อัยการแจงยิบเหตุสั่งไม่ฟ้อง 'ชัยวัฒน์' คดีบิลลี่

อัยการแจงยิบเหตุสั่งไม่ฟ้อง 'ชัยวัฒน์' คดีบิลลี่

"รองโฆษกอัยการ" แจงยิบความเห็นไม่เชื่อการตรวจวิธีไมโทรคอนเดรียเป็นกระดูกบิลลี่ ด้าน “เมียบิลลี่” เสียใจยื่นหนังสือขอเหตุผล เผยพร้อมฟ้องคดีเอง

เมื่อเวลา 10.30 . วันที่ 27 ม.ค.63 ที่ห้องประชุมชั้น 11 สำนักงานอัยการสูงสุด .รัชดาภิเษก "นายประยุทธ เพชรคุณ" รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วย "นายจิตภัทร พุ่มหิรัญ " อัยการสำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 4 ร่วมแถลงข่าวชี้แจงเหตุผลคำสั่งคดีนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร อายุ 56 ปี ผอ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ผอ.ทสจ.) ปัตตานี อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ระหว่างปี 2551-2557 กับลูกน้อง 3 คน ตกเป็นผู้ต้องหา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยวทำร้าย และร่วมกันฆ่าอำพรางศพ นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ อายุ 31 ปี นักเคลื่อนไหวชาวกะเหรี่ยงบ้านโป่งลึก-บางกลอย .เพชรบุรี ที่หายตัวไปตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งคณะทำงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ 1 มีคำสั่งฟ้องเพียงข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ส่วนข้อหาอื่นอีก 7 ข้อหา เช่น ฆ่าผู้อื่น , กักขังหน่วงเหนี่ยว มีคำสั่งไม่ฟ้อง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่การแถลงข่าวของอัยการวันนี้ นางพิณนภา พฤกษาพรรณ หรือมึนอ ภรรยาของบิลลี่ เดินทางมากับ ..วราภรณ์ อุทัยรังษี ทนายความ เพื่่อร่วมฟังการแถลงข่าวด้วย โดย "นายประยุทธ" รองโฆษกอัยการ ได้กล่าวชี้แจงการสั่งคดีนี้ว่า ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งสำนวนคดีอาญาให้อัยการสำนักงานคดีพิเศษพิจารณาคดี ที่ "..พิณนภาภรรยาของนายบิลลี่กับพวกรวม 2 คน กล่าวหา นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร , นายบุญแทน บุษราคัม , นายธนเสฏฐ์ หรือไพฑูรย์ แช่มเทศ และ นายกฤษณพงศ์ จิตต์เทศ  ผู้ต้องหาที่ 1-4 นั้น ผลคืบหน้าการพิจารณาสำนวนคดี คือ 1.เมื่ออัยการได้รับสำนวนดังกล่าวแล้ว "นายฐาปนา ใจกลม" อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ได้จ่ายสำนวนให้สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 พิจารณา

ต่อมา "นายชวรัตน์ วงศ์ธนบูลย์" อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 เห็นว่าคดีนี้เป็นคดีสำคัญที่ประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามคดีมาอย่างต่อเนื่อง จึงมีคำสั่งที่ 26/2562 ตั้งคณะทำงานประกอบด้วย "นายปกาศิต เหลืองทอง" อัยการผู้เชี่ยวชาญเป็นหัวหน้าคณะทำงาน โดยมี ...เดชาชัย ลำปาง อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด , นายวรพงษ์ ทองแก้ว อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และนายเชาวพันธ์ ช่วยชู อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นคณะทำงาน 2.คณะทำงานร่วมกัน ได้ตรวจพิจารณาสำนวนแล้วเห็นว่า ข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ พยานหลักฐานพอฟ้องผู้ต้องหาทั้งสี่ จึงเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ 1-3 ในข้อหาร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และ ...ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ..2542 มาตรา 123/2, 172 และเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ 4 ฐานเป็นผู้สนับสนุนฯ 3. ข้อกล่าวหาอื่น

คณะทำงานฯ เห็นว่าทางคดีไม่มีประจักษ์พยานและพยานแวดล้อมใดๆ เพียงพอที่จะเชื่อมโยงว่า ผู้ต้องหาทั้งสี่ได้ร่วมกันกระทำผิด พยานหลักฐานไม่พอฟ้องจึงเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งข้อหาร่วมกันฆ่านั้น คณะทำงานตรวจสำนวนโดยละเอียดแล้วเห็นว่า ในชั้นนี้พยานหลักฐานไม่พอฟ้อง จึงเห็นควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้งสี่เช่นกัน โดยคณะทำงานเห็นว่าบิลลี่ในชั้นแรก ถูกกลุ่มผู้ต้องหาทั้งสี่ควบคุมตัวไปพร้อมน้ำผึ้งและรถจักรยานยนต์ แต่ต่อมามีพยานบุคคลยืนยันว่าผู้ต้องหาทั้งสี่ได้ปล่อยตัวบิลลี่แล้ว โดยทางคดีได้ความอีกว่าภรรยาและมารดาของนายบิลลี่ได้ไปยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดเพชรบุรีขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ต้องหาทั้งสี่ปล่อยตัวนายบิลลี่เพราะเป็นการควบคุมตัวโดยไม่ชอบตามกฎหมาย กระทั่งศาลจังหวัดเพชรบุรี พิจารณาพยานหลักฐานทุกฝ่ายแล้วได้มีคำสั่งยกคำร้อง เพราะมีพยานเบิกความต่อศาลว่านายบิลลี่ได้รับการปล่อยตัวแล้ว ซึ่งภรรยาได้ยื่นอุทธรณ์และฎีกา

แต่ทั้งชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาก็พิพากษายืน อันเป็นการชี้ขาดข้อเท็จจริงว่าผู้ต้องหาทั้งสี่ได้ปล่อยตัวนายบิลลี่ไปแล้วคดีจึงเป็นที่สุด และต่อมาพยานที่เคยเบิกความในคดีที่ศาลจังหวัดเพชรบุรี ได้ให้การใหม่กับพนักงานสอบสวนของดีเอสไอตรงข้ามกับที่เคยเบิกความต่อศาล ซึ่งคณะทำงานอัยการเห็นว่าคำเบิกความต่อศาลนั้นน่าเชื่อถือและมีน้ำหนักมากกว่า

"การตรวจพิสูจน์กระดูกซึ่งเป็นวัตถุพยานของกลางด้วยวิธี "ไมโทรคอนเดรีย" เป็นเพียงการตรวจเพื่อทราบถึงสื่อสัมพันธ์สายมารดาเท่านั้น โดยการตรวจวิธีนี้ไม่เพียงพอยืนยันตัวบุคคลที่ชี้ชัดได้ว่ากระดูกของกลางที่พบ เป็นของบุคคลใด และสำนวนคดีไม่มีข้อเท็จจริงหรือประจักษ์พยานและพยานแวดล้อมใดๆ เพียงพอที่จะเชื่อมโยงว่าผู้ต้องหาทั้งสี่เป็นผู้ร่วมกันฆ่านายบิลลี่ที่ไหน เมื่อใด และโดยวิธีใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้น ล้วนเป็นสาระสำคัญที่อัยการต้องกล่าวบรรยายไว้ในฟ้อง รวมทั้งสำนวนการสอบสวนไม่มีพยานหลักฐานว่านายบิลลี่ยังคงมีชีวิตอยู่หรือไม่" รองโฆษกอัยการฯ ระบุ

นายประยุทธ อธิบายถึงขั้นตอนการสั่งคดีอีกว่า เมื่อคณะทำงานอัยการมีความเห็นว่าในชั้นนี้สำนวนยังมีพยานหลักฐานไม่เพียงพอฟ้องผู้ต้องหาจึงเห็นควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้งสี่แล้วได้เสนอสำนวนพร้อมความเห็นไปยัง "นายฐาปนา" อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ตามระเบียบของสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ พิจารณาแล้วได้มีความเห็นและคำสั่งตามที่คณะทำงานอัยการเสนอ โดยขณะนี้สำนักงานคดีพิเศษ ได้ส่งสำนวนพร้อมคำสั่งไปยัง อธิบดีดีเอสไอเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป

"การฟ้องคดีสามารถทำได้ครั้งเดียว อัยการก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ชัดเจน ถ้าสืบแล้วยังมีข้อสงสัย โอกาสศาลยกฟ้องมีสูง ถ้าสั่งไม่ฟ้องแล้วมีพยานหลักฐานใหม่ อัยการสามารถหยิบยกมาได้ แต่ถ้าฟ้องไปแล้วศาลยกฟ้องเสียหายมากกว่า คดีมีอายุความ 20 ปี โดยอธิบดีอัยการคดีพิเศษ ฝากเรียนญาติผู้เสียหายสามารถฟ้องเองได้ อัยการยินดีให้การสนับสนุน แต่ของอัยการฟ้องส่วนที่ชัดเจน หากยังไม่เพียงพอก็ไม่ฟ้องซึ่งขั้นตอนนี้ยังต้องเสนอไปยังดีเอสไอว่าเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าดีเอสไอมีความเห็นต่าง ก็ต้องส่งอัยการสูงสุดชี้ขาดต่อไป" รองโฆษกอัยการชี้แจงขั้นตอน

เมื่อถามว่า ในระยะเวลาการฝากขังผู้ต้องหาทั้งสี่ ที่จะครบครั้งสุดท้าย (ผลัดที่ 7 รวม 84 วัน) ในวันที่ 3 ..นี้ หากต้องถึลขั้นตอนชี้ขาดอัยการสูงสุดจะมีคำสั่งทันหรือไม่ "รองโฆษกอัยการ" กล่าวว่า หากเป็นคดีร้ายแรงแล้วเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี อัยการจะฟ้องไปก่อนในข้อหาที่มีการสั่งฟ้องแล้ว แต่ถ้าผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์หลบหนีอาจจะต้องรอ และหากมีคำสั่งถึงที่สุดประการใดก็จะให้พนักงานสอบสวนนำตัวมาในภายหลัง เมื่อถามว่า หากพยานหลักฐาน ยังมีข้อสงสัย เหตุใด ไม่สั่งสอบเพิ่มเติม "รองโฆษกอัยการ" กล่าวว่า หลักการสอบเพิ่มเติมนั้นต้องมีประเด็นที่อัยการจะต้องสั่งสอบเพิ่ม แต่คดีนี้ไม่มีจุดเกาะเกี่ยวเชื่อมโยง ขณะนี้มีพยานหลักฐานที่ดีเอสไอรวบรวมมาเรายังไม่เห็นความเชื่อมโยงจะไปสั่งให้สอบเพิ่มลอยๆ ไม่ได้ ต้องชี้จุดให้ไปสอบในเรื่องใด ชั้นนี้จึงมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องดังกล่าวไป เมื่อถามว่า คดีนี้มีประจักษ์พยานยืนยันว่ามีการควบคุมตัวนายบิลลี่ แต่พยานที่บอกว่ามีการปล่อยตัวบิลลี่ไปแล้วมากลับคำให้การในชั้นสอบสวนดีเอสไอว่าไม่เห็นการปล่อยตัว ถือว่าเป็นพยานไม่อยู่กับร่องรอย จะน่าเชื่อถือว่ามีการปล่อยตัวบิลลี่จริงหรือไม่

รองโฆษกอัยการ กล่าวว่า เมื่อนายบิลลี่ถูกนายชัยวัฒน์ นำตัวไปแล้วไม่ได้กลับบ้าน ภรรยาและมารดาจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดเพชรบุรีขอปล่อยตัวเพราะขณะนั้นเชื่อว่าถูกนายชัยวัฒน์กับพวกควบคุมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กระทั่งมีการสืบพยานสู้กันโดยเท่าที่รับแจ้งมามีประจักษ์พยานเบิกความต่อศาลเห็นนายบิลลี่ขี่รถจักรยานยนต์หลังจากนั้น ศาลเชื่อพยานว่านายชัยวัฒน์ปล่อยตัวบิลลี่มาแล้ว ซึ่งทั้งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนว่าจากการนำสืบในคดีเห็นว่ามีการปล่อยนายบิลลี่ออกมาแล้วจึงไม่มีเหตุผลสั่งให้นายชัยวัฒน์ปล่อยตัว ให้ยกคำร้อง โดยพยานในคดีดังกล่าว 2 ปากจาก 5 ปากมาให้การใหม่กับดีเอสไอในชั้นสอบสวนว่าไม่เห็นการปล่อยตัวบิลลี่ อัยการจึงมาชั่งน้ำหนักเชื่อว่าสิ่งที่พยานพูดกับศาลจังหวัดเพชรบุรีจนศาลอุทธรณ์และฎีกาเชื่อนั้น มีน้ำหนักมากกว่าการให้การใหม่กับดีเอสไอ

"การนำพยานที่ขัดแย้งกันเองขึ้นสู่ศาลจะกลายเป็นประโยชน์แห่งการสงสัย กฎหมายจะยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ในชั้นนี้เราจึงต้องรอพยานหลักฐานที่แน่นหนากว่านี้"

เมื่อถามอีกว่า พยานที่ยืนยันว่าปล่อยตัวนายบิลลี่ ไม่มีใช่หรือไม่เนื่องจากมากลับคำในชั้นดีเอสไอ "รองโฆษกอัยการ" กล่าวว่า ในสำนวนของศาลจังหวัดเพชรบุรีนั้นมี 5 ปาก โดยพยาน 3 ปากยืนยันอยู่ แต่มี 2 ปากที่พูดใหม่ การที่พยานกลับคำอัยการมีสิทธิใช้ดุลยพินิจว่าจะเชื่อตรงไหน การเบิกความในศาลมีการซักค้านเต็มที่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่อัยการตอบคำถามสื่อมวลชนประเด็นนี้

ด้าน ..วราภรณ์ ทนายความของนางพิณนภา ภรรยาของนายบิลลี่ ได้โต้แย้งขึ้นมาว่าอัยการทราบหรือไม่ว่าในส่วนของกระบวนการไต่สวนที่ศาลได้เรียกพยานเจ้าหน้าที่ , นักศึกษาฝึกงาน และพนักงานสอบสวนนั้น ในการไต่สวนศาลได้ชี้ว่าพยานหลักฐานที่เห็นว่ามีการปล่อยตัวนายบิลลี่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่สามารถหยิบยกมาพิจารณาได้จึงไม่เห็นบริบทการปล่อยตัว ศาลฎีกายกคำร้องเพราะพยานหลักฐานไม่มีน้ำหนักเพียงพอ ไม่ใช่เพราะว่ามีการปล่อยตัวนายบิลลี่แล้ รองโฆษกอัยการ ก็ได้ตอบทางทนายความว่า ทีมโฆษกได้รับรายงานจากคณะทำงานอัยการคดีพิเศษรายงานมา ขณะที่ทางทนายความจะรู้รายละเอียดคดี ดังน้้นตนขอเรียนตรงไปตรงมาว่าไม่ทราบข้อเท็จจริงในส่วนนี้ แต่ที่ทราบตรงกันคือทั้ง 3 ชั้นศาลยกคำร้อง ทีมโฆษกต้องขอโทษเรื่องข้อเท็จจริงในส่วนนี้ เนื่องจากมีรายละเอียดเท่าที่ได้รับข้อมูลจากอัยการคดีพิเศษมา

ขณะที่ผู้สื่อข่าว ได้ถามต่อว่า ดีเอสไอยืนยันความชัวร์ของการตรวจด้วยวิธีไมโทรคอนเดรีย โดยสืบจากครอบครัวมาแล้วระหว่างมารดาและยาย มีบุคคลหายคือนายบิลลี่คนเดียว เหตุใดอัยการถึงไม่เชื่อ และได้พิจารณานำผู้เชี่ยวชาญมาสอบเพิ่มหรือไม่ "รองโฆษกอัยการ" กล่าวว่า ประเด็นที่สงสัยกันนั้น ทีมโฆษกเราก็สงสัย สิ่งที่เราได้รับแจ้งจากคณะทำงานอัยการได้มีการพิจารณาโดยละเอียด การตรวจโดยวิธีไมโทรคอนเดรียเป็นการตรวจหาสายสัมพันธ์ของมารดากับยาย ทางนิติวิทยาศาสตร์สามารถไล่สายได้มากขึ้นอีกกว่า 2 ลำดับ โดยคดีนี้ไม่สามารถตรวจดีเอ็นเอได้เพราะพยานวัตถุถูกทำลายด้วยความร้อนสูงดังนั้นพยานจึงต้องเป็นพยานที่รับฟังประกอบส่วนอื่นได้ด้วย อัยการดูภาพรวมทั้งสำนวนไม่เห็นความเชื่อมโยงกับพยานหลักฐานอื่น โดยเฉพาะคำพิพากษาของศาลที่บอกปล่อยออกมาแล้ว และไม่มีพยานหลักฐานว่าฆ่าที่ไหน-อย่างไร ซึ่งเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่จะต้องบรรยายฟ้อง

ด้าน นายจิตภัทร พุ่มหิรัญ อัยการสำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 4 กล่าวเสริมอธิบายเปรียบเทียบคดีนพ.วิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ ฆ่า พญ.ผัสพร ภรรยาตนเองว่า จะมีความแตกต่างกันเนื่องจากคดีดังกล่าวพยานวัตถุไม่เสียหายมาก ระยะเวลาผ่านไปไม่นาน สามารถสกัดดีเอ็นเอยืนยันตัวบุคคลได้ ไม่ใช่เพียงว่าการสืบสายมารดาและยายจะเข้ากับใครได้บ้าง เมื่อถามว่า คดีนี้ผู้ต้องหาไม่ได้ให้การใดๆ กับพนักงานสอบสวน เหตุใดพนักงานอัยการยังสั่งไม่ฟ้อง "รองโฆษกอัยการ" กล่าวว่า ในการตรวจสำนวนของอัยการจะดูพยานหลักฐานเป็นหลัก เพราะการพิจารณาพิพากษาของศาลการลงโทษใคร ศาลไม่ได้ดูคำให้การของฝ่ายจำเลยเป็นหลัก จะดูแค่ว่าอัยการสืบได้หรือไม่ ถ้าสืบได้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องดูคำให้การของจำเลย ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติ เมื่อถามอีกว่า หลังจากอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องแล้ว ในชั้นนี้ครอบครัวของนายบิลลี่ สามารถร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุดได้เลยหรือไม่ หรือต้องรอดีเอสไอเห็นแย้งก่อน "รองโฆษกอัยการ" กล่าวว่า ตามระเบียบสามารถยื่นได้ตลอดเวลา ซึ่งอัยการสูงสุดจะพิจารณาหลังมีการยื่นหนังสือมาแล้ว เมื่อถามอีกว่า คดีอุ้มฆ่า หากไม่มีประจักษ์พยาน จะถือเป็นช่องโหว่ของกฎหมายหรือไม่ "รองโฆษกอัยการ" กล่าวว่า ต้องดูเป็นคดีไป สิ่งสำคัญคือพยานหลักฐานเพราะการลงโทษหรือยกฟ้องจะอยู่ที่พยาน หน้าที่การรวบรวมพยานเป็นของพนักงานสอบสวนที่ต้องนำไปสู่จุดนั้นให้ได้

ขณะที่ "นางพิณนภา" ภรรยาของบิลลี่ ได้ถามอัยการด้วยว่า สิ่งที่นิติวิทยาศาสตร์ตรวจยืนยันเชื่อถือไม่ได้หรือไม่ "รองโฆษกอัยการ" ชี้แจงว่า วิธีการตรวจดังกล่าวไม่สามารถยืนยันตัวบุคคลได้ชัดเจน การตรวจแบบไมโทรคอนเดรียต้องใช้เชื่อมโยงกับพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน ภาพรวมในสำนวนที่ได้รับแจ้งมายังไม่มีความเชื่อมโยง และมีคำพิพากษาศาลที่ยกคำร้องขอให้ปล่อยตัวนายบิลลี่ การพิสูจน์ที่นายบิลลี่หายตัวไปสงสัยว่าไม่มีชีวิตอยู่ ยังสงสัยว่าใครเป็นคนฆ่า มีแต่การคาดการณ์ หากฟ้องไปศาลยกฟ้องจะเกิดความเสียหายมากกว่า เมื่อผู้สื่อข่าวถามต่อไปว่า อัยการสามารถสั่งสอบเพิ่มส่วนของพยานที่กลับคำให้การเพิ่มได้หรือไม่ ถึงสาเหตุที่กลับคำให้การ "รองโฆษกอัยการ" กล่าวว่า หากเป็นพยานที่พูดในศาลแบบหนึ่ง พูดกับพนักงานสอบสวนอีกแบบหนึ่ง ก็ไม่เห็นว่าจะต้องไปสอบเพิ่มประเด็นไหน จึงวินิจฉัยพยานหลักฐานเท่าที่มีว่าเพียงพอหรือไม่

"รองโฆษกอัยการ" กล่าวถึงกรณีที่ผู้ต้องหาได้ร้องขอความเป็นธรรมเข้ามาด้วยว่า นายชัยวัฒน์ ได้ยื่นร้องขอความเป็นธรรมเข้ามา ซึ่งอัยการสูงสุดจะส่งหนังสือร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าวไปยังอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ที่รับผิกชอบสำนวนคดี ส่วนอัยการสำนักงานคดีพิเศษจะนำหนังสือร้องขอความเป็นธรรมมารวมพิจารณาสั่งคดีหรือไม่ตนไม่ทราบ เนื่องจากตนไม่ได้อ่านเนื้อหาว่ามีประเด็นใดบ้าง ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ภายหลังการแถลงข่าว "นางพิณนภา" ภรรยาของนายบิลลี่ ได้ยื่นหนังสือที่เขียนด้วยลายมือ ต่อนายประยุทธ รองโฆษกอัยการ ขอให้อัยการชี้แจงเหตุผลในการสั่งไม่ฟ้องอย่างละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่ง "นางพิณนภา" แสดงความผิดหวัง และไม่สบายใจที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง โดยให้สัมภาษณ์ว่า เข้าใจที่อัยการเอาตามหลักฐานคำพิพากษา แต่ก็เข้าใจยาก สงสัยเรื่องการตรวจเพราะคนกะเหรี่ยงเมื่อเสียชีวิตจะไม่เอากระดูกลอยน้ำ ในชั้นนิติวิทยาศาสตร์ตรวจแล้วยืนยันตรงกับแม่ของบิลลี่ ส่วนตัวรู้สึกเป็นไปไม่ได้ว่าจะเป็นคนอื่น เชื่อตามนิติวิทยาศาสตร์

"จากนี้ก็ต้องไปคุยกันใหม่ และไม่มีพยานในหมู่บ้านที่เห็นบิลลี่ถูกปล่อยตัว ส่วนการฟ้องเองก็คิดไว้ สุดท้ายแล้วถ้าไม่มีอะไรก็อาจจะฟ้องเอง คนทั้งคนหายไปมันเป็นไปไม่ได้ ต้องมีเหตุและผล" ภรรยาของนายบิลลี่ ระบุ