10 อันดับ 'รัฐวิสาหกิจ' ที่ส่งรายได้เข้ารัฐมากที่สุด

10 อันดับ 'รัฐวิสาหกิจ' ที่ส่งรายได้เข้ารัฐมากที่สุด

ส่อง 10 อันดับรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้เข้ารัฐมากที่สุด จากรายได้ที่ถูกนำส่งเข้าไปจากรัฐวิสาหกิจรวมทั้งหมด 169,159 ล้านบาท และรายได้ที่นำส่งนั้น สอดคล้องกับโบนัสที่จ่ายให้กับพนักงานหรือไม่?

รัฐมีรายได้จากอะไรบ้าง? คำตอบแรกๆ คงนึกถึงบรรดาภาษีที่เราทุกคนมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่รัฐ อย่างเช่น ช่วงต้นปีแบบนี้ หนีไม่พ้นการยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลปี 2562 ที่ต้องนำรายได้ทั้งหมดของปี 2562 มายื่นในช่วงต้นปี 2563 หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เราจ่ายไปพร้อมกับสินค้าที่หยิบมาจากบนเชลฟ์ หรือหากใครมีบ้านหรือที่ดิน ก็ต้องไปเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยกตัวอย่างให้พอหอมปากหอมคอ จริงๆ มีเยอะกว่านี้อีก

แต่ยังมีอีกหนทางที่มารายได้ของรัฐที่น่าสนใจ ก็คือ รัฐวิสาหกิจ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีรัฐวิสาหกิจราวๆ 45 แห่ง ทั้งนี้จากรายการห้องข่าวเศรษฐกิจ NEWSROOM เนชั่นทีวี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 ในช่วงลึกแต่ไม่ลับ มีการพูดเรื่องของรายได้รัฐวิสาหกิจที่นำส่งเงินเข้าคลังสูงสุดในปี 2562 และตั้งคำถามไว้น่าสนใจว่า รายได้ของรัฐวิสาหกิจ สอดคล้องกับการจ่ายโบนัสพนักงานในหน่วยงานนั้นๆ หรือไม่?

โดยมีการอธิบาย รัฐวิสาหกิจไว้ว่า เป็นการนำเอาความเป็นรัฐไปทำธุรกิจที่ให้บริการกับประชาชน ปัจจุบันมีการขยายวงออกไปในหลากหลายธุรกิจ ซึ่งสาเหตุที่ทำธุรกิจเหล่านี้ขึ้นมา เพราะ 1.เพื่อหารายได้มาใช้จ่ายและลงทุนแทนรัฐ 2.หากำไรมาตอบแทนคืนกับผู้ถือหุ้น ทั้งในรูปแบบของรัฐและเอกชน ที่มีการกระจายหุ้นไปสู่มือของสาธารณะแบบบริษัทจำกัด (มหาชน)

ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้รายงานรายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด
โดยพบว่าปี 2562 มีรายได้ทั้งหมด 169,159 ล้านบาท
สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้อยู่ที่ 168,000 ล้านบาท ราวๆ 1,159 ล้านบาท

ทั้งนี้ 10 อันดับรัฐวิสาหกิจของไทยที่นำส่งรายได้แผ่นดินสูงที่สุดในปีงบประมาณ 2562 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561-30 กันยายน 2563

158097716195


อับดับ
1 คือ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ที่ออกสลากมาทุกงวด งวดละ 110 ล้านฉบับ ได้นำส่งรายได้ 41,916 ล้านบาท โดยตัวเลขนี้เป็นรายได้ที่หักจากต้นทุน และถูกกฎหมายกำหนดว่าต้องนำส่งรายได้เข้าหลวง

อันดับ 2 เป็นของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีเงินลงทุนและรายได้มากกว่ารัฐบาลทุกรัฐบาล มีทรัพย์สินเยอะ โดยรัฐบาลถือหุ้นมากกว่า 50% รวมถึงยังมีบริษัทลูกจำนวนมาก ได้ส่งเงินเข้าคลัง 29,198 ล้านบาท

ส่วนอันดับ 3 คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ กฟผ. นำส่งรายได้ 18,924 ล้านบาท ตามด้วยอันดับ 4 ธนาคารออมสิน เป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์เกินกว่าล้านล้านบาท มากกว่าแบงก์พาณิชย์หลายๆ ธนาคาร นำส่งรายได้ 16,538 ล้านบาท

5.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. 10,903 ล้านบาท 6.บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. (AOT) บริษัทยักษ์ใหญ่เพียงรายเดียวที่มีการให้บริการสนามบิน ทั้งหมด 6 สนามบิน ในประเทศไทย รัฐถือหุ้นราว 70% ได้นำส่งรายได้ 10,500 ล้านบาท โดยปี 2562 บริษัทมีกำไรติดกันสองปีซ้อน ปี 2561 มีกำไร 25,170 ล้านบาท และปี 2562 มีกำไร 25,026 ล้านบาท แล้วทำไมถึงส่งเงินเข้าหลวงแค่ครึ่งหนึ่ง

7.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) นำส่งรายได้ 5,646 ล้านบาท 8.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...) 5,582 ล้านบาท 9.การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 5,500 ล้านบาท และอันดับสุดท้าย 10 คือ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) 4,760 ล้านบาท

การที่รัฐวิสาหกิจใดจะจ่ายโบนัสได้นั้น ไม่ใช่คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจจะประกาศได้เลย ซึ่งตามกระบวนการแล้ว รัฐวิสาหกิจนั้นต้องร้องขอไปที่กระทรวงการคลัง ซึ่งก็คือสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

 

มาดูกันว่า รายได้ที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรัฐนั้น สอดคล้องกับโบนัสที่จ่ายให้กับพนักงานหรือไม่?

ทั้งนี้ การที่รัฐวิสาหกิจใดจะจ่ายโบนัสได้นั้น ไม่ใช่คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจจะประกาศได้เลย ซึ่งตามกระบวนการแล้ว รัฐวิสาหกิจนั้นต้องร้องขอไปที่กระทรวงการคลัง ซึ่งก็คือสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

โดยปี 2563 ยังไม่ได้ประกาศทั้งหมด เบื้องต้น ปตท. จ่ายโบนัส 6 เดือน ด้าน ทอท. ปี 2561 รับไป 7.75 เดือน และปี 2562 ประกาศแล้วว่าโบนัส 7.25 เดือน ส่วนธนาคารออมสินรับไป 5 เดือน และ ... 2 เดือน

ขณะที่ ธอส. ยังคงโบนัสไว้ที่ 7 เดือน เท่ากับปี 2561 และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ส่งเงินเข้ารัฐมากที่สุด ได้โบนัสเพียง 3.75 เดือน

สังเกตว่าโบนัสที่ได้ดูจะไม่สอดคล้องกับรายได้ที่นำส่งรัฐสักเท่าไร แล้วจริงๆ ระบบการประเมินของรัฐวิสาหกิจเป็นอย่างไร?

ในเรื่องนี้ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ มีเอกสารชี้แจงว่า มีรายชื่อวิสาหกิจตามแบ่งกลุ่มเพื่อใช้ระบบแรงจูงใจในส่วนค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ตามระบบการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ หรือพูดง่ายๆ ว่ามี KPI ของรัฐ โดยมีการแบ่งตามนี้ คือ

1.รัฐวิสาหกิจประเภทที่จดทะเบียนและกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ ปตท. การบินไทย ทอท. อสมท. และกรุงไทย

2.รัฐวิสาหกิจประเภทที่จัดสรรโบนัสให้กับพนักงานเมื่อมีกำไร เพื่อการจัดสรรโบนัส ทั้งหมด 34 แห่ง

สำหรับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่ได้โบนัสเพียง 3.75 เดือน ทั้งที่นำส่งรายได้เข้ารัฐสูงเป็นอันดับหนึ่งถึง 4 หมื่นกว่าล้านบาทนั้น เข้าข่ายหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง ข้อ 5 รัฐวิสาหกิจประเภทจ่ายโบนัสพนักงานคงที่ เช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจอีก 4 แห่ง ได้แก่ กฟน. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) และเอ็กซิมแบงก์

อย่างไรก็ตาม เรื่องการจ่ายโบนัสของรัฐวิสาหกิจนั้นให้สอดคล้องกับรายได้นำส่งรัฐ คงต้องเป็นเรื่องที่รัฐบาลอาจนำไปพิจารณาให้ตรงกับความเหมาะสมต่อไป

ที่มา : ทั้งนี้จากรายการห้องข่าวเศรษฐกิจ NEWSROOM เนชั่นทีวี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 ในช่วงลึกแต่ไม่ลับ