หุ้น 'บริหารสินทรัพย์' ฮอตต่อเนื่อง ดันรายย่อยไล่ราคาเก็บเข้าพอร์ต

หุ้น 'บริหารสินทรัพย์' ฮอตต่อเนื่อง ดันรายย่อยไล่ราคาเก็บเข้าพอร์ต

เปิดตลาดหุ้นปี 2563  ยังไม่ถึงเดือนแต่หุ้นไทยผันผวนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ จนทำให้ภาวะการลงทุนในหุ้นรายตัว ต้องเลือกลงทุนในกลุ่มที่ได้ประโยชน์และหลีกเลี่ยงกลุ่มที่เสียประโยชน์เป็นหลัก

            ท่ามกลางภาวะตลาดหุ้นดังกล่าวยังมีหุ้นที่เป็นขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง และน่าจะเป็นหุ้นไอพีโอปี 2562 ที่ราคาขึ้นท๊อปฟอร์มของทั้งปี   บริษัท บริหารสินทรัพย์  กรุงเทพพาณิชย์  จำกัด (มหาชน) หรือ BAM   จากราคาไอพีโอ 17.50 บาท ล่าสุดวานนี้ (15 ม.ค.) ราคาขึ้นไปทำจุดสูงสุด 24.40 บาท ก่อนจะมาปิดตลาดที่  24.10บาท

            ราคาดังกล่าวเป็นการเพิ่มขึ้นมาประมาณ 37 %   และมูลค่ามาร์เก็ตแคปเพิ่มขึ้น  25 % จาก 54,571 ล้านบาท  ณ  สิ้นปี 2562 มาอยู่ที่ 68,742 ล้านบาท  ซึ่งการปรับตัวเพิ่มขึ้นของหุ้น BAM ตั้งแต่ต้นปี 2563 มีปัจจัยบวกเข้ามาหนุนไม่น้อย

            จากธุรกิจบริหารจัดการหนี้หรือที่เรียกง่ายๆ ว่าซื้อหนี้เสีย (NPL)มาบริหาร หากสามารถตามหนี้ได้ส่วนหนึ่งถือว่าได้กำไรเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เสียที่สถาบันการเงินจะเปิดมีการประมูลต่อครั้งจำนวนมาก  ทำให้ต้นทุนการในประมูลซื้อหนี้จะไม่สูงแต่ต้องแบกรับความเสี่ยงว่าหนี้อาจจะเป็นศูนย์ได้ด้วยเหมือนกัน  

            ดังนั้นขึ้นอยู่แต่ละบริษัทว่าจะมีการธุรกิจบริหารจัดการหนี้อย่างไร  จึงทำให้ด้วยธุรกิจจะมียอดหนี้ค่อนข้างสูง และอัตรากำไรขั้นต้นสูงตามไปด้วย  บวกกับในช่วงที่ภาวะอัตราการก่อหนี้ของไทยยังสูงระดับ 80 % ของจีดีพี  และมีความต้องการสินเชื่อเงินสด ภายใต้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำทำให้เป็นโอกาสทองของธุรกิจบริหารหนี้ไปด้วย

            หากเทียบกับหุ้นในกลุ่มเดียวมี บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค  เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT  เน้นบริหารหนี้ด้อยคุณภาพที่ไม่มีหลักประกัน  ถือว่าเป็นพอร์ตใหญ่ของรายได้ทั้งหมดที่เหลือเป็นธุรกิจเร่งรัดหนี้  และธุรกิจบริหารสินเชื่อเช่าซื้อ  ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาบริษัทสามารถทำสถิติกำไรสูงขึ้นต่อเนื่อง ใน 9 เดือน ปี 2562 มีกำไรใกล้เคียงทั้งปี 2561 ไปแล้ว

            นอกจากนี้มี บริษัท ชโย กรุ๊ป  จำกัด (มหาชน) หรือ CHAYO  ดำเนินธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพเป็นหลัก ซึ่งในปี 2562 ได้ซื้อพอร์ตหนี้เข้ามาบริหารเพิ่มเติมทำให้มีมูลค่า  42,173 ล้านบาท  ซึ่งกว่า 95 % เป็นหนี้ไม่มีหลักประกันเช่นเดียวกับ JMT 

            ด้าน BAM  ในฐานะเบอร์ 1 ในธุรกิจที่มีพอร์ตลูกหนี้สูงถึง  4.6 แสนล้านบาท  มีสัดส่วนมาร์เก็ตแชร์ในตลาดจากสินทรัพย์มากถึง 47 %   หลังจากได้รับเงินไอพีโอ กว่า 8,000 ล้านบาท เตรียมจะซื้อพอร์ตหนี้เข้ามาเพิ่มอีก ไม่ต่ำกว่า 12,000 ล้านบาทในปีนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นหนี้ที่มีหลักประกัน

            โดยตัวเลข ปี 2562 บริษัทมีลูกหนี้สินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์มากที่สุดถึง 90 %  และมีมูลค่าสินทรัพย์ที่เตรียมรอขายอีกในกลุ่มโรงแรม ที่อยู่อาศัย  และอาคารพาณิชย์ ทำให้มีโอกาสได้รายได้ในส่วนนี้ตามไปด้วย

            นอกจากจุดเด่นของธุรกิจแล้ว ด้านการลงทุน BAM น่าสนใจไม่น้อย เพราะในช่วงแรก ราคาหุ้นยังไม่ไหนไม่ได้ไกล ซึ่งบริษัทเตรียมจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Greenshoe) ไว้รองรับ 230 ล้านหุ้นหากราคาหุ้นลงมาต่ำจอง    เพราะนักลงทุนที่เข้ามาถือหุ้น 10 อันดับแรก ล้วนแต่เป็นกองทุนและสถาบันเป็นหลัก ซึ่งการกระจายหุ้นไอพีโอมีรายย่อยเพียง 27 % 

            ด้านนักลงทุนรายย่อยเรียกได้ว่ามองข้ามหุ้นตัวนี้ในช่วงแรก  รวมทั้งรอซื้อในช่วงต่ำกว่าไอพีโอ จากการเติบโตไม่ได้หวือหวา แม้ธุรกิจจะมั่นคงก็ตาม หลังจากปี 2563  เริ่มมีความเคลื่อนไหวของ BAM ออกมาดึงความสนใจนักลงทุนรายยย่อยหลังกองทุน เข้าเก็บหุ้น BAM เข้าพอร์ตเพิ่มขึ้น

            สินทรัพย์หนี้เสียก้อนใหญ่ขายให้กับกลุ่มค้าปลีก โดย บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ซื้อที่ดิน 616 ไร่ ย่านรังสิต ติดถนนพหลโยธินตรงข้ามโรงกษาปณ์ เพิ่มเติมอีก  145 ไร่ มูลค่า 1,500 ล้านบาท  เมื่อช่วงปลายปีก่อน

            ขณะช่วงหมดกรีนชูหมด BAM ได้แจ้งต่อตลาดถึงความคืบหน้าในการรจัดหาหุ้นส่วนเกินในช่วงราคาต่ำจองเพียง 12.96 ล้านหุ้น  ทำให้ต้องมีการเพิ่มทุนในหุ้นดังกล่าว ที่ราคา IPO 17.50 บาท จำนวน 217.04 ล้านหุ้น ตามที่ขอหุ้นกรีนซูไว้  เพื่อทำการส่งมอบคืนให้แก่กองทุนฟื้นฟู ฯ ในฐานผู้ถือหุ้นใหญ่ ผลที่ตามมาคือจำนวนหุ้นในกระดานที่เพิ่มขึ้น และ Dilute ต่อราคาหุ้น ตามหลักราคาหุ้นควรจะมีการปรับตัวลงแต่ดูเหมือนปัจจัยดังกล่าวนักลงทุนรับรู้และยังให้มูลค่าหุ้น BAM บวกต่อไปได้อีก