KKP - ถือ

KKP - ถือ

ความผันผวนของตลาดหุ้นกดดันแนวโน้มปีนี้

Event

ประชุมนักวิเคราะห์

lmpact

ธุรกิจหลักที่สร้างรายได้เผชิญกับความผันผวนมากขึ้น

ในสภาวะที่ GDP และตลาดทุนพลิกมาเป็นขาลง รายได้ของ KKP จึงผันผวนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายได้จากพอร์ตการลงทุน และผลขาดทุนจากการขายรถที่ยึดมา โดยในส่วนของธุรกิจการบริหารพอร์ตการลงทุนนั้น ธนาคารได้กำหนดกลยุทธ์การบริหารพอร์ตการลงทุน 3 ด้านได้แก่ 1.) การลงทุนโดยตรง 2.) EDT (รวมการค้าอนุพันธ์) 3.) กองทุน hedged fund ซึ่งรายได้จากพอร์ตการลงทุนเหล่านี้มีความผันผวนสูงมาก โดยในปี 2562 อยู่ที่ 594 ล้านบาท (จาก 904 ล้านบาท/625 ล้านบาท/99 ล้านบาทในปี 2559/60/61) ส่งผลให้รายได้ของ KKP ผันผวนตลอดสามปีที่ผ่านมา เรามองว่าจากแนวโน้มตลาดในปัจจุบัน รายได้ยังน่าจะผันผวนต่อเนื่องและค่อนไปทางด้านลบ

จะยังคงมีผลขาดทุนจากการขายรถที่ยึดมาต่อไปอีกระยะหนึ่ง

เกิดสถานการณ์ไม่ปกติในด้านการปล่อยกู้รถมือสองเพราะยอดขายรถยนต์ในประเทศคึกคักในปี 2561 และพลิกมาชะลอตัวในปี 2562 โดยราคารถมือสองลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดสองปีที่ผ่านมา และทำให้ธนาคารมีผลขาดทุนจากการขายรถที่ยึดมาถึง 1.4 พันล้านบาทในปี 2562 (เพิ่มขึ้นจากที่ขาดทุน 941 ล้าน
บาทในปี 2561) ทั้งนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะแย่ลงอีกในปี 2563 เราจึงคิดว่าบริษัทน่าจะยังคงมีผลขาดทุนจากการขายรถที่ยึดมาต่อไป โดยเราใช้สมมติฐานว่าผลขาดทุนส่วนนี้จะอยู่ที่ 1.4 พันล้านบาท/1.0 พันล้านบาทในปี 2563/64 ทั้งนี้ จากข้อมูลในอดีต KKP เคยบันทึกผลขาดทุนจากการขายรถที่ยึดมาสูงถึง 1.1 พันล้านบาท/2.0 พันล้านบาท/1.2 พันล้านบาทในปี 2556/57/58 (เริ่มขาดทุนหนักในช่วงหนึ่งปีหลังจากที่รัฐบาลเริ่มใช้นโยบายรถคันแรกในปี 2555)

จะนำสำรองทั่วไปบางส่วนกลับมาบันทึกเป็นรายได้

KKP บริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ได้ดีในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้ NPL ของสินเชื่อทุกกลุ่มลดลงในขณะที่พอร์ตสินเชื่อก็ปล่อยกู้ด้วย LTV ที่ต่ำและสูงกว่ามูลค่าหลักประกัน ธนาคารจึงไม่จำเป็นต้องคงระดับสำรองเอาไว้สูงเหมือนเดิม ดังนั้น ธนาคารจึงมีแผนจะปลดสำรองส่วนเกินบางส่วนออกมา โดยทยอยรับรู้เป็นรายได้ในช่วงห้าปีข้างหน้า ทั้งนี้ ในช่วงกลางปี 2562 ธนาคารมีสำรองส่วนเกินสูงถึงประมาณ 1.3 พันล้านบาท ซึ่งจะรับรู้เป็นรายได้พิเศษ

ปรับลดการกำไรปี 2563/64 ลง 5%/1% และปรับลดราคาเป้าหมายปี 63F เหลือ 71 บาท (P/E 10.5x)

การปรับประมาณการปี 2563/64 ของเราอิงจากการปรับสมมติฐานดังต่อไปนี้ 1.) เพิ่มผลขาดทุนจากการขายรถที่ยึดมาเป็น 1.4 พันล้านบาท/1.0 พันล้านบาท (จากเดิม 700 ล้านบาท/500 ล้านบาท) 2.) ปรับลดอัตราการเพิ่มของ opex ลงเหลือ 4%/4% (จากเดิม 6%) 3.) ปรับเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียม IB ขึ้นอีก 200 ล้านบาทในปี 2563 (จากดีล CRC) ทั้งนี้ เมื่อใช้ P/E ที่ 10.5x ทำให้เราได้ราคาเป้ าหมายปี 63F ใหม่ที่ 71 บาท (จากเดิมที่ 75.50 บาท) เรายังคงคำแนะนำ ถือ