5 หุ้นแกร่งเหนือปัจจัยลบ ทำราคาพุ่งนิวไฮต์ต่อเนื่อง

 5 หุ้นแกร่งเหนือปัจจัยลบ ทำราคาพุ่งนิวไฮต์ต่อเนื่อง

เริ่มต้นปี 2563 ตลาดหุ้นไทยยังไม่สามารถทะลุ 1,600 จุดได้ แต่ปัจจัยดังกล่าวกลับไม่มีผลกับ 5 หุ้นที่ทำราคาสูงสุดในช่วงภาวะดังกล่าว

    เริ่มจากกลุ่มโรงไฟฟ้าปรับตัวขึ้นโดดเด่นมากกว่ากลุ่มอื่น ราคาหุ้นที่ฮือฮาจนนักลงทุนบ่นเสียดายแล้วเสียดายอีก บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF จากราคาปลายปี 2562 ปิดที่ 166.00 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 103.68 % และในช่วงยังไม่จบเดือน ม.ค. 2563 ทำราคานิวไฮต์ที่ 203.00 บาท ( 22 ม.ค.) เปรียบเทียบแล้วราคาหุ้นปรับตัว 22.28 % และเพิ่มขึ้นถึง 351 % จากราคาไอพีโอ ที่ 45.00 บาท ( 6 ธ.ค. 2560)

    กัลฟ์ ทยอยปล่อยข่าวบวกเพิ่มจำนวนผลิตไฟฟ้าในมืออย่าต่อเนื่อง ตามแผนระยะยาวแล้วบริษัทต้องการเพิ่มกำลังการผลิตตามสัญญาอีก 4,123 เมกะวัตต์ ระหว่างปี 2560 -2567 ทำให้บริษัทจะกลายเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศ จากส่วนแบ่งการตลาดที่ 17 %

    กลุ่มโรงไฟฟ้า มี บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ที่มักจะนำมาเป็นคู่เปรียบกันด้วยศักยภาพธุรกิจที่ใกล้เคียงกันและการเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นช่วงปีเดียวกัน ราคาหุ้นจากปลายปี 2562 ปิดที่ 52.50 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 98.11 % และในช่วงยังไม่จบเดือน ม.ค. 2563 ราคาหุ้นไต่ขึ้นมาจนทำนิวไฮต์ที่ 69.25 บาท ( 21 ม.ค.) เปรียบเทียบแล้วราคาหุ้นปรับตัว 31.90 % และเพิ่มขึ้นถึง 332 % จากราคาไอพีโอ ที่ 16.00 บาท ( 19 ก.ค. 2560)

    ข่าวใหญ่ของ BGRIM การลงทุนระดับหมื่นล้านบาทเพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าตามเป้าหมาย 5,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2565 จากปัจจุบันที่มีกำลังผลิตที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว 2,896 เมกะวัตต์

    นอกจากนี้มีบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ในกลุ่มปตท. ที่หลังจากเสร็จสิ้นการควบรวมกิจการ บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW ปีที่ผ่านมา ทำให้จากธุรกิจโรงไฟฟ้าขนาดเล็กขึ้นมามีจำนวนผลิตไฟฟ้ามากถึง 5,026เมกะวัตต์

    ด้านราคาปลายปี 2562 ปิดที่ 85.75 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 64.52 % และในช่วงยังไม่จบเดือน ม.ค. 2563 ราคาหุ้นไต่ขึ้นมาทำราคานิวไฮต์ที่ 98.25 บาท ( 15 ม.ค.) เปรียบเทียบแล้วราคาหุ้นปรับตัว 14.57 % และเพิ่มขึ้นถึง 263 % จากราคาไอพีโอ ที่ 27.00 บาท ( 18 พ.ค. 2558)

    ข้ามมายังกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มมีหุ้นขนาดใหญ่เข้าตลาดหุ้นไม่นาน บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP สร้างความคาดหวังให้กับนักลงทุนแต่ด้วยการกระจายหุ้นไอพีโอเน้นไปที่กลุ่มสถาบันจึงทำให้ราคาหุ้นที่เปิดทำการซื้อขายไม่ได้สร้างความฮือฮาให้กับนักลงทุนต้องเข้ามาไล่เก็บหุ้น แถมราคาหุ้นยังต่ำจองจนถึงปี 2562 ด้วยซ้ำ

    ช่วงปลายปี 2562 การเข้าสู่คำนวณ SET 50 และตามมาด้วยการเปิดโรงงานผลิตขวดแห่งใหม่ ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตลดลง การขยายตลาดในกลุ่ม CLMV เต็มสูบ ทำให้ด้วยชื่อและความสำเร็จในตลาดเครื่องดื่มชูกำลังในไทยที่ครองตำแหน่งอันดับ 1 มาตลอดจึงทำให้นักลงทุนเพิ่มมูลค่าหุ้นต่อเนื่อง

    ราคา OSP ปลายปี 2562 ปิดที่ 40.50 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 65.30 % และในช่วงยังไม่จบเดือน ม.ค. 2563 ราคาหุ้นไต่ทำนิวไฮต์ที่ 46.50 บาท ( 22 ม.ค.) เปรียบเทียบแล้วราคาหุ้นปรับตัว 14.81 % และเพิ่มขึ้นถึง เกือบ 86 % จากราคาไอพีโอ ที่ 25.00 บาท ( 17 ต.ค. 2561)

    และที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้กับ บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM เป็นหุ้นนอกสายนักลงทุนในช่วงแรกและมีความคาดหวังว่าเก็บหุ้นต่ำจองด้วยซ้ำ เพราะการกระจายหุ้นไอพีโอ 75 % อยู่ในมือของกองทุนและสถาบัน ส่วนรายย่อยเพียง 25 %

    บวกกับการคาดการณ์เติบโตที่ไม่ได้หวือหวาพอร์ตสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งตามข้อมูลของบริษัทระยะเวลาที่สามารถจำหน่ายเพื่อตีกลับเป็นรายได้ต้องใช้เวลา 3-5 ปี ขึ้นไป ราคาหุ้นไอพีโอที่ 17.50 บาท (16 ธ.ค. 2562 ) ไม่ได้ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จบปีราคาอยู่ที่ 18.10 บาท เปิดทำการซื้อขาย 2563 ราคาทำนิวไฮต์ต่อเนื่อง ราคาหุ้นไต่ขึ้นมาจนแตะที่ 27.50 บาท ( 21 ม.ค.) เปรียบเทียบแล้วราคาหุ้นปรับตัว 57.14 % จากราคาไอพีโอ และเพิ่มขึ้น 51.93 % ตั้งแต่ต้นปี 2563

    ราคาวันนี้สะท้อนมุมมองของนักลงทุน มีอัตราส่วนราคาหุ้นต่อราคาปิด (P/E) ที่บ่งบอกว่าราคาหุ้นวันนี้แพงหรือถูกเกินไปเมื่อเทียบกับตลาดหรือกลุ่มอุตสาหกรรม  เมื่อมีหุ้นที่ราคาพุ่งสูงในเวลารวดเร็วสิ่งที่ทำให้นักลงทุนตัดสินใจถือต่อหรือขายทิ้งมาดูว่าผลดำเนินงานออกมาทำได้จริงหรือแค่ข่าวดันราคาหุ้น 

157975400686