'สมคิด' สั่งบูรณาการงบ 64 ทุ่มพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่

'สมคิด' สั่งบูรณาการงบ 64 ทุ่มพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่

“สมคิด”ประชุมบูรณาการงบ 64 พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษให้นโยบายเน้นระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ภาคเหนือ และไบโอฮับในภาคอีสาน ย้ำเร่งดันแพคเกจเอกชน-รสก.ลงทุน-นำเข้าเครื่องจักร จ่อเพิ่มลดหย่อนภาษี เล็งชงครม.เร็วๆนี้ชี้ปรับโครงสร้างการผลิตและช่วยแก้บาทแข็ง

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมมอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปี พ.ศ. 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาลวานนี้ (16 ม.ค.) ว่าได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดงบประมาณบูรณาการเกี่ยวกับโครงการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษไปจัดทำงบประมาณในปี 2564  ตามนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญได้แก่ โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) และเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทั้ง 3 โครงการจะเป็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญต่อเนื่องจากโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มีความคืบหน้าเรื่องการลงทุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานไปพอสมควรแล้ว 

ทั้งนี้งบประมาณในการพัฒนาทั้ง 3 โครงการส่วนหนึ่งให้นำมาจากโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ยังไม่มีการลงทุนของภาคเอกชนมากนัก เนื่องจากมีการพิจารณาแล้วว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่เคยมีการส่งเสริมการลงทุนใน 10 พื้นที่ชายแดนมีพื้นที่ซึ่งได้ตอบรับการลงทุนจากเอกชนเป็นจำนวนมากเพียง 4 พื้นที่ได้แก่เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จ.ตาก เขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.สงขลา เขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.สระแก้ว และเขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.มุกดาหาร ที่เหลือมีการลงทุนของภาคเอกชนไม่มากนัก 

157923539361

“ตอนนี้ในเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีมีความคืบหน้าไปมากแล้วสิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งให้เกิดการลงทุนคือระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ภาคเหนือ และไบโอฮับในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งจะเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจจากอีอีซีไปยังพื้นที่เศรษฐกิจอื่นๆ และช่วยการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ ซึ่งได้มอบนโยบายว่าให้ไปดูว่าต้องมีงบประมาณในการเริ่มต้นโครงการเหล่านี้ และมอบหมายให้สภาพัฒน์ไปดูโครงสร้างของการบริหารจัดการโครงการที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนได้อย่างแท้จริง” 

สำหรับการบูรณาการงบประมาณในส่วนของ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ได้ให้นโยบายว่าจะต้องจัดสรร 157918414265 ในเรื่องของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวบริการ และเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งต้องส่งเสริมอย่างจริงจังผ่านการจัดสรรงบประมาณเพื่อให้เกิดการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ 

สำหรับมาตรการส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนจะออกมาเป็นมาตรการในเร็วๆนี้ โดยให้กระทรวงการคลังหารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และคาดว่าจะนำเสนอมาตรการเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้เร็วๆนี้ 

โดยมาตรการในส่วนของกระทรวงการคลังจะเป็นการทบทวนการลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนในเครื่องจักรได้ 1.5 เท่าของที่จ่ายจริงที่เคยมีมาตรการอยู่จะมีการทบทวนในส่วนนี้โดยจะให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนเพิ่มขึ้น 

ขณะเดียวกันการเร่งรัดการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่จะมีการลงทุนนำเข้าสินค้าและเครื่องจักรจากต่างประเทศก็ให้มีการเร่งรัดการลงทุน เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่ต้องนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลเอ็นจี) ก็ให้มีการเร่งรัดนำเข้าในช่วงที่เงินบาทแข็ง

ทั้งนี้ ได้หารือกับกรมสรรพากร กรมศุลกากรเกี่ยวกับเรื่องของมาตรการภาษี การอำนวยความสะดวกในการนำเข้าและส่งออก ขณะที่ก็ได้มีการหารือกับ ธปท.ในการอำนวยความสะดวกให้กับการแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อการนำเข้าสินค้าทุนและเครื่องจักรจากต่างประเทศซึ่งการทำแบบนี้ก็จะช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าได้และช่วยปรับทิศทางการลงทุนของประเทศในอนาคตได้เช่นกันและเป็นเรื่องที่ควรเร่งรัดให้เกิดขึ้น