เจาะเบื้องหลัง! ทีมแพทย์ไทย ค้นพบสูตรยารักษาผู้ป่วย ไวรัส 'โคโรน่า'

เจาะเบื้องหลังการทำงานของทีมแพทย์ รพ.ราชวิถี ที่สามารถค้นพบสูตรยารักษาไวรัสโคโรน่า ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จนอาการดีขึ้นชัดเจน และมีผลแล็บเป็นลบได้สำเร็จ

หลังจากมีข่าวดีในวันนี้ (2 ก.พ.) เมื่อทีมแพทย์จากโรงพยาบาลราชวิถี สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงการค้นพบวิธีรักษาผู้ป่วยไวรัสโคโรน่าที่ได้ผลรวดเร็ว ผลการฟื้นตัวของคนไข้ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งที่มีคนไข้รายหนึ่งมีอาการค่อนข้างที่จะรุนแรงตอนที่เข้ามารักษา ซึ่งทีมแพทย์ที่ให้การรักษาผู้ป่วย ประกอบด้วย นพ.เกรียงศักดิ์ อติพรวณิช อายุรแพทย์โรคปอด นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลราชวิถี และ รศ.นพ.สืบสาย คงแสงดาว นายแพทย์เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลราชวิถี 

158063335936

นพ.เกรียงศักดิ์ อติพรวณิช อายุรแพทย์โรคปอด นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลราชวิถี อธิบายว่า หลังจากที่รับการส่งต่อผู้ป่วยชาวจีนจากเมืองอู่ฮั่น อายุ 70 กว่าปี มาจากโรงพยาบาลในอำเภอหัวหิน ประวัติมีโรคประจำตัวเป็นความดัน แต่จากที่ตรวจเข้าใจว่ามีหัวใจโตด้วย ตอนรับคนไข้เข้ามาอาการหนักมากมีภาวะปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด และค่าการอักเสบในเลือดเพิ่มขึ้นทุกวัน ถึงขนาดที่อาจจะต้องตัดสินใจใส่ท่อช่วยหายใจ แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเครื่องช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อ จึงรีบให้ยารักษาอย่างรวดเร็ว ปรากฏว่าภายในไม่ถึง 12 ชั่วโมง จากคนไข้ที่ดูอ่อนเพลีย ลุกไม่ได้ กลับมาลุกนั่งได้และไข้ลดลง 

หลังจากนั้นอาการเหนื่อยน้อยลง ถามว่า ตอนนี้อาการคนไข้เป็นอย่างไร ยังไม่ได้หาย แต่อาการดีขึ้นชัดเจน และผลตรวจเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในห้องแล็บจากที่ได้รับการรักษาก่อนหน้ามา 10 กว่าวันเป็นบวกมาตลอด หลังจากได้สูตรยาที่พยายามใช้ปรากฏว่าผลตรวจเชื้อเป็นลบภายใน 48 ชั่วโมง โดยเป็นการตรวจยืนยันจากห้องแล็บของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 

ตอนนี้อาการคนไข้เป็นอย่างไร ยังไม่ได้หาย แต่อาการดีขึ้นชัดเจน และผลตรวจเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในห้องแล็บจากที่ได้รับการรักษาก่อนหน้ามา 10 กว่าวันเป็นบวกมาตลอด หลังจากได้สูตรยาที่พยายามใช้ปรากฏว่าผลตรวจเชื้อเป็นลบภายใน 48 ชั่วโมง

 

นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นศึกษาจากข้อมูลที่มีรายงานการรักษาที่ได้ผล คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งประเทศไทยมีอยู่แล้ว แต่เมื่อคนไข้ที่มีอาการหนักได้รับยานี้จากรพ.แรกไปแล้วเป็นเวลา 2 วัน อาการไม่ได้ดีขึ้น แย่ลงเรื่อยๆ จึงใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่โอเซลทามิเวียร์ที่ประเทศไทยมีอยู่แล้วเช่นกัน โดยใช้ในขนาดที่สูงเพราะเป็นคนไข้ที่มีอาการหนัก

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า ยาตัวนี้ใช้ได้ผลในการรักษาโรคเมอร์ส ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มโคโรน่าเช่นเดียวกัน จึงตัดสินใจว่าในเมื่อคนไข้อาการหนัก ต้องรักษาคนไข้ไว้ก่อน จึงตัดสินใจให้ยาทั้ง 2 ตัว แล้วคอยรักษาผลข้างเคียงและคอยดูคนไข้ทุกวัน โดยให้ยาตั้งแต่วันแรกที่รับเข้ารักษาที่รพ.ราชวิถี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563

158063481127

สำหรับสัดส่วนของการให้ยาทั้ง 2 กลุ่ม โดยยาต้านไวรัสเอชไอวีที่เป็นยาสูตรผสมโลพินาเวียร์ +ลิโทนาเวียร์ ในเม็ดเดียวกัน โดยให้ครั้งละ 2 เม็ด เช้า-เย็น และร่วมกับการให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่โอเซลทามิเวียร์ 75 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 เม็ด เช้า-เย็น ทั้งนี้ แนวโน้มการรักษาด้วยสูตรยานี้ทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น แต่ยังต้องรอการศึกษาที่จะบอกว่าการรักษาวิธีนี้เป็นมาตรฐานการรักษา ซึ่งในจีนที่แนะนำการรักษาก่อนหน้านี้ คือใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างเดียว ไม่ได้ให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่โอเซลทามิเวียร์ ซึ่งไม่แน่ใจว่าทางจีนหรือประเทศอื่นๆ มีการรักษาด้วยวิธีการนี้หรือไม่ อาจจะมีก็ได้แต่ยังไม่ได้มีการรายงานออกมา

แนวโน้มการรักษาด้วยสูตรยานี้ทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น แต่ยังต้องรอการศึกษาที่จะบอกว่าการรักษาวิธีนี้เป็นมาตรฐานการรักษา ซึ่งในจีนที่แนะนำการรักษาก่อนหน้านี้ คือใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างเดียว ไม่ได้ให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่โอเซลทามิเวียร์ ซึ่งไม่แน่ใจว่าทางจีนหรือประเทศอื่นๆ มีการรักษาด้วยวิธีการนี้หรือไม่ อาจจะมีก็ได้แต่ยังไม่ได้มีการรายงานออกมา

158063759748

นอกจากนี้ นพ.เกรียงศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า มีอีกหนึ่งรายที่รักษาตามสูตรยานี้เช่นกัน ซึ่งเป็นคนไทย อายุ 33 ปี มีอาการปอดอัดเสบเช่นกัน แต่ติดเชื้อและมีอาการที่ประเทศญี่ปุ่น และไม่ได้มีประวัติสัมผัสคนจีน โดยหลังจากได้รับยาตามสสูตรนี้แล้ว อาการดีขึ้นมาก แต่ยังไม่อยากเปิดเผยเพราะต้องรอให้ผลแล็บตรวจเชื้อระบุเป็นลบก่อน

ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานในการรักษา เพราะเป็นโรคอุบัติใหม่ เพราะฉะนั้น เมื่อมีใครรายงานว่ารักษาได้ผลก็จะต้องติดตาม และศึกษาทุกวัน ซึ่งแพทย์ทุกคนของกรมการแพทย์ไม่ได้นิ่งนอนใจ ศึกษาและเปิดดูว่ามีรายงานเรื่องการรักษาใหม่ๆขึ้นมากทุกวันหรือไม่ ถ้ามีก็เอามารักษาคนไทยอยู่แล้ว แต่สูตรยาร่วมที่รพ.ราชวิถีใช้ยังไม่เคยมีใครรายงาน ซึ่งอาจจะมีคนใช้แต่ยังไม่มีคนรายงาน" นพ.เกรียงศักดิ์กล่าว 

รศ.นพ.สืบสาย คงแสงดาว นายแพทย์เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า วิธีการรักษาในประเทศต่างๆนั้น ทางการจีนและประเทศอื่นมีการรายงานออกมาเป็นระยะๆ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเชื่อว่าความร่วมมือของแพทย์ทั่วโลกจะทำการพัฒนาการรรักษาร่วมกัน โดยไทยจะเป็นประเทศหนึ่งร่วมช่วยกัน

วิธีการรักษาในประเทศต่างๆนั้น ทางการจีนและประเทศอื่นมีการรายงานออกมาเป็นระยะๆ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเชื่อว่าความร่วมมือของแพทย์ทั่วโลกจะทำการพัฒนาการรรักษาร่วมกัน โดยไทยจะเป็นประเทศหนึ่งร่วมช่วยกัน

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นการรายงานกรณีศึกษาการรักษาผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยใช้รักษาวิธีนี้ 3 ราย แต่ 1 รายแพ้ยาโอเซลทามิเวียร์จึงหยุดการให้ยาที่แพ้ ส่วนอีก 2 ราย เมื่อได้รับสูตรยานี้ก็อาการดีขึ้น โดยหลักแนวทางคำแนะนำในการรักษามาตรฐาน คงจะยึดจากรายงานทั่วโลก โดยเฉพาะของจีนที่ออกมา แต่แพทย์รพ.ราชวิถีได้เพิ่มการให้ยาโอเซลทามิเวียร์ด้วย และในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 จะมีการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญของประเทศไทย จะมีการนำวิธีการรักษาเช่นนี้เข้าหารือและพิจารณาร่วมกัน ซึ่งอาจจะมีการพิจารณาหลักเกณฑ์แนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อในไทย โดยหากมีอาการไม่หนัก ให้ใช้วิธีการรักษาตามปกติ คือการรักษาตามอาการ ซึ่งที่ผ่านมาแพทย์ไทยก็รักษาหาย แต่หากเป็นคนไข้ที่อาการหนัก จะมีแนวทางการใช้สูตรยาตามของรพ.ราชวิถีเป็นทางเลือกการรักษา และมีการเก็บข้อมูลไปเรื่อยๆ และจะมีการแบ่งปันข้อมูลร่วมกับนานาประเทศด้วย