'วันมาฆบูชา' ชวนฟังธรรมรับอานิสงส์แรงในวันพระใหญ่

'วันมาฆบูชา' ชวนฟังธรรมรับอานิสงส์แรงในวันพระใหญ่

“วันมาฆบูชา 2563” วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่กำลังจะมาถึง ชาวไทยจำนวนไม่น้อยที่ตั้งใจจะปฏิบัติธรรมใน “มาฆบูชา 2563” ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน หรือ “ฟังธรรม” ตามความเชื่อที่ว่าจะได้รับบุญหนักในวันพระใหญ่

“มาฆบูชา 2563” วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่กำลังจะมาถึง เชื่อว่าชาวไทยจำนวนไม่น้อยที่ตั้งใจจะปฏิบัติธรรมเสริมบุญในวันพระใหญ่แบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน และโดยเฉพาะ "การฟังธรรม" ตามความเชื่อของชาวพุทธนิกายเถรวาทที่เชื่อว่าหากฟังธรรมในวันพระใหญ่จะทำให้ตัวเองได้ "บุญกุศล" มากมายมหาศาล แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? และมีข้อปฏิบัติในการฟังธรรมอย่างไรบ้าง? 

ความหมายของคำว่า "บุญ" โดยทั่วไปหมายถึงการกระทำความดี มาจากภาษาบาลีว่า "ปุญญะ” แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ดังนั้น บุญจึงเป็นเสมือนเครื่องกำจัดสิ่งเศร้าหมองที่เราเรียกกันว่า "กิเลส” ให้ออกไปจากใจ บุญจะช่วยให้เราลด ละ เลิกความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความมีจิตใจคับแคบ อันเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ต่างๆ นานา และช่วยให้ใจเป็นอิสระ พร้อมจะก้าวไปสู่การทำคุณงามความดีในขั้นต่อไป เป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ มีความสุขสงบ โดยการฟังธรรมใน "วันมาฆบูชา" เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น มีข้อควรปฏิบัติสำหรับพุทธศาสนิกชน ดังนี้

1. ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ก่อนฟังธรรม

อย่างแรกที่ชาวพุทธควรทำก่อนการฟังธรรมในวันพระ คือ การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส มีสมาธิและสงบนิ่งพร้อมฟังธรรมะ มีความศรัทธาและเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ และสนใจที่จะอยากฟังธรรมะจริงๆ หากฟังแบบไม่มีศีล ไม่มีสมาธิหรือไม่ได้ตั้งใจฟัง ฟังไปได้ 2-3 วินาทีก็คิดไปเรื่องอื่นแล้ว แบบนี้ก็จะไม่ เข้าใจในธรรมะได้อย่างถ่องแท้ เสมือนกับเวลาที่รองน้ำจากก๊อกน้ำใส่แก้ว ถ้ามือไม่นิ่ง ส่ายไปส่ายมา น้ำที่ไหลออกจากก๊อก ก็ไม่สามารถไหลลงแก้วได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ไหลทิ้งไป การฟังธรรมก็เช่นกัน

158107646537

  • อ่านข่าวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เปิดคู่มือ 'เวียนเทียน' ที่ถูกต้องรับบุญใหญ่ 'มาฆบูชา 2563'

ประวัติ ‘วันมาฆบูชา’ พร้อมรู้ลึก 'โอวาทปาฏิโมกข์' คืออะไร?

   

  

2. ฟังธรรมตามกาล

คำนี้มาจากมงคลชีวิตที่ 26 นั่นคือ เมื่อมีโอกาส เวลา ในวันสำคัญต่างๆ ดังเช่น วันมาฆบูชา ที่จะถึงนี้ ก็ควรที่จะไปฟังธรรม เพื่อรับฟังในสิ่งที่เป็นประโยชน์ของหลักธรรมนั้นๆ และนำมาใช้กับชีวิตเรา เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงในพระบาลีซึ่งตรัสไว้ว่า..  

"กาเลนะ ธัมมัสสวนัง เอตัมมัง กลมุตตมัง" แปลว่าการฟังธรรมตามกาล ตามเวลา เป็นมงคลอย่างยิ่ง เพราะการฟังธรรมสามารถทำให้ผู้ฟังบรรลุธรรมได้

การฟังธรรมนี้ไม่จำเป็นต้องไปฟังที่วัดหรือจากพระโดยตรง แต่อาจจะฟังจากวิทยุ สื่อออนไลน์ หรือเป็นการฟังจากผู้รู้ต่างๆ และธรรมในที่นี้ก็มิได้หมายถึงแต่เฉพาะหลักธรรมในทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเรื่องจริง เรื่องดีๆที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้และปัญญา ผลบุญข้อนี้จะทำให้ผู้ฟังเกิดการรู้แจ้งเห็นจริงยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุด การฟังต้องมีหลัก 3 ประการ คือ ตั้งใจฟัง ตั้งใจทำ และตั้งใจนำไปปฏิบัติ โดยจุดประสงค์ของการฟัง ก็เพื่อให้รู้แล้วนำไปคิดเพื่อใคร่ครวญด้วยปัญญา เมื่อใคร่ครวญแล้วเห็นว่าถูกต้องสอดคล้องกับเหตุผลก็นำไปใช้ได้ ทำให้เกิดประโยชน์ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะเป็นโทษต่อชีวิต

   

3. เป็นผู้ฟังที่ดี

นอกจากนี้ คุณสมบัติของผู้ฟังธรรมที่ดี ก็เป็นอีกองค์ประกอบที่จะทำให้ได้บุญหนักหรือได้อานิสงส์แรง โดยควรปฏิบัติตัวและปรับมุมมองต่อการฟังพระธรรมเทศนา ดังนี้

- ไม่ดูแคลนในหัวข้อธรรมว่าง่ายเกินไป

- ไม่ดูแคลนในความรู้ความสามารถของผู้แสดงธรรม

- ไม่ดูแคลนในตัวเองว่าโง่ ไม่สามารถเข้าใจได้

- มีความตั้งใจในการฟังธรรม นำไปพิจารณา และนำเอาธรรมนั้นๆ ไปปฏิบัติให้เกิดผลเจริญขึ้น

158107646574

   

4. อานิสงส์ของการฟังธรรมตามกาล

พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงอานิสงส์แห่งการฟังธรรมตามกาลอย่างเช่นการฟังธรรมในวันมาฆบูชาไว้ 5 ประการ คือ 

4.1) ได้เพิ่มพูนความรู้ใหม่: ผู้แสดงธรรมย่อมจะศึกษา ค้นคว้าขบคิด นำข้อธรรมะต่างๆ มาแสดง ทำให้เราได้ยินได้ฟังธรรมะที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน

4.2) ได้ทบทวนความรู้เดิมถ้าหัวข้อธรรมที่ผู้แสดงนำมาแสดงนั้นตรงกับสิ่งที่เราเคยศึกษามาแล้ว ก็จะทำให้เราได้ทบทวนความรู้เดิมให้เกิดความเข้าใจแตกฉาน และแม่นยำยิ่งขึ้น

4.3) ปลดเปลื้องความสงสัยเสียได้: ถ้าผู้ฟังยังมีความสงสัยในการละความชั่วบางอย่าง หรือการทำความดีบางอย่าง เมื่อได้ฟังธรรมะเพิ่มแล้ว จะทำให้ความสงสัยนั้นหมดไป และตัดสินใจละทิ้งความชั่วและทำความดีง่ายขึ้น

4.4) ปรับความเห็นให้ตรงตามจริง: ในการดำเนินชีวิตของคนเรามักจะแวดล้อมไปด้วยสิ่งไม่ดีต่างๆ อาจทำให้มีความคิดเห็นผิดๆ เกิดขึ้นได้ แล้วทำให้การดำเนินชีวิตวกวนออกนอกเป้าหมายไป การฟังธรรมจะช่วยให้เราเกิดความสำนึกตัวว่า ความคิดเห็นของเราได้บิดเบือนไปอย่างไร แล้วจะได้เลิกการเห็นผิดเป็นชอบ

4.5) ฝึกอบรมจิตใจให้สูงขึ้น: การฟังธรรมจะเป็นเครื่องเตือนสติเรา ทำให้เราละจากความคิดฟุ้งซ่านในเรื่องกามารมณ์ ความคิดพยาบาทอาฆาต ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น และชี้ให้เราเห็นถึงจุดอ่อนข้อบกพร่องในตัว ซึ่งจะต้องปรับปรุงแก้ไข ยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้นๆ จนกระทั่งสามารถขจัดข้อบกพร่องได้เด็ดขาด บรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด

   

5. ฟังธรรมช่วยเสริมมงคลชีวิต

การฟังธรรมถือเป็นการน้อมรับสิริมงคลเข้าสู่ชีวิตของผู้ฟังเอง หากย้อนกลับไปในสมัยพุทธกาลพบว่ามีผู้คนจำนวนมากที่สามารถบรรลุโสดาบัน หรือเป็นพระอรหันต์สำเร็จได้จากการฟังธรรมเพียงอย่างเดียว การฟังธรรมจึงเป็นเครื่องมือที่ขัดเกลาจิตใจได้อย่างดี คนชั่วเลิกทำชั่วก็เพราะได้ฟังธรรม คนดีทำดีมากขึ้นก็เพราะได้ฟังธรรม สำหรับใครที่ไม่ยอมฟังธรรมก็จะพลาดโอกาสอย่างหนึ่งที่จะพัฒนาจิตใจตัวเองให้ดีขึ้น นอกจากการฟังธรรมโดยตรงแล้ว การอ่านหนังสือธรรมะหรือพระไตรปิฎกก็สามารถพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นในลักษณะใกล้เคียงกันได้

158107646572

---------------------------

อ้างอิง: