สทนช. ล่องใต้ดูการบริหารจัดการน้ำชุมชน 'พัทลุง-สงขลา'

สทนช. ล่องใต้ดูการบริหารจัดการน้ำชุมชน 'พัทลุง-สงขลา'

สทนช. ล่องใต้ ติดตามการบริหารจัดการน้ำชุมชนหนุน “ธนาคารน้ำ” อนุรักษ์ระดับน้ำของชุมชนตะโหมด จ.พัทลุง-“ฝ่ายดักขยะ” การจัดการคุณภาพน้ำของชุมชนคลองแห จ.สงขลา

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช) พร้อมคณะลงพื้นที่ภาคใต้เพื่อติดตามโครงการศึกษาการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พร้อมเยี่ยมชมการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอนุรักษ์งำดันน้ำ โดยชุมชนตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง และการปริหารจัดการคุณภาพน้ำ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ โดยชุมชนคลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช) กล่าวว่า ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นลุ่มน้ำแห่งเดียวของประเทศไทย ที่มีระบบทะเลสาบแบบลาน (Lagon) ขนาดใหญ่ เป็นแอ่งรองรับน้ำจืดที่มาจากน้ำฝน น้ำคลอง และน้ำหลากจากแผ่นดิน รวมทั้งมีน้ำเค็มจากทะเลไหลเข้ามาผสมผสานด้วยมีเนื้อที่ 8.563 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดพัทลุง พื้นที่บางส่วนของอำเภอชะอวดและอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช และพื้นที่ในจังหวัดสงขลา ยกเว้นอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะย้อย ปัญหาที่สำคัญของทะเลสาบสงขลา ประกอบด้วย 1.ปัญหาด้านน้ำ เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง คุณภาพน้ำน้ำเค็ม/น้ำเสีย 2ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาตะกอน การตื้นเขินของทะเลสาบ การบุกรุกป่าต้นน้ำ การอนุรักษ์สัตว์น้ำ และ 3.ปัญหาบริหารจัดการ/องค์กร โดยมีความชัดแย้งในพื้นที่ รวมถึงปัญหาตันกฎระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

"สทนช. ได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ที่ควบคู่กับการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ โดยดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและบรรเทาอุทกภัยทะเลสาบสขลา มุ่งนั้นการศึกษาปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยเป็นหลัก นั้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ปรับประยุกต์จากการใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาแบบบนลงล่าง (Top-Down) คือ การกำหนดนโยบายจากหน่วยงานของรัฐ ร่วมกับแนวทางแก้ไขปัญหาแบบลำงขึ้นบน(bottom-up) คือประชาชนเป็นผู้ร่วมกำหนดทิศทางนโยบาย และกระบวนการในกาพัฒนาโดยตรง เพื่อให้สมารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งแนวทางการพัฒนา แผนหลักแผนปฏิบัติการและแนวทางการบริหารจะพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบของหน่วยงานต่าง ๆ

ทั้งนี้ สทนช. ได้ให้ความสำคัญกับแนวทางแก้ปัญหาและการบริหารจัดการน้ำที่เกิดจากแนวคิดของภาคประชาชน ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับว่าเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ซึ่งมีบริบทต่างกัน ทำให้อาจต้องปรับรายละเอียดในการแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับพื้นที่ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียง เพื่อให้เกิดลักษณะการพัฒนาแก้ปัญหาบริหารจัดการน้ำที่สอดคล้องกัน ตั้งแต่ตันน้ำถึงปลายน้ำแต่ไม่ใช่การย้ายปัญหาไปจุดอื่น" เลขาธิการ สทนช. กล่าว

ในส่วนการบริหารจัดการคุณภาพน้ำเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ โดยชุมชนคลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นความร่วมมือกันของภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรม เกิดการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายจัดการน้ำเสียและขยะของวัดคลองแห ชุมชนคลองแห และเครือข่ายรักษ์คลองอู่ตะเภา เพื่อร่วมจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำของคลองอู่ตะเภา ตั้งแต่ต้นน้ำใน อ.สะเดา ที่มีเครือข่ายโรงงานธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม โดยเป็นการทำงานร่วมกับชุมชนในการเฝ้าระวังและอนุรักษ์คลองอู่ตะเภามาถึงคลองแห ซึ่งเป็นคลองย่อยหนึ่งของคลองอู่ตะเภา ที่เคยประสบปัญหาน้ำเสียและขยะจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เครือข่ายเกิดการรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาพัฒนาฟื้นฟูคลองแหให้กลับมาสะอาดและมีสภาพน้ำที่ดีขึ้น 

โดยนำแนวคิดเรื่องฝ่ายดักขยะมาบริหารจัดการ อีกทั้ง ยังจัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นคุณค่าทรัพยากรน้ำในพื้นที่ และจากความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในชุมชนคลองแหและเครือข่ายรักษ์คลองอู่ตะเภา ทำให้ปัจจุบันคุณภาพน้ำในพื้นที่โดยรอบดีขึ้น ส่งผลให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยนอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมชุมชนให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ รองรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่โดยรอบ โดยฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวชาวจีน มาเลเซีย และไทย ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากความพยายามร่วมแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำและการบริหารจัดการน้ำของคนในชุมชน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย