'ก.ตร.' ไฟเขียวลุยวินัยร้ายแรง 'พ.ต.อ.วทัญญู' - ตีตก 'พ.ต.อ.ไพรัตน์' ร้องทุกข์

'ก.ตร.' ไฟเขียวลุยวินัยร้ายแรง 'พ.ต.อ.วทัญญู' - ตีตก 'พ.ต.อ.ไพรัตน์' ร้องทุกข์

นายกฯ นั่งเป็นประธาน "ก.ตร." ไฟเขียวลุยวินัยร้ายแรง "พ.ต.อ.วทัญญู" ไม่ต้องสอบข้อเท็จจริงก่อน - ตีตก "พ.ต.อ.ไพรัตน์" ร้องทุกข์ถูกย้ายไม่เป็นธรรม



เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 29 มกราคม ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. ครั้งที่ 1/2563 ที่ห้องประชุมศรียานนท์ ชั้น 2 โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญ อาทิ การเยียวยาคืนสิทธิการเลื่อนเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษเฉพาะห้วงที่มิได้ปฏิบัติราชการ พร้อมทั้งขออนุมัติเลื่อนเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ให้แก่ พ.ต.ท.สมยศ ตรีประสิทธิ์ชัย , ตร.หารือกรณีให้สิทธิข้าตำรวจที่ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสำนวนอัยการและให้ความเห็นทางกฎหมาย เพื่อได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งผู้ที่ทำหน้าที่นิติกร , อ.ก.ตร.ร้องทุกข์ หารือปัญหาข้อกฎหมายกรณี พ.ต.อ.วทัญญู วิทยผโลทัย ร้องทุกข์ , อ.ก.ตร.ร้องทุกข์ หารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของ จตช. ในการออกคำสั่ง ศปก.ตร. และอำนาจการส่งตัวข้าราชการตำรวจที่กระทำผิดวินัยเรื่องทรงผมไปเข้ารับการฝึกธำรงวินัย กรณี พ.ต.อ.ไพรัตน์ ไพพรรณรัตน์ ร้องทุกข์ , ตร. หารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับวิธีการสอบสวนตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ.2557 ,เรื่องอื่นๆ ถ้ามี โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที จึงเสร็จสิ้น

'ก.ตร.' ไฟเขียวลุยวินัยร้ายแรง 'พ.ต.อ.วทัญญู' - ตีตก 'พ.ต.อ.ไพรัตน์' ร้องทุกข์

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. ว่า วันนี้ได้กำชับให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการในการเตรียมพร้อมรับมือเชื้อไวรัสโคโรนา หลังจากที่มีคนไทยและชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีน ติดเชื้อจำนวนหนึ่ง

ทั้งนี้ ได้กำชับตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ที่เป็นนายประตูด่านช่องทางการเข้า-ออกประเทศ ให้เข้มงวดกวดขันทุกคน และทุกสายการบินที่เข้ามาในประเทศ ให้มีการเฝ้าระวังและอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ ส่วนตำรวจท่องเที่ยว ก็ได้มีมาตราการในการตรวจตราความเรียบร้อยกับนักท่องเที่ยว ที่ไม่ใช่เฉพาะคนจีนเพียงเท่านั้น แต่ชาวต่างชาติในประเทศอื่นๆด้วย ซึ่งหากมีการร้องขอความช่วยเหลือก็สามารถเข้าช่วยเหลือได้ทันที ส่วนในรายละเอียดก็จะให้ตำรวจที่รับผิดชอบดำเนินการตามข้อกฎหมายต่อไป

นายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันด้วยว่า รัฐบาลไทยมีความพร้อมมาตลอดสำหรับการรับคนไทยที่อยู่ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน กลับเข้ามาที่ประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ได้มีการเตรียมแผนไว้อยู่แล้ว โดยเตรียมเครื่องบินไว้ 2 ลำ ขณะนี้รอเพียงทางการจีนประสานมาว่า ได้มีการตรวจคัดกรองเชื้อก่อนกลับมาไทยผ่านหรือไม่ ซึ่งหากผ่านก็จะดำเนินการในขั้นตอนต่อไปทันที ขอให้เชื่อมั่นในการทำงานของประเทศจีน

ขณะที่ พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีได้กำชับในที่ประชุม โดยเฉพาะเรื่องเชื้อไวรัสโคโรน่า ซึ่งทางผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ พลตำรวจเอกสุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้ดูแล โดยจะมีการวางมาตราการเข้มให้ตำรวจท่องเที่ยวและตำรวจจรวจคนเข้าเมืองตั้งแต่ยันนี้เป็นต้นไป ส่วนเรื่องของหมอกควัน และ ฝุ่น PM2.5 มอบหมายให้ตำรวจพื้นที่ในต่างจังหวัด และ ผู้ว่าราชการจังหวัด บูรณาการเร่งแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน

'ก.ตร.' ไฟเขียวลุยวินัยร้ายแรง 'พ.ต.อ.วทัญญู' - ตีตก 'พ.ต.อ.ไพรัตน์' ร้องทุกข์

พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ผู้ช่วย ผบ.ตร. กล่าวว่า กรณีหารือปัญหาข้อกฎหมายกรณี พ.ต.อ.วทัญญู วิทยผโลทัย ได้ร้องทุกข์เมื่อปี 61 ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงของสันติบาล มีการตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง โดยไม่ได้ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงก่อนนั้น น่าจะเป็นคำสั่งที่มิชอบ อนุร้องทุกข์ได้พิจารณานำเสนอ ก.ตร. แล้วส่งเรื่องให้อนุกฎหมายพิจารณา วันนี้ได้ข้อสรุปจากอนุกฎหมาย ประเด็นแรกเรื่องการตั้งกรรมการสืบสวนร้ายแรง โดยไม่ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงก่อน ทำได้หรือไม่ ซึ่งทางอนุกฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า สามารถกระทำได้ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติมาตรา 84 และ 86 ประกอบกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2556 ข้อ 3 กรณีมีการกล่าวหาว่า ข้าราชการตำรวจกระทำผิดวินัยร้ายแรง จะสืบสวนข้อเท็จจริงก่อนหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่ามีมูลเพียงพอที่จะตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงหรือไม่ ในกรณีนี้ แสดงว่าผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล มีความเห็นว่ามีมูล ประเด็นต่อมาถ้าพิจารณาว่า มีมูลเพียงพอหรือไม่ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะพิจารณาข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐาน ดังนั้น หากเห็นว่ามีมูลเพียงพอในข้อเท็จจริง ก็สั่งการได้ โดยสรุป ก.ตร. ตอบกลับไปว่า การดำเนินการที่ตั้งกรรมการวินัยร้ายแรง โดยไม่สืบสวนข้อเท็จจริงก่อนนั้น สามารถทำได้ตามกฎหมาย

พล.ต.ท.ปิยะ กล่าวอีกว่า อีกกรณีที่พ.ต.อ.ไพรัตน์ ไพพรรณรัตน์ ร้องทุกข์เมื่อปี 61 ว่า พล.ต.อ.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ รอง ผบ.ตร. (ขณะดำรงตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ) ได้ออกคำสั่งให้ พ.ต.อ.ไพรัตน์ มาฏิบัติราชการที่ ศปก.ตร. โดยร้องทุกข์มา 3 ประเด็น เรื่องแรก จเรตำรวจแห่งชาติ ในขณะนั้นมีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจ มาปฏิบัติราชการที่ ศปก.ตร. ได้หรือไม่ ได้ข้อสรุปว่า พล.ต.อ.สุชาติ ไปปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการ ศปก.ตร. ตามคำสั่งของ ผบ.ตร. ดังนั้น จึงมีอำนาจให้ข้าราชการตำรวจมาปฏิบัติราชการที่ ศปก.ตร. ได้

'ก.ตร.' ไฟเขียวลุยวินัยร้ายแรง 'พ.ต.อ.วทัญญู' - ตีตก 'พ.ต.อ.ไพรัตน์' ร้องทุกข์

ประเด็นที่ 2 เมื่อมาอยู่ ศปก.ตร. จเรตำรวจแห่งชาติ สามารถส่งตัวไปฝึกธำรงวินัยได้หรือไม่ กรณีดังกล่าวจเรตำรวจแห่งชาติได้อนุมัติจาก ตร. ว่า กรณีถ้าเห็นว่ามีโครงการเพิ่มพูนประสิทธิภาพ ก็สามารถส่งไปได้ และประเด็นที่ 3 เมื่อจเรตำรวจแห่งชาติ พบการกระทำความผิดของข้าราชการตำรวจแล้ว ดำเนินการทางวินัยได้หรือไม่นั้น กรณีกฎหมายกำหนดไว้ว่า กรรมการดำเนินการทางวินัย เป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชา เมื่อจเรตำรวจพบการกระทำผิดของข้าราชการตำรวจ ก็ส่งเรื่องไปทางต้นสังกัดดำเนินการทางวินัยอยู่แล้ว

'ก.ตร.' ไฟเขียวลุยวินัยร้ายแรง 'พ.ต.อ.วทัญญู' - ตีตก 'พ.ต.อ.ไพรัตน์' ร้องทุกข์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.ชัยวัฒน์ เกตุวรชัย รอง ผบ.ตร. ที่ถูกย้ายขาดจากตำแหน่งเดิม ไปปฏิบัติราชการที่ ศปก.ตร. ยังคงเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ในฐานะคณะกรรมการ ก.ตร. รวมถึงป้ายชื่อที่เขียนกำกับที่นั่ง ก็ยังระบุว่าเป็น รอง ผบ.ตร. (สส) ด้วย นอกจากนี้ยังมีรายงานด้วยว่า แม้ พล.ต.อ.ชัยวัฒน์ จะไม่ได้รับผิดชอบงานสืบสวนสอบสวนแล้ว แต่ยังคงทำหน้าที่เป็น ผอ.ศูนย์ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง และผอ.ศูนย์ปราบปรามผู้มีอิทธิพล และมือปืนรับจ้าง