ลุ้นจุดเปลี่ยน ฝ่ายค้านวูบ '230' ?

ลุ้นจุดเปลี่ยน ฝ่ายค้านวูบ '230' ?

จับตาจุดเปลี่ยนการเมืองไทยในมือ "ศาลรัฐธรรมนูญ" อนาคตของ “ธนาธร-ปิยบุตร” สองหัวขบวนคนรุ่นใหม่จะได้ไปต่อหรือติดโทษแบน วันนี้รู้กัน..

พรรคอนาคตใหม่ ใช้เวลาเพียง 11 เดือน 22 วัน สร้างปรากฏการณ์พรรคการเมืองน้องใหม่ ที่โกย 6,330,617 เสียง กวาด ส.ส. เข้าสภาภายหลังการเลือกตั้ง 24 มี.ค.2562 ได้ถึง 81 ที่นั่ง หลังยื่นจัดตั้งพรรคการเมืองต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เมื่อ 15 มี.ค. 2561

ทุกย่างก้าว-ทุกความเคลื่อนไหวของพรรคอนาคตใหม่ ถูกจับตาจากกลุ่มอำนาจเก่า กลุ่มอำนาจใหม่ และประชาชนมากเป็นพิเศษ ท่ามกลางกระแสอันเชี่ยวกราก เพราะมีทั้ง คนเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของ “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” หัวหน้าพรรค “ปิยบุตร แสงกนกกุล” เลขาธิการพรรค

ผ่านไปเพียง 1 ปี 10 เดือน พรรคอนาคตใหม่ เดินเข้าสู่จุดเสี่ยง ที่จะโดนศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค คดีกระทำล้มล้างการปกครอง ซึ่ง “ณฐพร โตประยูร” อาชีพทนายความ อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้องโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 เมื่อ 15 พ.ค.2562

อ่านข่าว-แนวโน้มคำวินิจฉัย อนาคตใหม่ 'ยุบ-ไม่ยุบ' 

ตอนหนึ่งของคำฟ้อง อ้างถึงคำกล่าวของ “ธนาธร” เมื่อ 21 ก.พ.2562
ว่า “มาร่วมกันทำภารกิจเมื่อ พ.ศ.2475 เพื่อประชาธิปไตยยั่งยืนกัน
ซึ่ง 86 ปี ยังทำไม่สำเร็จ ให้สำเร็จกันซักครั้ง”

โดยให้เหตุผลขอให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ อ้างว่า เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ มิให้กลุ่มบุคคลใดล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดย 4 ผู้ถูกร้องประกอบด้วย พรรคอนาคตใหม่-ธนาธร-ปิยบุตร และกรรมการบริหารพรรค

ในคำร้องระบุเหตุผลดังนี้ “ธนาธร-ปิยบุตร” ไม่ยอมรับในสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อสาธารณะ โดย “ธนาธร”เป็นนายทุนเจ้าของเว็บไซต์และนิตยสาร “ฟ้าเดียวกัน” และตอนหนึ่งของคำฟ้อง ยังอ้างถึงคำกล่าวของ “ธนาธร” เมื่อ 21 ก.พ.2562 ว่า “มาร่วมกันทำภารกิจเมื่อ พ.ศ.2475 เพื่อประชาธิปไตยยั่งยืนกัน ซึ่ง 86 ปี ยังทำไม่สำเร็จ ให้สำเร็จกันซักครั้ง”

ส่วน “ปิยบุตร” ผู้ร้องได้อ้างถึงการแสดงทัศนะต่อสถาบันในการเสวนาหลายครั้ง ในช่วงที่ยังเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และเป็นสมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์ และระบุว่า “มีการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน”

ขณะเดียวกันสัญลักษณ์พรรคอนาคตใหม่ มีลักษณะสามเหลี่ยมด้านเท่าหัวกลับ มีความเหมือนกับสมาคมอิลลูมินาติ ซึ่งอยู่เบื้่องหลังการล้มล้างการปกครองระบบกษัตริย์หลายประเทศในยุโรป ซึ่งพิจารณาพฤติกรรมของพรรคอนาคตใหม่ มีวัตถุประสงค์ยึดถือปรัชญาความคิดอิสระไม่เชื่อถือความคิดเก่าๆ

คดีดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติรับคำร้อง เมื่อ 19 ก.ค. 2562 ต่อมา 22 ธ.ค.2562 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่เปิดไต่สวนพยาน เพราะพยานหลักฐานเพียงพอ จากนั้น 25 ธ.ค.2562 ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยในวันที่ 21 ธ.ค. 2562

โดยแนวทางคำวินิจฉัยมีดังนี้

แนวทางที่หนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญ อาจจะมีคำวินิจฉัยให้ยกคำร้อง โดยอาจจะมีเหตุประกอบการยกร้อง เช่น พฤติกรรมของ ผู้ถูกกล่าวหา อาจจะไม่ชัดเจนพอให้เชื่อได้ว่ามีพฤติกรรมล้มล้างสถาบัน

แนวทางที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญ อาจจะวินิจฉัยว่าการกระทำของ “พรรคอนาคตใหม่-ธนาธร-ปิยบุตร-กรรมการบริหารพรรค” กระทำผิดจริง จึงสั่งให้หยุดการกระทำดังกล่าว เพราะที่ผ่านมาคำพูดของ “ธนาธร-ปิยบุตร” มักถูกนำมาตีความว่ามีเจตนาส่งสัญญาณไปถึงสถาบันหรือไม่

เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้พรรคอนาคตใหม่ หยุดการกระทำที่สุ่มเสี่ยงจะกระทบต่อสถาบัน “ธนาธร-ปิยบุตร-พรรคอนาคตใหม่” อาจจะต้องปรับขบวนกันใหม่ ลดโทนการเมืองเข้มข้นให้อ่อนลงในบางจังหวะ เพราะหากไม่สนคำเตือน-ข้อห้าม มีหวังโดนลงโทษ เพราะถูกคาดโทษเอาไว้แล้วได้

แนวทางที่ 3 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้มีความผิด สั่งยุบพรรคและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค หากคำวินิจฉัยออกมาตามแนวทางนี้ จะทำให้ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ต้องหาพรรคการเมืองสังกัดใหม่ภายใน 30 วัน ไม่เช่นนั้นจะพ้นสมาชิกภาพ ส.ส.ทันที

วิปฝ่ายค้าน ได้ส่งสัญญาณเตือนไปยัง “ธนาธร-ปิยบุตร” แล้วว่า
หากกรรมการบริหารพรรคไม่ชิงลาออกก่อน อาจต้องเสียไป 10 เสียง
แต่ “ธนาธร-ปิยบุตร” เลือกเล่นเกมเสี่ยง เพราะหากไม่ถูกยุบพรรค
แต่บรรดาแกนนำ ไม่มีสถานะเป็นกรรมการบริหารพรรค
จะส่งผลต่อทิศทางของพรรคทันที

“ธนาธร-ปิยบุตร” กำชับ ลูกพรรคสีส้ม ให้เข้าสังกัดพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์เดียวกัน หากผลออกมาในแนวทางที่ 3 ซึ่ง 15 กรรมการบริหารพรรคจะถูกตัดสิทธิทางการเมือง โดย 10 ใน 15 คนต้องพ้นสถานะ ส.ส.

โดยก่อนหน้านี้อนาคตใหม่มี ส.ส.ในสังกัด 80 เสียง มีมติขับออกจากพรรค เหลือ 76 เสียง หากกรรมบริหารพรรคถูกตัดสิทธิการเมืองอีก 10 เสียง จะทำให้ส.ส.อนาคตใหม่ เหลือเพียง 66 เสียง

วิปฝ่ายค้าน ได้ส่งสัญญาณเตือนไปยัง “ธนาธร-ปิยบุตร” แล้วว่า หากกรรมการบริหารพรรคไม่ชิงลาออกก่อน อาจต้องเสียไป 10 เสียง แต่ “ธนาธร-ปิยบุตร” เลือกเล่นเกมเสี่ยง เพราะหากไม่ถูกยุบพรรค แต่บรรดาแกนนำ ไม่มีสถานะเป็นกรรมการบริหารพรรค จะส่งผลต่อทิศทางของพรรคทันที

แต่หากต้องสูญเสีย 10 เสียง จำนวน ส.ส.ในสภาก็จะเหลือ 488 เสียง (รอเลือกตั้งซ่อมส.ส.เขต 2 กำแพงเพชร และศาลวินิจฉัยคดีทุจริตเลือกตั้งซ่อม กรุงศรีวิไล สุทินเผือก ส.ส.สมุทรปราการ) ขณะที่ 7 พรรคฝ่ายค้าน ก็จะเหลิือ 230 เสียง

ส่วนพรรคร่วมรัฐบาล 258 เสียง (ยังไม่นับ ส.ส.งูเห่าที่ยังไม่ถูกขับออกจากพรรค) ทำให้ขั้วรัฐบาลมีมากกว่าฝ่ายค้านเกือบ 30 เสียง หนีจากรัฐบาลปริ่มน้ำมาเป็น “รัฐบาลเสียงพ้นน้ำ” ได้ทันที และจะทำให้การบริหารงานของรัฐบาล “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ราบรื่นกว่าเดิม

ขณะเดียวกัน มีอีกกระแสเชื่อว่า หากศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ ก็อาจมีคำวินิจฉัยให้เลื่อนบัญชี ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ขึ้นมาแทนกรรมการบริหารพรรค ที่พ้นสถานะ ส.ส.เพราะต้องหาทางออกให้กับการนับคะแนน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เอาไว้ด้วย

จับตาจุดเปลี่ยนการเมืองไทย ในมือศาลรัฐธรรมนูญ อนาคตของ “ธนาธร-ปิยบุตร” สองหัวขบวนคนรุ่นใหม่จะได้ไปต่อหรือติดโทษแบน วันนี้รู้กัน...