ทูตสหรัฐฯ ตบเท้าพบ 'กสทช.' ถก 'โอทีที-5จี'

ทูตสหรัฐฯ ตบเท้าพบ 'กสทช.' ถก 'โอทีที-5จี'

หวังเคลียร์ปัญหารายได้-ภาษีจากเฟซบุ๊ค ยูทูป เน็ตฟลิกซ์ กูเกิล ขณะที่ 27 ม.ค.รองนายกฯ สมคิด ร่วมถก กสทช. เร่งขับเคลื่อน 5จี

อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นสำคัญที่มีการหารือกันคือ การจัดเก็บรายได้ (ไม่ใช่ภาษี) จากผู้ให้บริการโอเวอร์ เดอะ ท๊อป (โอทีที) ที่นำเอาคอนเทนต์มาวิ่งบนโครงข่าย (แบนด์วิธ) ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โอเปอเรเตอร์) ซึ่งที่ผ่านมา กสทช.ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือเท่าที่ควรจากผู้ให้บริการรายใหญ่ทั้ง 4 ราย ประกอบด้วย เฟซบุ๊ค ยูทูบ กูเกิล และเน็ตฟลิกซ์ ซึ่งแม้จะมีการประชุมเรื่องดังกล่าวมาหลายครั้งแล้ว ทั้ง 4 บริษัทก็ส่งผู้ร่วมประชุมที่ไม่ใช่ระดับบริหารไม่สามารถตัดสินใจได้ ซึ่งในวันที่ 26-27 พ.ค.นี้ จะมีการประชุมในเรื่องดังกล่าวนี้ จึงอยากให้รัฐบาลสหรัฐฯกำชับขอให้บริษัทดังกล่าว ส่งผู้บริหารระดับสูงมาหารือร่วมกัน

นายฐากร เคยระบุไว้ก่อนหน้านี้ว่า เรื่องปัญหาโอทีทีนั้น ที่ผ่านมาประชุมผู้นำองค์กรกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมในภูมิภาคอาเซียน หรือ การประชุม ASEAN Telecommunication Regulator’s Council : ATRC ได้มติร่วมกันในหลักการจากประเทศเพื่อนสมาชิก 10 ประเทศ ในการจัดเก็บรายได้ (ไม่ใช่ภาษี) จากโอทีทีตามที่มีการเสนอแนวทางในการจัดเก็บไป 3 ประเด็น ได้แก่ 1.ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อค่าบริการของประชาชน 2.ต้องมีรายได้เข้าประเทศ และ3.ขอให้โอทีทีให้ความร่วมมือ ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถดำเนินการได้ อย่างไรก็ดี ตัวแทนจากสิงคโปร์และมาเลเซียได้กล่าวในที่ประชุมว่าการเก็บรายได้จากโอทีทีของประเทศเขานั้น จะกำหนดเป็นการเก็บรายได้จากการดำเนินการและเก็บภาษีเลย เพราะมีผู้ให้บริการโอทีทีมาตั้งสำนักงานใหญ่อยู่หลายบริษัท ซึ่งรูปแบบเป็นภาษีนิติบุคคล

พร้อมกันนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 27 ม.ค.นี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเข้าประชุมถึงแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย 5จี ร่วมกับ สำนักงานกสทช. เวลา 10.30 น. เนื่องจากรัฐบาลต้องการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ในทุกภาคส่วน และยังจะมีเสนอเรื่องที่เป็นปัญหาและอุปสรรค เช่น การเข้าร่วมประมูลของโอเปอเรเตอร์ ที่หากหนังสือค้ำประกัน (แบงก์ การันตี) เกินกรอบวงเงินของบริษัท จะพิจารณาให้ธนาคารสามารถปล่อยวงเงินกู้ได้ เพราะเป็นการลงทุนการวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาล