ดีลซื้อขายเทสโก้โลตัส ไพ่ 3 ใบ ใครได้ ใครเสีย

ดีลซื้อขายเทสโก้โลตัส ไพ่ 3 ใบ ใครได้ ใครเสีย

วิเคราะห์เจาะลึกดีลซื้อขายเทสโก้โลตัส ไพ่ 3 ใบ จากยักษ์ใหญ่ของไทย ทั้งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี), บริษัทเซ็นทรัล กรุ๊ป และบริษัทบีเจซีกรุ๊ป ใครได้ประโยชน์ หรือใครจะเสียประโยชน์

เป็นที่แน่นอนแล้วว่า เทสโก้ โลตัส ในประเทศไทย บริหารงานโดยบริษัทเอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ได้ประกาศขายกิจการทั้งหมด 2,100 สาขา

โดยสัญญาณเตือนสะท้อนผ่านข้อมูลตัวเลข ในปี พ.ศ.2561 มีรายได้รวม 1.89 แสนล้านบาทกำไรสุทธิอยู่ที่ 7,800 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าที่มีรายได้1.98 แสนล้านบาท มีกำไรสุทธิ 9,600 ล้านบาท (ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

หากใครติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ปัจจุบันมีกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย 3 กลุ่มเตรียมซื้อกิจการเทสโก้ โลตัสคือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) บริษัทเซ็นทรัล กรุ๊ป และบริษัทบีเจซีกรุ๊ปหลังจากเครือข่ายค้าปลีกยักษ์ใหญ่สัญชาติอังกฤษรายนี้ ประกาศขายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หันไปเน้นดำเนินธุรกิจในอังกฤษแทน

  • มูลค่าตลาดค้าปลีก Modern Grocery Retailing

ในปี พ.ศ.2561 ตลาดการบริโภคค้าปลีกในไทยมีมูลค่าราว 3.6 ล้านล้านบาทหรือประมาณ 1,000 ล้าน US$ แบ่งสัดส่วนเป็นธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ Modern Chain Store 34% ของมูลค่าการบริโภคค้าปลีกค้าส่ง หรือประมาณ 1.3 ล้านล้านบาทสำหรับ Modern Grocery Retailing มีมูลค่าราว 994,000 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย Convenience Store 439,000 ล้านบาท (44.1%) Hypermarket 190,000 ล้านบาท (19.1%) Supermarket 178,000 ล้านบาท (17.9%) Cash & Carry 185,000 ล้านบาท (18.6%) และอื่นๆ 2,000 ล้านบาท(0.3%)

158070087997

  • มูลค่าตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ต ขุมทรัพย์ที่ทุกคนอยากครอบครอง

สำหรับค้าปลีกรูปแบบ Hypermarket มีสัดส่วนราว 23% ของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ซึ่งมีมูลค่าราว 284,000 ล้านบาท มีผู้เล่นในตลาดเพียง 3 รายคือ Tesco Lotus, Big C, และ Tops Superstore โดยมี Tesco Lotus เป็นผู้นำส่วนแบ่งการตลาด ตามมาด้วย Big C และ Tops Superstore ตามลำดับ ดังแสดงตามตาราง

158070089862

  • ความจริงที่ถูกปิดซ่อน แค่ควบรวมกิจการหรือผูกขาดเบ็ดเสร็จ

คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้ชี้แจงว่า การซื้อขายกิจการ “Tesco Lotus”ในประเทศไทย เข้าข่ายเป็นการรวมธุรกิจ ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ที่กําหนดแนวปฎิบัติการรวมธุรกิจไว้ 3 แนวทาง ประกอบด้วย

แนวทางแรก พิจารณาโครงสร้างธุรกิจว่ามีอำนาจเหนือตลาดหรือไม่ โดยมี 2 เงื่อนไขหลักคือ ยอดรายได้เกิน 1,000 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งการตลาดเกิน 50% ถ้าเข้าเงื่อนไขเหล่านี้จะถือว่าเป็น “ผู้ที่อำนาจเหนือตลาด”

แนวทางที่สอง เมื่อมีการรวมธุรกิจแล้วอาจก่อให้เกิดการผูกขาดหรือไม่ ก่อให้เกิดการแข่งขันลดลงอย่างมีนัยยะสําคัญหรือไม่

แนวทางที่สาม การควบรวมกิจการดังกล่าว จะมีผลกระทบ ต่อโครงสร้างตลาดการแข่งขันอย่างไร ผู้บริโภคและซัพพลายเออร์จะได้ผลกระทบอย่างไร

  • วิเคราะห์ผลกระทบต่อโครงสร้างตลาดการแข่งขัน ผู้บริโภคและซัพพลายเออร์

กฎหมายการแข่งขันทางการค้ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาด เนื่องจากตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเคนส์เชื่อว่าการแข่งขันจะนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้บริโภคสินค้าและบริการที่เป็นธรรมและคุ้มครองคู่ค้าธุรกิจให้ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งป้องกันการกำหนดราคาเพื่อกำจัดคู่แข่งรายอื่น

ถอดรหัสการวิเคราะห์ หากการซื้อขายกิจการ “เทสโก้ โลตัส” เกิดขึ้นจริงโดยมี 3 กลุ่มบริษัทใหญ่ คือกลุ่มCP , Centralและ BJCสนใจซื้อตามข่าว ผลกระทบต่อโครงสร้างตลาดและการแข่งขันจะเป็นอย่างไร ผู้บริโภคและคู่ค้า...ใครได้เปรียบ ใครเสียเปรียบมากน้อยกว่ากัน

1.ผลกระทบต่อโครงสร้างตลาดและการแข่งขัน

หาก CP เป็นผู้ชนะประมูล CP จะมีส่วนแบ่งตลาด Total Modern Grocery Market เพิ่มจาก 53% เป็น 70%หากพิจารณาในส่วนแบ่งตลาด Convenience Store จะเพิ่มจาก 76% เป็น 86% ในขณะที่ BJC เมื่อรวม Big C และ Tesco Lotus ในตลาด Hypermarket จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 99% ซึ่งเป็นการครอบครองตลาดอย่างสมบูรณ์ ส่วน Central จะมีผลให้ส่วนแบ่งการตลาดในหมวด Supermarket เพิ่มขึ้นจาก 20% เป็น 32% และทำให้ส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 10% เป็น 23%

2.ผลกระทบต่อทางเลือกของผู้บริโภค

จากการวิเคราะห์ประเมินว่า การที่ CP หรือ Central เป็นผู้ชนะการประมูล จะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคไม่มาก แต่หาก BJC เป็นผู้ขนะการประมูล จะทำให้เกิดการผูกขาดในตลาดประเภท Hypermarket อย่างเบ็ดเสร็จ ผู้บริโภคจะหมดทางเลือก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำเลการค้าและที่ตั้งร้านค้าของ Big C และ Tesco ค่อนข้างจะทับซ้อนกันถึงกว่า 80%

  • วิเคราะห์ผลกระทบต่อโครงสร้างตลาดการแข่งขัน ผู้บริโภคและซัพพลายเออร์

กฎหมายการแข่งขันทางการค้ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาด เนื่องจากตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเคนส์เชื่อว่าการแข่งขันจะนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้บริโภคสินค้าและบริการที่เป็นธรรมและคุ้มครองคู่ค้าธุรกิจให้ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งป้องกันการกำหนดราคาเพื่อกำจัดคู่แข่งรายอื่น

ถอดรหัสการวิเคราะห์ หากการซื้อขายกิจการ “เทสโก้ โลตัส” เกิดขึ้นจริงโดยมี 3 กลุ่มบริษัทใหญ่ คือกลุ่มCP , Centralและ BJCสนใจซื้อตามข่าว ผลกระทบต่อโครงสร้างตลาดและการแข่งขันจะเป็นอย่างไร ผู้บริโภคและคู่ค้า...ใครได้เปรียบ ใครเสียเปรียบมากน้อยกว่ากัน

1.ผลกระทบต่อโครงสร้างตลาดและการแข่งขัน

หาก CP เป็นผู้ชนะประมูล CP จะมีส่วนแบ่งตลาด Total Modern Grocery Market เพิ่มจาก 53% เป็น 70%หากพิจารณาในส่วนแบ่งตลาด Convenience Store จะเพิ่มจาก 76% เป็น 86% ในขณะที่ BJC เมื่อรวม Big C และ Tesco Lotus ในตลาด Hypermarket จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 99% ซึ่งเป็นการครอบครองตลาดอย่างสมบูรณ์ ส่วน Central จะมีผลให้ส่วนแบ่งการตลาดในหมวด Supermarket เพิ่มขึ้นจาก 20% เป็น 32% และทำให้ส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 10% เป็น 23%

158070471589

2.ผลกระทบต่อทางเลือกของผู้บริโภค

จากการวิเคราะห์ประเมินว่า การที่ CP หรือ Central เป็นผู้ชนะการประมูล จะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคไม่มาก แต่หาก BJC เป็นผู้ขนะการประมูล จะทำให้เกิดการผูกขาดในตลาดประเภท Hypermarket อย่างเบ็ดเสร็จ ผู้บริโภคจะหมดทางเลือก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำเลการค้าและที่ตั้งร้านค้าของ Big C และ Tesco ค่อนข้างจะทับซ้อนกันถึงกว่า 80%

158070473135

3.ผลกระทบต่ออำนาจของซัพพลายเออร์

ในกรณีที่BJC ชนะการประมูล จะมีผลกระทบเชิงลบกับซัพพลายเออร์ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ BJC มีธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำยังปลายน้ำ เป็นผู้ผลิต เป็นผู้กระจายสินค้า และ จะเป็นเจ้าของพื้นที่ขายภายในHypermarket ทั้งหมด แต่ถ้า CP เป็นผู้ชนะการประมูล CP จะมีทั้ง 7-11, Tesco Lotus และ Makroรวมกัน ทำให้ยอดขายรวมสูงถึง 700,000 ล้านบาท ในขณะที่ตลาด Total Modern Grocery มีมูลค่าเพียง 994,000 ล้านบาท อำนาจต่อรองกับซัพพลายเออร์จะยิ่งสูงมาก

158070475293

  • ไพ่ใบสุดท้ายของชัยชนะที่แท้จริง

ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ชนะการประมูลดีลเทสโก้ โลตัสผลประโยชน์ก็มุ่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของตน เป้าหมายคงไม่ใช่แค่การเพิ่มยอดขาย แต่เป็นการจงใจสร้างอาณาจักรแห่งการผูกขาดหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างตลาดค้าปลีกเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง จนบทบาทของผู้บริโภคและซัพพลายเออร์อ่อนแอลงศึกครั้งนี้ถือเป็นบททดสอบครั้งสำคัญของ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ที่จะบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือจะเป็นเพียงเสือกระดาษอย่างที่สาธารณชนพูดไว้ บทสรุปสุดท้ายคงรอไพ่ใบสุดท้ายเปิดมา