(Distributor) มีทั้งในห้างสรรพสินค้า(Modern Trade)และร้านค้าปลีกดั้งเดิมหรือทั่วไป(Traditional Trade) หลายรายเพราะห้างฯเหล่านี้ต้องการพลิกไปรุกตลาดสุขภาพตามเทรนด์ในจีนจึงเปิดเจรจาพัฒนาสินค้ากับแคปปิตัลเทรดดิ้งหวังชิงส่วนแบ่งกับตลาดสาหร่ายในจีนที่ปัจจุบันมีคู่แข่งในตลาดกว่า20 แบรนด์หลายแบรนด์เป็นของคนจีนแต่คนจีนชอบรสชาติสาหร่ายจากไทยมากกว่าและที่สำคัญเป็นแบรนด์ไทยที่อยู่ในตลาดมานานกว่า26 ปีจึงเป็นข้อได้เปรียบ

ตลาดสาหร่ายในไทยเริ่มอิ่มตัวและการแข่งขันสูงตลาดที่เติบโตเป็นกลุ่มสาหร่ายทอดจุดเปลี่ยนที่จะเป็นโอกาสพลิกตลาดเพิ่มยอดขายให้กับซีลีโกะอยู่ตรงที่มีคู่ค้าจากจีนถึง3 รายเข้ามาเจรจานำเข้าสินค้าจากไทยและยังร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์พิเศษเขาชอบตรงความเข้มข้นรสชาติแต่ไม่มีผงปรุงรส

หลังจากทำข้อตกลงกันมีแผนจะเปิดตัวสินค้าในจีนเป็นแห่งแรกในไตรมาส2 ปีนี้แต่เมื่อเกิดการระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาอาจทำให้แผนเลื่อนไปประมาณ1-2 เดือนจากเป้าหมาย

ขณะเดียวกันยังได้ลงนามกับพันธมิตรตัวแทนจำหน่ายสินค้าในยุโรปที่จะนำสาหร่ายซีลีโกะไปกระจายใน10 ประเทศที่ผ่านมาเน้นส่งออกกลุ่มเอเชียในยุโรปเป็นหลัก

สำหรับตลาดเมืองไทยยอมรับว่ายังมีความท้าทายกับสินค้าสุขภาพซึ่งเป็นตลาดเฉพาะขณะที่สาหร่ายเป็นตลาดแมสลูกค้าส่วนใหญ่จึงไม่เข้าใจเหตุผลทำไมต้องกังวลด้านสุขภาพมากไปจนถึงกับต้องยอมงดทานอาหารรสชาติเข้มข้นแบบไทยแบรนด์จึงต้องสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจปรับทัศนคติของคนให้เข้าใจสินค้าอร่อยไปพร้อมกับใส่ใจเครื่องปรุงเป็นสิ่งจำเป็น

ต้องทำให้ผู้บริโภคเข้าใจเมื่อคนทั่วไปไม่สนใจสาหร่ายเพื่อสุขภาพสวนทางกับสินค้าเราเน้นสุขภาพจึงต้องสื่อสารให้เข้าใจการทำให้อร่อยนั้นไม่ยากแต่การทำให้ส่วนผสมไม่มีสิ่งที่เป็นอันตรายจะต้องผ่านการคิดค้นและวิจัยวีรอรทิ้งท้าย