จับตา 3 เจ้าสัวใหญ่ไทย รุกฆาตพลิกเกมค้าปลีก

จับตา 3 เจ้าสัวใหญ่ไทย  รุกฆาตพลิกเกมค้าปลีก

วงการค้าปลีกของไทยเรียกได้ว่ามีแต่ระดับเจ้าสัว มหาเศรษฐีที่หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมาชิงกันเพียงไม่กี่ราย   เนื่องจากธุรกิจนี้ใช้เงินจำนวนมากจากการขยายสาขาทำให้มีมูลค่าสินทรัพย์ค่อนข้างสูง และรายใหม่ยากที่จะแข่งขันหากต้องเริ่มนับหนึ่ง

            เมื่อกลุ่มเทสโก้ โลตัสที่อังกฤษต้องการขายสินทรัพย์ในไทยและมาเลเซีย ซึ่งราคาประมูลตัวเลขสูงถึง 9,000 ล้านดอลลาร์  หรือราว 2-3 แสนล้านบาท จะกลายเป็นดีลที่ประมูลขายกิจการที่ทุบสถิติครั้งใหม่ทันที  ซึ่งจะมีการเปิดให้ประมูลรอบแรกวันที่ 15 ม.ค. นี้

            ที่ผ่านมาสื่อต่างชาติระบุรายชื่อผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลของไทยทั้งที่เปิดเผย ปฎิเสธ  สงวนท่าที หรือไม่เคลื่อนไหวใดๆ เลย แต่เรียกความน่าสนใจได้มาก เพราะประกอบไปด้วย บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ของกลุ่มเซ็นทรัล

           กลุ่มเซ็นทรัลเคยทุ่มเงินซื้อรีเทลครั้งใหญ่ในต่างประเทศห้าง ลารีน่าเซนเต ที่อิตาลี ปี 2554 ด้วยการประมูลแข่งกับเจ้าผู้ถือหุ้นรายอื่นมูลค่า 11,300 ล้านบาท    และในปี 2561 ทุ่มเงินปิดดีลซื้อที่ดินสถานฑูต อังกฤษมาพัฒนาเป็นมิกซ์ยูสมูลค่า 18,000 ล้านบาท 

           การขายธุรกิจค้าปลีกอื่นผ่าน ซุปเปอร์มาร์เก็ต ‘TOPS’  การจับมือกับญี่ปุ่นเพื่อบริหารและขยายสาขาคอนวิเนียนสโตส์ ‘ Family Mart’  และยังร่วมงานกับบริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นเทสโก้ โลตัสในไทย ร่วมบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ และร่วมกันตั้งบริษัท ซินเนอร์-จีสติก พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด อีกด้วย

          ด้านบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ของกลุ่มเครือซีพี   เจ้าบุญทุ่มปี 2556 ประมูลซื้อ แม็คโคร ด้วยมูลค่า 188,880 ล้านบาท ด้วยการใช้เงินสดเพียงแค่ 10 %  ทำให้ CPALL แบกหนี้เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า เพื่อเพิ่มธุรกิจศูนย์สินค้าส่งจากที่มีร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟ หมื่นกว่าสาขาในมืออยู่แล้ว

           และรายที่สาม บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC  ของกลุ่มทีซีซี  ที่เคยทำทำลายสถิติสูงสุดซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต  บิ๊กซี ในไทย มูลค่า 220,000 ล้านบาท  ในปี 2559  ด้วยการใช้เงินกู้ 100 % เพื่อต่อจิ๊กซอให้กับธุรกิจปลายน้ำ จากที่ก่อนหน้านี้ไล่ซื้อธุรกิจ ต้นน้ำอาหารเครื่องดื่ม และธุรกิจกลางน้ำอย่างโลจิสติกมาแล้ว

           รายสุดท้ายยังพ่วงรายชื่อ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ของกลุ่ม ปตท. จะเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ด้วย  แต่ล่าสุดท่าทีของซีอีโอของปตท. ยืนยันหนักแน่นระบุว่าไม่เป็นความจริง ว่า OR จะเข้าไปร่วมประมูลซื้อกิจการในครั้งนี้ เนื่องจากไม่สอดคล้องกับธุรกิจที่ดำเนินการและไม่ใช่ยุทธศาสตร์ของกลุ่ม

       

ปัจจุบันยังไม่มีใครออกมาปฎิเสธชัดเจนว่าจะเข้าร่วมหรือไม่  จึงทำให้เป็นที่จับตามองว่ารายชื่อไหนจะเสนอราคาประมูลในครั้งนี้   ซึ่งหาก 1 ใน 3 รายเข้าร่วมประมูลจริงและสู้ราคาจะเป็นการเปลี่ยนแปลงธุรกิจค้าปลีกในไทยครั้งใหญ่

         ด้วย เทสโก้ โลตัส มีสาขาจำนวนมากที่สุดในกลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ต  1,900 สาขา ใน 73 จังหวัด เข้าถึงกลุ่มลูกค้า 15 ล้านคนต่อสัปดาห์ ยังหมายถึงสินทรัพย์ประเภทที่ดินทั่วประทเศจำนวนมาก  รวมไปถึงการเติบโตเชิงยอดขายซึ่งในไทยเป็นอันดับต้นๆ ของเทสโก้ โลตัส ทั่วโลก

          ปัจจุบัน ใน 3 รายหากได้เทสโก้ โลตัสไปเป็นเรื่องหนักใจสำหรับนักลงทุนเพราะมูลค่าประมูลที่สูงถึงขั้นแพงมหาศาล  แต่ในด้านธุรกิจคือการตัดหน้าคู่แข่งทันที เพราะมีขึ้นมามีอำนาจต่อรองอย่างเด็ดขาด ทำให้มีการพูดถึงกรณีนี้ต้องผ่านการขออนุญาตจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ก่อน

         อย่างไรก็ตาม 3 ทุนใหญ่ที่ปรากฎชื่อยังมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างตลกร้ายไม่น้อย จากเซ็นทรัลก่อตั้งบิ๊กซีในไทย ปี 2536 แต่ต้องขายหุ้นส่วนใหญ่ให้ กลุ่มคาสิโน ฝรั่งเศส เหลือไว้ 25 %   จน ปี 2559 กลุ่มทีซีซีเข้ามาซื้อต่อชนะกลุ่มเซ็นทรัลไป   ทำให้กลุ่มเซ็นทรัล ขายหุ้นที่เหลือพร้อมรับเงิน 5 หมื่นล้านบาทเพื่อไปซื้อบิ๊กซีที่เวียดนาม

         ขณะที่ กลุ่มซีพี ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง เทสโก้ โลตัส  ปี 2537 และได้ขายให้กับกลุ่มเทสโก้โลตัส อังกฤษไปจนหมด ซึ่งในรอบนี้การประมูลจะเป็นการดึงค้าปลีกกลับมาอยู่ในมือทุนไทยหรือไม่และจะเป็นของเจ้าสัวรายไหนล้วนแต่ทำให้การแข่งขันระดับอาเซียนผลิกโฉมได้แน่นอน

157908208590