ขาขึ้นค่าเงินเอเชียฉุดขีดแข่งขันส่งออก

ขาขึ้นค่าเงินเอเชียฉุดขีดแข่งขันส่งออก

ค่าเงินสกุลเอเชียส่วนใหญ่แข็งค่าตั้งแต่ปลายปีที่แล้วต่อต้นปีและคาดว่าทั้งปีนี้ค่าเงินเอเชียจะอยู่ในช่วงขาขึ้นจากปัจจัยหนุนหลักๆคือความเสี่ยงทางเศรษฐกิจโลกเริ่มลดลง ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนมีแนวโน้มดีขึ้นทำให้ความเชื่อมั่นนักลงทุนกลับคืนมา

สกุลเงินต่างๆ ของประเทศในเอเชียที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ อาจส่งผลร้ายต่อการส่งออกของเอเชีย ทำให้บริษัทส่งออกในเอเชียรวมทั้งในประเทศไทยมีส่วนต่างผลกำไรลดลงจากการส่งสินค้าไปขายในตลาดโลก

สกุลเงินหลายประเทศในเอเชียมีค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา รวมถึงเงินเยนญี่ปุ่น เงินริงกิตของมาเลเซีย เงินรูเปียะห์ของอินโดนีเซีย เงินดอลลาร์สิงคโปร์และเงินบาทไทย โดยสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินต่างๆในเอเชียแข็งขึ้นนั้น เป็นเพราะเศรษฐกิจของหลายประเทศในเอเชียฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ในขณะเดียวกัน ประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐและหลายประเทศในยุโรปยังคงประสบปัญหาเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างล่าช้า

เฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงนี้มีเงินทุนหลั่งไหลเข้ามามากมาย ขณะที่ผลผลิตโดยรวมเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเตือนว่าการที่สกุลเงินในเอเชียแข็งค่าขึ้นกำลังส่งผลด้านลบต่อภาคการส่งออกของเอเชีย เนื่องจากที่ผ่านมาหลายประเทศในเอเชียพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักในการกระตุ้นการเจริญเติบโต อาศัยความได้เปรียบจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ต่ำกว่า

157887382613

แต่ข้อได้เปรียบที่ว่านี้กำลังหายไปเพราะค่าเงินที่แข็งขึ้น ส่งผลให้สินค้าที่ส่งไปขายในต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น ประกอบกับการที่ตลาดสำคัญๆคือประเทศพัฒนาแล้วยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ปัญหาของบรรดาผู้ส่งออกจึงเริ่มปรากฎชัดเจนขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นตรงกันว่า ประเทศต่างๆในเอเชียจะเผชิญการแข่งขันรุนแรงขึ้น และหากอัตราแลกเปลี่ยนยังคงสูงแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ต่อผู้ส่งออกได้

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ระบุว่า การไหลเข้าของเงินทุนและการลงทุนคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ และภาคการส่งออกของไทยก็ชะลอตัวลง หลังจากที่เติบโตอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องเผชิญการแข่งขันจากประเทศคู่แข่งสำคัญอย่างเช่นเวียดนาม

บรรดานักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ คาดการณ์ว่าภาคการส่งออกของหลายประเทศในเอเชียที่สกุลเงินแข็งค่า ต้องเจอปัญหาส่วนต่างของผลกำไรลดลงในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า จากนั้นอาจจะเจอปัญหาการว่างงานและอัตราการเจริญเติบโตที่อาจลดลงทั่วเอเชีย

ส่วนเงินหยวน ที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น อาจทำให้ค่าเงินในภูมิภาคโดยรวม ซึ่งรวมถึงเงินบาทของไทยพลอยแข็งค่าตามไปด้วย เนื่องจากนับจากนี้ไป สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนมีแนวโน้มลดความร้อนแรงลง ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในระดับโลกปรับตัวดีขึ้น จึงทำให้เงินหยวน มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ประกอบกับเสถียรภาพของไทยที่แข็งแกร่ง ยิ่งเพิ่มโอกาสให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อไปอีกในปีนี้

ปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจทั่วโลกลดลง ทำให้เกิดแนวโน้มเงินทุนเคลื่อนย้าย ไหลกลับเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย รวมทั้งไทยเพิ่มขึ้น ขณะที่กรณีเบร็กซิทหลังพรรคอนุรักษ์นิยมชนะเลือกตั้ง ทำให้ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกปี2563ลดลง ความเชื่อมั่นนักลงทุนจึงเพิ่มขึ้น และมีเงินทุนไหลเข้าสู่เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่

สิงคโปร์ รับมือกับปัญหาเงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าด้วยการดำเนินมาตรการผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน ถือเป็นการลดค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์อยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1.37 ดอลลาร์สิงคโปร์ในขณะนี้

สิงคโปร์ ใช้ระบบตะกร้าเงินเพื่อกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน เป็นเครื่องมือหลักในการสร้างความสมดุลระหว่างอัตราเงินเฟ้อจากต่างประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งการทำให้สกลุเงินอ่อนค่าลงจะช่วยส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจภายในประเทศ เนื่องจากสินค้านำเข้าจะมีราคาสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็เพิ่มอุปสงค์ของสินค้าและบริการในสิงคโปร์มากขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจการท่องเที่ยวของสิงคโปร์

157887383623

ธนาคารกลางของสิงคโปร์ คาดการณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้นในระดับปานกลางในปีนี้ แม้ว่าระดับของภาคการผลิตภายในประเทศจะยังคงต่ำกว่าศักยภาพ

ขณะที่รายงานวิเคราะห์จากราโบแบงก์ คาดการณ์ว่า สุกลเงินรูปีของอินเดียจะเป็นสกุลเงินเอเชียที่ปรับตัวดีที่สุดในปีนี้ สวนทางนักวิเคราะห์จากหลายสำนักที่คาดการณ์ว่ารูปีจะยังคงอ่อนค่าลงต่อไป

“ฮิวโก เออร์เคน” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศของราโบแบงก์ ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจอินเดียผ่านพ้นช่วงย่ำแย่ที่สุดแล้ว และเจ้าหน้าที่ของอินเดียก็ไม่มีแนวโน้มที่จะใช้การอ่อนค่าของรูปีเพื่อผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

“เศรษฐกิจอินเดียได้เผชิญความเจ็บปวดทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มาแล้วในปีที่แล้ว ขณะที่ประเทศอื่นๆในเอเชียยังอาจมีโอกาสพบกับวิกฤตการณ์ที่ไม่คาดคิด” เออร์เคน กล่าว

เออร์เคน คาดการณ์ว่า รูปีอาจอ่อนค่าลงไม่ถึง 1% ในปีนี้ ขณะที่รูเปียะห์ของอินโดนีเซีย อาจร่วงลง 7% ส่วนเงินบาทของไทยอาจดิ่งลง 11% และริงกิตของมาเลเซีย อาจปรับตัวลง 9%

เออร์เคน ยังมองว่า การที่นักลงทุนคลายความวิตกเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและอิหร่านจะเป็นปัจจัยหนุนให้รูปีฟื้นตัวขึ้น

เย่ก็เหมือนกับชาวจีนผู้รักชาติอีกหลายคนที่มองว่า การลงทุนบีอาร์ไอของจีนในสีหนุวิลล์ทำให้พวกเขายังคงมีความหวัง

“เราจะอยู่ต่อและหาทางดูแลตัวเอง จะให้กลับไปจีนก็ลำบากแม้จะมั่นคงแต่ก็นิ่งๆ” เย่กล่าวและว่าเขาชวนญาติมาอยู่กัมพูชาด้วยกัน