KTC - ขาย

KTC - ขาย

ประมาณการกำไรปี 4Q62 จะอ่อนแอ

Event

ประมาณการ 4Q62F

lmpact

คาดว่ากำไรสุทธิใน 4Q62 จะอยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท (-3% QoQ, +5% YoY) และปี 2562 จะโต 7%

เราคาดว่าผลประกอบการของ KTC จะอ่อนแอเนื่องจากยังต้องกันสำรองหนี้เสียในระดับสูง (เท่ากับใน 3Q62) ในขณะที่รายได้จากการติดตามหนี้เสียก็ยังอ่อนแอ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก็เพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายด้านการตลาดตามฤดูกาล และค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ในขณะเดียวกัน เราคาดว่าสินเชื่อจะฟื้น
ตัวขึ้นเนื่องจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาลในไตรมาสที่สี่ โดยเราใช้สมมติฐานการเติบโตที่ 8% YoY ในปี 2562

คุณภาพสินทรัพย์น่าห่วง

จากที่ AEONTS เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า NPL เพิ่มขึ้นอย่างมากเป็น 3.5% และทำให้ต้องกันสำรองเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง +12% QoQ และ +27% YoY ใน 3Q62 (ปีงบประมาณของบริษัทสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์) และ +26% ในงวด 9M62 เรามองว่า NPL และการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นของ AEONTS บ่งบอกว่าคุณภาพสินทรัพย์ของสินเชื่อผู้บริโภคระดับล่างแย่ลง อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก KTC เน้นที่ลูกค้าระดับกลาง เราจึงคิดว่า KTC อยู่ในสถานะที่ดีกว่า AEONTS โดยเราคาดว่าจะตั้งสำรองในระดับเท่าเดิมเพื่อรักษาระดับสัดส่วน NPL

ธุรกิจใหม่ – ค่าใช้จ่ายจะเกิดขึ้นก่อน แต่รายได้จะตามหลังมาในอีก 1-2 ปี

KTC มีแผนจะเริ่มธุรกิจการปล่อยกู้แบบใหม่ (อย่างเช่น Pico Finance, car for cash หรือสินเชื่อจำนำทะเบียน) เพื่อหาอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากกลุ่มลูกค้าที่ความเสี่ยงสูงขึ้น โดยในเบื้องต้น บริษัทตั้งเป้าจะปล่อยกู้แบบใหม่ประมาณ 1.5 พันล้านบาท ซึ่งสัดส่วนรายได้สุทธิจากสินเชื่อใหม่นี้จะยังไม่มากอย่างมีนัยสำคัญในปี 2563 เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายการตลาด แต่ CEO คาดว่าสัดส่วนรายได้สุทธิจะใหญ่ขึ้นในปี 2564 ซึ่งมุมมองของบริษัทดังกล่าวชี้ว่าประมาณการกำไรปี 2563-64 ของเรายังมี downside อีก

แนะนำขาย และคงราคาเป้าหมายปี 2563F ที่ 36 บาท (P/E 15.5x)

การที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างยืดเยื้อจะส่งผลกระทบกับรายได้จากการติดตามหนี้เสีย และอาจจะทำให้ต้องตั้งสำรองเพิ่ม ในขณะที่การแข่งขันจากธนาคารใหญ่ก็จะกระทบกับแนวโน้มการขยายสินเชื่อของ KTC ทั้งนี้ เนื่องจากเราคาดว่ากำไรของ KTC จะโตในระดับต่ำ ดังนั้น เราจึงยังคงคำแนะนำ ขาย และให้ราคาเป้าหมายปี 2563F ที่ 36 บาท (P/E 15.5x เท่ากับค่าเฉลี่ยระยะยาว +1.5 S.D.)

Risks

การแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้นกดดันให้ค่าใช้จ่ายด้านการตลาดเพิ่มขึ้น, มีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ของทางการเพื่อคุมการเติบโตของสินเชื่อผู้บริโภค