BBL - ถือ

BBL - ถือ

อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลจะช่วยจำกัด downside

Event

ประชุมนักวิเคราะห์ ปรับลดประมาณการกำไรและราคาเป้าหมาย

lmpact

มองลบกับแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2563

ผู้บริหารของ BBL เปลี่ยนมามองลบกับแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศ และใช้สมมติฐานอัตราการขยายตัวของ GDP แค่ 2.3% แต่อย่างไรก็ตาม เรามองว่าเป้าสินเชื่อธนาคารที่คาดว่าจะโต 3-4% ในปี 2563 ดูไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง (จาก -1% ในปี 2562) และเป้า NIM ที่ 2.2% ก็มี downside มากขึ้น
อีกเนื่องจากมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 25bps ในขณะที่ตัวชี้วัดในด้านคุณภาพสินทรัพย์ยังดูแข็งแกร่งจากส่วนรองรับหนี้เสียก้อนโต และการที่ยังสามารถรักษาระดับ NPL ที่คงที่

สำรองหนี้เสียจะลดลงมาก แต่หักล้างไปกับ NII และรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลงในปี 2563

หลังจากที่ BBL ตั้งสำรองหนี้เสียก้อนใหญ่ถึง 3.2 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วน NPL coverage เพิ่มขึ้นเป็น 220% ในปี 2562 ทำให้ BBL จะลดการตั้งสำรองหนี้เสียลงอย่างมากเหลือเพียง 1.2-1.5 หมื่นล้านบาทในปีนี้ คิดเป็นค่าใช้จ่ายสำรอง/หนี้เสีย (credit cost) ที่ 60-70bps แต่อย่างไรก็ตาม เราคิดว่า
การลดสำรองหนี้เสียลงจะไม่ได้ทำให้กำไรเพิ่มมากขึ้น เพราะจะถูกหักล้างการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยรายได้ค่าธรรมเนียม และกำไรจากการลงทุน และค่าใช้จ่ายในการดำนินงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งกำไรจากการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งเราคาดว่าปีละ 2.0 พันล้านบาทในอนาคต (ลดลงจากค่าเฉลี่ย 6-8 พันล้านบาท/ปีในอดีตที่ผ่านมา) เนื่องจากการเปลี่ยนวิธีการจัดชั้นตามมาตรฐานบัญชี TFRS9 และทำให้กำไรส่วนใหญ่จะรับรู้ผ่านส่วนผู้ถือหุ้น

ไม่มีแผนซื้อหุ้นคืนเพราะเงินกองทุนขั้นที่ 1 ลดลงอย่างมาก

ผู้บริหาร BBL มีมุมมองที่ชัดเจนที่จะไม่เดินหน้าซื้อหุ้นคืนอย่างที่ตลาดคาดเอาไว้ เนื่องจากสัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 ลดลงอย่างมากหลังการซื้อกิจการ Permat Bank ในอินโดนีเซียมาอยู่ที่ 14.5% (จาก 17.7%) คิดเป็น CAR ที่ 17.2% (ลดลงจาก 20.7%) ซึ่งเป็นการลดลงมากกว่าที่เราคาดเอาไว้ก่อนหน้านี้ทั้งนี้ สัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 และ CAR ที่ระดับนี้ถือเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในกลุ่มธนาคารใหญ่ ซึ่งสัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 จะอยู่ในช่วง 16-17% ทั้งนี้ สัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 ของ BBL ที่ 14.5% ได้รวมการหักมูลค่า goodwill จากการซื้อกิจการประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาทไปเรียบร้อยแล้ว

ปรับลดประมาณการกำไรปี 2563/64 ลง 8%/9% และปรับลดราคาเป้าหมายปี 63F ลงเหลือ 176 บาท

เราคิดว่าสัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 ที่ 14.5% จะทำให้ BBL ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลพิเศษ และซื้อหุ้นคืนได้ ดังนั้น แม้ว่าธนาคารจะลดสำรองหนี้เสียลงอย่างมาก แต่ก็จะไปหักล้างกับกำไรจากการค้าหลักทรัพย์ NII และรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลงเท่านั้น เราได้ปรับลดประมาณการกำไรปี 2563/64 ลง
8%/9% โดยปรับลดสมมติฐาน NIM ลง 10bps ปรับรายได้ค่าธรรมเนียม -2%/+5% (จากเดิมที่ +5%/+5%) ปรับสัดส่วนต้นทุน/รายได้เป็น 48%/47% (จากเดิมที่ 44%/42%) โดยใช้ P/BV ที่ 0.75x และ P/E ที่ 9.5x ทำให้ได้ราคาเป้าหมายใหม่ปี 2563F ที่ 176 บาท (จากเดิมที่ 198 บาท) เรายังคงคำแนะนำ ถือ

Risks

ความผันผวนของกำไรจากการลงทุน GDP <2.4%