‘วาเลนไทน์’ ชวนแฟนเปิด ‘บัญชีคู่’ วางแผนชีวิตรักและการเงิน

‘วาเลนไทน์’ ชวนแฟนเปิด ‘บัญชีคู่’ วางแผนชีวิตรักและการเงิน

ต้อนรับ 'วาเลนไทน์' พาส่อง 'บัญชีคู่' 3 รูปแบบที่สามารถเปิดร่วมกับคนรักได้ เพื่อร่วมกันวางแผนชีวิตรัก และบรรลุเป้าหมายทางการเงินในเวลาเดียวกัน

วาเลนไลน์ วนมาอีกครั้ง คนมีคู่มักถือโอกาสแสดงความรักหวานฉ่ำ อวดของแบบคนมีคู่ เสื้อคู่ รองเท้าคู่ สร้อยคู่ หรือแม้แต่เริ่มต้นสร้าง บัญชีคู่ เพื่อวางแผนการเงินร่วมกัน  

หลายคู่ตั้งเป้าเก็บเงินแต่งงาน ซื้อบ้าน ซื้อรถ ไปเที่ยวต่างประเทศ

..ทว่า ก่อนที่จะวางแผนการเงินด้วยการเปิด ‘บัญชีคู่’ ต้องศึกษา และพิจารณาก่อนว่ามันเหมาะกับ ‘คู่เรา’ จริงๆ ไหม?

บัญชีคู่’ เป็นบัญชีที่คู่ สามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็นบัญชี คู่รัก เพื่อน คนในครอบครัว โดยคน 2 คนจะสามารถมีชื่อเจ้าของบัญชีร่วมกัน พร้อมทั้งสามารถกำหนดว่าทั้งคู่จะมีสิทธิในการจัดการเงินในบัญชีอย่างเท่าเทียมกัน หรือจะมอบสิทธิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพอใจ ความสะดวก และเป้าหมายของแต่ละคู่ 

158158321072

การเปิด บัญชีคู่ สามารถทำได้ 3 รูปแบบหลักๆ แบบแรกคือ บัญชีออมทรัพย์คู่ แบบที่สองคือบัญชีประจำคู่ และแบบที่สาม คือ บัญชีกองทุนคู่

  • บัญชีออมทรัพย์คู่

สำหรับการเปิดบัญชีออมทรัพย์คู่สามารถใช้ชื่อบัญชีร่วมได้ 4 แบบ โดยแต่ละแบบแตกต่างตรงคำเชื่อมระหว่างชื่อเจ้าของบัญชีคือคำว่า และ’ ‘หรือ’ ‘เพื่อ’ ‘โดย’ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคาร การเก็บเงินแบบออมทรัพย์สามารถฝากเงินเข้าไปได้เรื่อยๆ ตามความต้องการของผู้ฝากไม่มีเงื่อนไขการฝากเงินจากทางธนาคาร

สำหรับคู่รัก ที่ต้องการออมเงินร่วมกัน อาจตกลงกันว่าจะฝากเงินเข้าไปเท่าๆ กัน ในแต่ละเดือน หรือสลับกับฝากเดือนเว้นเดือน ฯลฯ เพื่อสร้างวินัยสะสมเงินให้ค่อยๆ พอกพูนขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยมีดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ย 0.05-2.00 % ต่อปี (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2563) เป็นของแถมเล็กๆ น้อยๆ 

  • บัญชีฝากประจำคู่

สำหรับคู่รักที่มีรายรับที่ค่อนข้างคงที่ หรือมีเงินเย็น (เงินที่ไม่จำเป็นต้องใช้ด่วน) ตรงกับเงื่อนไขของบัญชีฝากประจำทำให้มีโอกาสได้รับดอกเบี้ยมากกว่าการฝากแบบออมทรัพย์ แต่ละธนาคารมีข้อเสนอที่หลากหลาย โดยข้อมูลอัตราดอกเบี้ยฝากประจำเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ จากธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนเฉลี่ยที่0.25-1.50% ต่อปี ฝากประจำ 6 เดือนเฉลี่ย 0.25-1.65% ฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ย 0.25-1.85% ส่วนฝากประจำ 24 เดือนดอกเบี้ยเฉลี่ย 1.00-1.80% ต่อปี

สิ่งที่ต้องพิจารณาให้ดี สำหรับการฝากประจำ คือต้องมั่นใจว่าจะสามารถฝากเงินเป็นประจำตามเงื่อนไขของธนาคารที่มักจะกำหนดเงินฝากประจำขั้นต่ำ (ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร) และต้องไม่กระทบค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

ข้อควรระวัง การเปิดบัญชีเงินฝากที่ให้ผลตอบแทนสูง และบัญชีเงินฝากประจำ บางผลิตภัณฑ์ไม่สามารถเปิดบัญชีร่วมกันได้ ดังนั้นต้องตรวจสอบในเงื่อนไขของแต่ละธนาคารให้เรียบร้อยก่อน โดยสามารถโทรสอบถามโดยตรง หรือดูได้จากรายละเอียดของแต่ละผลิตภัณฑ์จากเว็บไซต์ ดังตัวอย่างภาพด้านล่างนี้ 

158133133591

158133133468

158134084022

  • บัญชีกองทุนคู่

ต้องย้ำว่านี่ไม่ใช่การออมทรัพย์ธรรมดา แต่เป็นรูปแบบ การลงทุนอย่างหนึ่งที่มีโอกาสขาดทุนหรือสูญเงินต้น แต่ภายใต้ความเสี่ยงก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนตั้งแต่ 2-10% ต่อปี ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงของประเภทกองทุน สภาวะตลาด และลักษณะการลงทุน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: DCA ทางเลือกเก็บเงินก้อนใหญ่ไว้ใช้บน ‘คาน’

เงื่อนไขของการฝากเปิดบัญชีกองทุนคู่ คือมีการกำหนดจำนวนเงินซื้อขายขั้นต่ำ ซึ่งมีตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับแต่ละกองทุน) โดยบัญชีเงินฝากที่ผูกกับกองทุนรวมสำหรับรับเงินปันผลหรือเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ต้องเป็นชื่อบัญชีเดียวกับชื่อกองทุนรวมด้วย หมายความว่าก่อนจะเปิดบัญชีกองทุนคู่ ต้องมีบัญชีเงินฝากร่วมกันก่อน

ทั้งนี้ หากต้องการจะขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เปิดคู่กันไว้ จะต้องมีลายเซ็นของทั้ง 2 คนในใบขายคืนหน่วยลงทุนเสมอ เว้นแต่กรณีที่ต้องการให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปขายหน่วยลงทุนเพียงคนเดียว จะต้องมีการมอบอำนาจให้อีกฝ่ายได้เช่นกัน

อีกหนึ่งข้อที่ต้องตรวจสอบ คือ ‘เงื่อนไขการเปิดบัญชีกองทุนรวมแต่ละประเภทอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างกันออกไปตามข้อกำหนดของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เช่น กองทุนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ อาทิ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (RMF) จะไม่สามารถเปิดบัญชีร่วมกันได้  

กรณีที่ต้องการเก็บเงินไว้ดาวน์บ้าน เก็บเงินเพื่อเป็นเงินกองกลางไว้ใช้จ่ายในครอบครัวอาจกองทุนรวมตลาดเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือถ้าต้องการเก็บเงินไว้ใช้ในยามเกษียณของทั้งคู่ในระยะยาวอาจเลือกลงทุนในกองทุนรวมหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นมาอีกนิด

ทั้งนี้ การเลือกกองทุนที่เหมาะกับตัวเองหรือคู่ของตัวเอง ย่อมขึ้นอยู่กับความเข้าใจในการลงทุนกองทุนรวม ความเสี่ยงที่รับได้ด้วย เพราะ “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน”

การเปิดบัญชีคู่ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของการฝากเงินหรือการลงทุนก็คล้ายกับการเปิดบัญชีปกติ เพียงแต่มีชื่อของแฟนเราอยู่บนปกบัญชีและมีสิทธิในการบริหารจัดการเงินในบัญชีร่วมกันกับเราด้วย ซึ่งหมายความว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจต่างๆ ของเงินในบัญชีนี้ ต้องอาศัยการคิดและตัดสินใจจาก ทั้งคู่ 

การเปิดบัญชีคู่ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของการฝากเงินหรือการลงทุนก็คล้ายกับการเปิดบัญชีปกติ เพียงแต่มีชื่อของแฟนเราอยู่บนปกบัญชีและมีสิทธิในการบริหารจัดการเงินในบัญชีร่วมกันกับเราด้วย ซึ่งหมายความว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจต่างๆ ของเงินในบัญชีนี้ ต้องอาศัยการคิดและตัดสินใจจาก ทั้งคู่

การเลือกเปิดบัญชีคู่จึงต้องพิจารณาร่วมกันอย่างถี่ถ้วน โดยเฉพาะคู่รักที่เพิ่งปลูกต้นรักใหม่ๆ ที่ต้องคิดเผื่อเล็กๆ และทบทวนรอบคอบสักนิดว่าถ้ามีวันที่ต้อง ‘เลิกรา’ กันหรือ 'แยกกันอยู่อย่างถาวร' บัญชีที่เปิดร่วมกันไว้จะทำอย่างไร

กรณีที่เปิดร่วมกันแล้วใส่เงินในบัญชีคนละเท่าๆ กันสม่ำเสมอ สามารถแบ่งเงินในบัญชีคนละครึ่งได้เลย แต่ถ้าตอนเปิดบัญชีร่วมกัน แต่ต่างฝ่ายต่างฝากเงินไม่เท่ากัน จะต้องมาตกลงกันว่าจะแบ่งเงินกันอย่างไร แบ่งครึ่ง หรือแบ่งสัดส่วนคนละเท่าไร หากให้สิทธิการถอนเงินออกของอีกฝ่ายเดียว แล้วมีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ถอนเงินในบัญชีออกหมด ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน 

ดังนั้น ก่อนที่จะเปิดบัญชีร่วมกัน ต้องมั่นใจว่าทั้ง 2 สามารถจัดการเงินก้อนนี้ได้อย่างลงตัว และไม่เป็นภาระของกระบวนการยุติธรรมเพราะ เรื่องเงินไม่เข้าใครออกใคร

อย่างไรก็ตาม การเปิดบัญชีคู่ ไม่ใช่หลักประกันความสัมพันธ์ และไม่ใช่วิธีที่เหมาะกับทุกคู่ ดังนั้น หากการเปิดบัญชีร่วมกันทำให้ยุ่งยาก ไม่ตอบโจทย์เป้าหมาย อาจเลือกวิธีเก็บเงินในวิธีอื่นๆ ที่เหมาะสมกับตัวเอง และคู่ของตัวเอง

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย, K-ExpertK-Expert, Checkraka