Economic (29 ม.ค.63)

Economic (29 ม.ค.63)

GDP ปี 2563 ชะลอตัวลงเหลือ 2.4% จาก 2.5% ในปี 2562

มีปัจจัยลบหลายตัวที่ฉุดภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2562 ขยายตัลดลงเหลือ 2.5%

i) กรณีพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐที่เริ่มต้นมาตั้งแต่กลางปี 2561 ส่งผลลบต่อภาวะเศรษฐกิจโลก และกระทบกับทั้งมูลค่าและปริมาณการส่งออกของไทยในปี 2562

ii) อัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกของไทยถูกกดดันจากฐานที่สูงใน 1H62 นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกใน 4Q62 ก็ยังลดลงจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นสามแห่ง ซึ่งฉุดการส่งออกปิ โตรเลียมและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

iii) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561 เกิดอุบัติเหตุเรือนักท่องเที่ยวจีนล่มที่ภูเก็ต ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศไทย และทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาไทยลดลงอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติก็ฟื้นตัวขึ้นได้ปานกลางทั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562 ทั้งจากการฟื้นตัวอย่างแท้จริง และฐานที่ต่ำ

iv) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เริ่มใช้มาตรการ LTV เพื่อจำกัดการเก็งกำไรในบ้านและคอนโดมิเนียมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 ซึ่งฉุดให้อุปสงค์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ลดลง 5% YoY ใน 2Q62 และ 3Q62 นอกจากนี้ ฐานที่สูงใน 4Q61 และ 1Q62 ก่อนที่มาตรการจะมีผลบังคับใช้ก็มีส่วนทำให้อุปสงค์ลดลง 5-8% YoY ใน 4Q62 และ 1Q63 ซึ่งส่งผลให้การซื้อบ้านเพื่อลงทุนและการจับจ่ายที่เกี่ยวกับบ้านลดลง 5-8%

เราคาดว่า GDP ปี 2563 จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเหลือ 2.4% จากการระบาดของ coronavirus

อัตราการขยายตัวของ GDP ได้ผ่านช่วงที่ถูกกระทบจากฐานที่สูงไปแล้ว ในขณะที่การลงนามในข้อตกลงทางการค้าเฟสแรกระหว่างจีนและสหรัฐช่วยบรรเทาความขัดแย้งทางการค้าลงไปได้บ้าง และทำให้เกิดความหวังมากขึ้นว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถบรรลุข้อตกลงเฟสที่สองได้ก่อนวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ทั้งนี้ IMF คาดว่าอัตราการขยายตัวของ GDP โลกในปี 2563 จะเร่งตัวขึ้นเป็น 3.3% YoY จาก 2.9% YoY ในปี 2562 ซึ่งจะทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยเพิ่มขึ้น 2% YoY ในกรณีฐานของเรา ซึ่งรวมถึงการขยายตัวใน 4Q63 จากฐานที่ต่ำจาก 4Q62 มีการปิ ดซ่อมบำรุงโรงกลั่นสามแห่ง นอกจากนี้ ฐานที่ต่ำของการบริโภคและการลงทุนภาครัฐ บวกกับการเร่งเบิกจ่ายงบเพื่อการบริโภคและงบการลงทุกภาครัฐภายในช่วงหกเดือนหลังจากที่ พรบ. งบประมาณปี 2563 มีผลบังคับใช้จะช่วยหนุนการใช้จ่ายภาครัฐ และการเติบโตของ GDP รายไตรมาส แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบที่กดดันภาวะเศรษฐกิจอยู่ได้แก่:

i) ธปท. ส่งสัญญาณว่าธนาคารพาณิชย์ต้องใช้นโยบายการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลอย่างรอบคอบเพื่อควบคุมการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคในภาคครัวเรือน

ii) ภัยแล้งที่รุนแรงสร้างความเสียหายต่อผลผลิตการเกษตร คิดเป็น 0.2% ของ GDP ประเทศ

iii) ไทยเสียส่วนแบ่งตลาดการส่งออกข้าว

iv) การระบาดของ coronavirus สายพันธุ์ใหม่ซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่เมืองอู่ฮั่นประเทศจีน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงการบริโภคในประเทศชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการขยายตัวของ GDP ใน 1Q63-2Q63 และทำให้ GDP ปี 2563 ชะลอตัวลงเหลือ 2.4% เป็นแรงกดดันให้ กนง. ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 25 bps เหลือ 1.00% ในการประชุมวันที่ 25 มีนาคม หรือ 20 พฤษภาคม คาดว่าค่าเงิน USD/THB จะทดสอบระดับ 31.00 ใน2Q63 เฉลี่ย 31.00 ในปี 2563