ผ่าโปรเจค 'บ้านจัดสรรทหาร' ขบวนการเงินทอน งาบหัวคิว!

ผ่าโปรเจค 'บ้านจัดสรรทหาร' ขบวนการเงินทอน งาบหัวคิว!

เปิดโปง! ขบวนการเงินทอน งาบหัวคิว จากโครงการ 'บ้านจัดสรรทหาร' ชนวนเหตุแห่งโศกนาฏกรรม กราดยิงโคราช

มูลเหตุจูงใจในการก่อเหตุโศกนาฏกรรม "กราดยิงโคราช" ถึงขณะนี้ค่อนข้างชัดเจนว่ามาจากความขัดแย้งระหว่างผู้ก่อเหตุกับผู้บังคับบัญชา รวมถึงนายหน้า และบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งใช้เงินกู้สวัสดิการของกองทัพในการทำสัญญาซื้อขาย

ข้อมูลจากคนใกล้ชิดชัดเจนว่า สาเหตุมาจากแรงกดดันเรื่องนี้แน่นอน เพราะผู้ก่อเหตุเข้าใจว่าถูกโกง ถูกหักหลัง ไม่ได้เงิน และระหว่างที่ทวงถามมาก่อนหน้านี้ ก็ถูกลงโทษรูปแบบต่างๆ จากผู้บังคับบัญชา ซึ่งผู้ก่อเหตุมองว่าตัวเองถูกกลั่นแกล้ง จนสะสมความแค้นและระเบิดออกมาเป็นการก่อเหตุรุนแรง

โดยหลังจากยิง “พันเอก” ที่เป็นผู้บังคับบัญชาพร้อมแม่ยาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการบ้านจัดสรรแล้ว ผู้ก่อเหตุก็ได้กลับเข้าไปในค่าย ขโมยอาวุธสงครามและกระสุนจำนวนมาก จากนั้นไล่ตามผู้เกี่ยวข้องที่ยังเหลือ ซึ่งเจ้าตัวทราบว่าไปทำบุญที่วัดป่าศรัทธาธรรม และไปที่ห้างเทอร์มินัล 21

นี่เองจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมผู้ก่อเหตุจึงไปก่อโศกนาฏกรรมที่สถานที่ทั้ง 2 แห่งนี้ ส่วนสภาพจิตใจของผู้ก่อเหตุที่ตัดสินใจยิงและสังหารผู้บริสุทธิ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความแค้นของตนเอง คงต้องเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมสุขภาพจิตที่จะวิเคราะห์ต่อไป เพื่อหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้อีก

“เนชั่นทีวี” ตรวจสอบโครงการจัดซื้อบ้านจัดสรร และที่ดินจัดสรรของกำลังพล ซึ่งเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดตามมา พบว่าโครงการลักษณะนี้มีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน สามารถกู้เงินสวัสดิการของกองทัพมาผ่อนชำระได้ทั้ง 2 รูปแบบ

บบแรก เรียกว่า “โครงการบ้านธนารักษ์” เป็นโครงการที่กองทัพบกทำร่วมกับกรมธนารักษ์ ตามนโยบายที่จะให้กำลังพลของกองทัพบกมีบ้านอยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยทำโครงการบนที่ดินของกรมธนารักษ์ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ เช่นที่เห็นจากภาพประชาสัมพันธ์ของโครงการฯ ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ รูปแบบหรือแบบแปลนการก่อสร้างจะคล้ายๆ กัน คือ เป็นบ้านชั้นเดียว บนเนื้อที่ราวๆ 50-80 ตารางวา

โครงการนี้ให้สิทธิกำลังพลของกองทัพบกซื้อ โดยกรมสวัสดิการทหารบกเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อให้ ผู้กู้ต้องเป็นข้าราชการสังกัดกองทัพบก หรือกำลังพลใกล้เกษียณ และเป็นสมาชิกกิจการออมทรัพย์ข้าราชการกองทัพบก หรือ อทบ.ด้วย

จากนั้นก็จะกู้ได้ ในประเภทเงินกู้ “อทบ.เพื่อการเคหสงเคราะห์” จะเห็นได้ว่ามีการแยกเป็นหมวดหมู่ประเภทไว้ชัดเจน

ผู้กู้จะได้กรรมสิทธิ์ในตัวบ้าน ส่วนที่ดินต้องทำสัญญาเช่าระยะยาวกับกรมธนารักษ์

สำหรับบ้านตามโครงการ “บ้านธนารักษ์” นี้ สามารถตกทอดแก่ทายาทได้ แต่ไม่สามารถซื้อขายถ่ายโอนพร้อมที่ดินได้ เพราะที่ดินยังเป็นของธนารักษ์ 

โครงการนี้เป็นโครงการถูกกฎหมาย และไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเงินทอน เพราะต้องกู้ตรงกับกรมสวัสดิการทหารบก

158157306366

แบบที่ 2 เป็น โครงการที่ดินจัดสรร และบ้านจัดสรรเอกชน แยกย่อยเป็น 2 รูปแบบ คือ

รูปแบบที่ 1 ที่ดินจัดสรรของหน่วยทหารเอง มีทั้งแบ่งซอยเป็นที่ดินเปล่า แล้วปลูกบ้านทีหลัง ซึ่งเป็นไปตามโครงการเงินกู้สวัสดิการ สำหรับซื้อที่ดินเพื่อปลูกสร้างบ้านให้กับกำลังพล มีทั้งของกองทัพบก และของกระทรวงกลาโหม วิธีการคือให้ผ่อนซื้อที่ดินก่อน เมื่อผ่อนหมดแล้วค่อยกู้ใหม่สำหรับปลูกสร้างบ้าน

สาเหตุที่มีเงื่อนไขแบบนี้ ก็เพื่อไม่ให้กำลังพลมีภาระผ่อนจ่ายมากเกินไป จนกระทบกับการดำรงชีวิตประจำวัน

โครงการแบบนี้แม้จะมีปัญหาบ้าง แต่ก็ไม่มาก เพราะที่ดินยังคงเป็นของทางราชการอยู่ คล้ายๆ โครงการบ้านธนารักษ์

โครงการที่มีปัญหาจริงๆ คือ รูปแบบที่ 2 โดยที่ดินจัดสรรเป็นของเอกชน มีทั้งที่ดินของเอกชนจริงๆ และที่ดินที่หน่วยทหารเคยกันไว้สำหรับใช้ในภารกิจทางทหาร แล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ จึงกลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ถูกบุกรุกจับจองโดยชาวบ้าน จากนั้นก็มีนายทุนเอกชนมากว้านซื้อ แล้วนำมาทำโครงการบ้านจัดสรรขายกำลังพลอีกต่อหนึ่ง 

โครงการลักษณะนี้ได้รับความนิยม เพราะอยู่ใกล้กับหน่วยทหาร มีความปลอดภัย กำลังพลที่ซื้อไว้ก็จะมีบ้านใกล้ที่ทำงาน เดินทางสะดวก ยิ่งในต่างจังหวัดก็อากาศดี แถมราคาถูก

สาเหตุที่ราคาถูก เพราะที่ดินเหล่านี้กว้านซื้อมาจากชาวบ้านที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ครอบครอง บางกรณีหัวหน้าหน่วยทหารเองที่เป็นใจ ช่วยขับไล่ชาวบ้านที่จับจองอยู่ก่อน แล้วก็ยกที่ให้เอกชนไปทำโครงการ ทำให้เอกชนมีต้นทุนต่ำมากในการทำโครงการบ้านจัดสรร ต้นทุนราคาปลูกสร้างและสาธารณูปโภคอยู่ที่หลักแสน แต่เวลายื่นกู้ให้กู้หลักล้าน

จากนั้นเอกชนก็จะจับมือกับหัวหน้าหน่วย ให้จูงใจกำลังพลมาซื้อบ้าน โดยใช้ช่องโหว่ของโครงการเงินกู้สวัสดิการฯ ประเมินราคาที่ดินให้สูง มีนายทหารผู้บังคับบัญชาเซ็นรับรอง ก็จะสามารถกู้เงินได้เกินมูลค่าบ้านที่ซื้อขายจริง หรือไม่ก็อ้างขอกู้เพื่อตบแต่งซื้อเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งเป็นเงินกู้สวัสดิการอีกก้อนหนึ่ง ทำให้กระบวนการนี้มี “เงินทอน” คืนให้กับผู้ซื้อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกำลังพลระดับล่าง หรือทหารชั้นประทวน

โครงการแบบนี้จะสมประโยชน์กันทุกฝ่าย ทั้งเอกชนเจ้าของโครงการ ก็เข้าลักษณะ “จับเสือมือเปล่า” เนื่องจากได้ที่ดินมาในราคาถูกมาก จากนั้นก็นำไปปลูกบ้านจัดสรรขาย โดยปลูกตามออร์เดอร์ของผู้ซื้อ คือมีคนจอง เริ่มผ่อนชำระแล้วค่อยปลูกบ้าน แต่การจะได้ทำโครงการบ้านจัดสรร ก็ต้องจ่ายค่าหัวคิวให้กับนายทหารระดับผู้บังคับหน่วย

จากนั้นเอกชนก็จะจับมือกับหัวหน้าหน่วย ให้จูงใจกำลังพลมาซื้อบ้าน โดยใช้ช่องโหว่ของโครงการเงินกู้สวัสดิการฯ ประเมินราคาที่ดินให้สูง มีนายทหารผู้บังคับบัญชาเซ็นรับรอง ก็จะสามารถกู้เงินได้เกินมูลค่าบ้านที่ซื้อขายจริง หรือไม่ก็อ้างขอกู้เพื่อตบแต่งซื้อเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งเป็นเงินกู้สวัสดิการอีกก้อนหนึ่ง ทำให้กระบวนการนี้มี “เงินทอน” คืนให้กับผู้ซื้อ

ขณะที่ฝ่ายนายทหารหัวหน้าหน่วย ก็จะได้เงินก้อนจากเอกชนที่ทำโครงการ และยังได้ส่วนแบ่งจากการเซ็นอนุมัติให้กำลังพลกู้เงินในอัตราที่สูงเกินราคาบ้านจริง เพื่อหวังเงินทอนด้วย

ส่วนฝ่ายกำลังพลระดับล่าง นายทหารชั้นประทวนในฐานะผู้ซื้อ ก็ได้เงินทอนไป แต่จริงๆ แล้วก็เป็นเงินในอนาคตของตัวเอง เพราะถึงอย่างไรตัวเองก็ต้องผ่อนชำระคืนอยู่ดี 

ฉะนั้นที่บอกว่าขบวนการนี้สมประโยชน์ทุกฝ่าย จึงไม่ถูกต้องนัก เพราะแท้ที่จริงแล้วกำลังพลชั้นผู้น้อยถูกหลอกและถูกเอาเปรียบ

โครงการลักษณะนี้มีกระจายอยู่รอบๆ หน่วยทหารหลายแห่งในต่างจังหวัด เช่น ที่ จ.นครราชสีมา มีทั้งที่ อ.เมือง อ.ปากช่อง และอำเภอใกล้เคียง 

บางโครงการเริ่มมีปัญหา เพราะที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ บางแห่งเป็น ภบท.5 (เอกสารการชำระภาษีบำรุงท้องที่) บางแห่งเป็น สค.1 ซึ่งไม่ใช่เอกสารสิทธิ์ เป็นแค่สิทธิครอบครองเบื้องต้นเท่านั้น จริงๆ โครงการลักษณะนี้มีในกองทัพอื่นๆ ด้วย บางโครงการมีการฟ้องร้องขับไล่ เพราะไปปลูกสร้างในเขตทหารก็ยังมี (แถวสัตหีบมีคดีแบบนี้ในชั้นศาล)

ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องดี หากจะจัดระเบียบกันอย่างจริงจังตามนโยบายที่ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ประกาศเอาไว้!