กก สวล. กำชับหน่วยงานทำตามแผนฯ จัดการฝุ่นพิษ PM2.5

กก สวล. กำชับหน่วยงานทำตามแผนฯ จัดการฝุ่นพิษ PM2.5

พร้อมมอบอำนาจให้ผู้ว่าฯ สั่งการ

โดยรองนายกรัฐมนตรีดูแลงานด้านสิ่งแวดล้อม พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ แถลงหลังการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติว่า ที่ประชุมได้มีมติให้หน่วยงานทำตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนตามวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง โดยบังคับใช้กฎหมายตามอำนาจที่มีอยู่ให้เข้มงวดขึ้นไป พร้อมๆกับการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน 

ซึ่งรัฐมนตรีมหาดไทย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้กล่าวเสริม โดยเน้นย้ำถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสุขภาพจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อค่าความหนาแน่นของฝุ่นละออง เกิน 50 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งปัญหาใหญ่ในเวลานี้คือ การยอมรับมาตรการที่ดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาของหน่วยงานต่างๆ ทำให้ทางที่ประชุมมอบหมายให้ผู้ว่าฯ ดำเนินการแก้ไขปรับแผนฯ ตามสถานการณ์

โดยแผนฯ ดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในเดือนตุลาคมที่แล้ว มีมาตรการต่างๆ ทั้งระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว โดยระยะเร่งด่วน (ก.ย.,พ.ย.-พ.ค.) แบ่งเป็น ระยะก่อนวิกฤติ ระยะเกิดสานการณ์วิกฤติ และระยะหลังวิกฤติ 

ซึ่งระยะเกิดสถานการณ์วิกฤต (ธ.ค.-เม.ย.) ได้แบ่งระยะทำงานเป็น 4 ระดับตามความรุนแรงของฝุ่นPM2.5 โดยระยะที่2 ขึ้นไป คือ เกิน 50 มคก./ลบ. จะอยู่ในอำนาจของผู้ว่าฯ สั่งการ โดยระดับสูงสุดคือค่าเกิน 100 มคก./ลบ. จึงจะเป็นอำนาจของนายกฯ สั่งการ

อย่างไรก็ตาม ในแผนฯ ไม่มีมาตรการระบุไว้ชัดเจนโดยเฉพาะสำหรับระยะเกิดสถานการณ์วิกฤติ ทางคณะกรรมการควบคุมมลพิษจึงได้ประชุมและออกมาตรการที่เข้มงวดขึ้นที่เป็นการยกระดับจากการทำงานปกติ 12 ข้อ สำหรับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่ ครม.จะรับทราบไปในวันอังคารที่ผ่านมา

ทั้งนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า มีการถกเถียงกันในที่ประชุมถึงมาตรการที่ยกระดับไปซึ่งถูกเสนอเป็นวาระการพิารณาเข้ามา  แต่ไม่ได้เห็นชอบตามวาระที่เสนอ ซึ่งพพลเอกอนุพงษ์เองได้กล่าวว่า บางอย่างยังบังคับไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เแหล่งข่าวกล่าวว่า มาตรการ 12 ข้อ ที่ประชุมรับทราบ และเป็นเสมือนกรอบการทำงานให้ผู้ว่าฯ ได้ปรับใช้ตามสถานการณ์นั่นเอง

สำหรับวาระการประชุม มีดังนี้

วาระที่ (3) การยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในช่วงสถานการณ์วิกฤต

1.เรื่องเดิม

1.1. คณะกรรมการควบคุมมลพิษได้เสนอแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตามมาตรา ๕๓ (๑) แห่งพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๒ เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดาเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในภาพรวมของประเทศ และในพื้นที่วิกฤต โดยการบูรณาการดำเนินงานร่วมกันในทุกภาคส่วนเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีขั้นตอน และการปฏิบัติงานที่ชัดเจนในช่วงสถานการณ์วิกฤตปัญหาฝุ่นละออง

1.2. คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ เห็นชอบแผนปฏิบัติการ ขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ "การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง" และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดกิจกรรม/โครงการและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ

1.3. คณะอนุกรรมการกำกับดูแลการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไข ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ได้ประชุมและจัดทำรายละเอียด แนวทางการดำเนินงานตามมาตรการภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ "การแก้ไขปัญหามลพิษ ด้านฝุ่นละออง" ที่ผ่านมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่๑ตุลาคม๒๕๖๒

2. การดำเนินงานที่ผ่านมา

2.1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานที่คณะอนุกรรมการฯ ได้ร่วมพิจารณา ส่งผลทำให้ปริมาณฝุ่นละอองลดลง กล่าวคือ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๑ พบเกินมาตรฐาน ๘ วัน ลดลงเหลือ ๕ วัน ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๒ เดือนธันวาคม ๒๕๖๑ พบเกินมาตรฐาน ๑๔ วัน ลดลงเหลือ ๗ วัน ในเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ และเดือนมกราคม ๒๕๖๒ พบเกินมาตรฐาน ๒๓ วัน ส่วนในเดือนมกราคม ๒๕๖๓ ณ วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๓ เกินมาตรฐานแล้ว ๑๔ วัน

2.2.รัฐบาลได้รับทราบสถานการณ์ฝุ่นละอองที่ลดลงมาโดยตลอด แต่เพื่อให้สถานการณ์ฝุ่นละอองดีขึ้น จึงสั่งการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานหลัก ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับความเข้มข้นของการดำเนินงาน

2.3 คณะกรรมการควบคุมมลพิษ ได้มีการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๓ มีมติร่วมกันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้อำนาจตามกฎหมายในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติฯ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว นอกจากนี้ คณะกรรมการควบคุมมลพิษยังได้เสนอการยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในช่วงสถานการณ์วิกฤต โดยมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องแต่ละหน่วยงาน ดังนี้

๑) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

(๑) ออกข้อบังคับเพิ่มเติมเพื่อขยายเขตพื้นที่จำกัดรถบรรทุกตั้งแต่ ๑๐ ล้อขึ้นไป ห้ามเดินรถเข้ามาในพื้นที่กรุงเทพมหานครจากวงแหวนรัชดาภิเษกขยายเป็นวงแหวนกาญจนาภิเษก

(๒) ออกข้อบังคับหรือระเบียบตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อห้ามรถบรรทุกตั้งแต่ ๑๐ ล้อขึ้นไป เข้ามาในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครในวันคี่ ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ สำหรับวันคู่ให้เข้าได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด

(๓) ยกระดับความเข้มงวดในการตรวจสอบตรวจจับรถยนต์ควันดำอย่างเคร่งครัด (๔) ออกคำสั่งห้ามการใช้รถที่มีมลพิษเกินมาตรฐานที่กำหนดมาใช้ในทางเดินรถ

และออกกฎกระทรวงเพื่อตรวจรับรองรถยนต์ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามคำสั่งแล้วตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒

๒) กรมการขนส่งทางบก

(๑) ตรวจวัดควันดำอย่างเข้มงวดกับรถโดยสาร (ไม่ประจาทาง) ทุกคัน โดยเพิ่มชุดตรวจเป็น ๕๐ ชุด ใน ๕๐ เขต (บูรณาการร่วมกันระหว่างกรมการขนส่งทางบก กรมควบคุมมลพิษ และ กรุงเทพมหานคร)

(๒) ปฏิบัติการร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจรในการยกระดับความเข้มงวด การตรวจสอบตรวจจับรถควันดพสาหรับรถโดยสารและรถบรรทุกเพื่อการออกคพสั่งห้ามใช้รถ

๓) กรมโรงงานอุตสาหกรรม

(๑) ตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง หากตรวจสอบแล้วไม่เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่กำหนด ให้สั่งปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือสั่งหยุดการประกอบกิจการ

(๒) ขอความร่วมมือโรงงานอุตสาหกรรมลดกำลังการผลิตในช่วงวิกฤตสถานการณ์ ฝุ่นละออง และสนับสนุนแรงจูงใจ (Incentive) ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้ความร่วมมือ

๔) กรุงเทพมหานคร

(๑) แก้ไขปัญหาการจราจรจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าเพื่อช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองโดยกำกับให้ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ หากไม่ปฏิบัติตามให้ระงับการก่อสร้าง

(๒) ไม่ให้มีการเผาในที่โล่ง และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้กระทำการเผา

๕) จังหวัดต่างๆ (ยกเว้น ๙ จังหวัดภาคเหนือ)

(๑) ออกเทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นควบคุมการเผาขยะมูลฝอยหญ้าพืชไร่ พืชสวน ตอซังข้าว หรือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นที่ดินของตนเองหรือที่สาธารณะในช่วงวิกฤตสถานการณ์ฝุ่นละออง

(๒) เข้มงวดการควบคุมยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้างต่างๆ

๖) ข้อเสนออื่น

(๑) ขอความร่วมมือหน่วยงานภาคราชการ ภาคเอกชน ประชาชน ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวมาทำงาน

(๒) รถยนต์ของส่วนราชการต้องผ่านมาตรฐานควันดำทุกคันโดยกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดของหัวหน้าส่วนราชการ

(๓) ให้กระทรวงพลังงานพิจารณาสนับสนุนการลดราคานำ้มันเชื้อเพลิงที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกิน ๑๐ ppm

(๔) ขอความร่วมมือกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย ภาคเอกชน และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการให้บริการเปลี่ยนถ่ายนำ้มันเครื่องสำหรับรถยนต์ดีเซลที่มีอายุเกิน ๕ ปี

(๕) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานอื่นสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์วิกฤต

2.4 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๓ คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอการยกระดับมาตรการในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในสถานการณ์วิกฤต และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

3.ความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การป้องกันและแก้ไข ปัญหาฝุ่นละอองเป็นไปโดยเร่งด่วน เห็นควรนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดาเนินการตามการยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในสถานการณ์วิกฤต เพื่อให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว

4.ประเด็นเสนอเพื่อพิจารณา

ขอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยประธานกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้โปรดมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการตามการยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในสถานการณวิกฤต เพื่อให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว