วันเด็ก...ชวนเด็กรักษ์โลก

วันเด็ก...ชวนเด็กรักษ์โลก

วันเด็ก...ปีนี้ พวกผู้ใหญ่ชวนปลุกกระแส “รักษ์โลก” ไม่เพียงชวนเด็กเที่ยวห้าง ไปสวนสนุก เที่ยวทะเล เล่นสวนน้ำ หรือนั่งเก้าอี้นายกฯ เด็กยุคใหม่แห่งปี 2563 จะผุดจิตสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อม และมีส่วนช่วยจัดการกับ “ขยะ” ปัญหาระดับโลก

          เด็กกับสองมือน้อย ๆ ของพวกเขา สามารถช่วยดูแลโลกหรือมีแรงบันดาลใจรักษาสิ่งแวดล้อม กับกิจกรรมสร้างสวรรค์ในช่วงเทศกาลวันเด็ก โดย ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม และ ดิ เอ็มควอเทียร์ ร่วมกับบัตรเครดิตไทยพาณิชย์ เอสซีบี เอ็ม วีซ่ า (SCB M VISA) และ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จัดงาน เอ็มโพเรียม & เอ็มควอเทียร์ ซูเปอร์คิดส์ เซฟ เดอะ แพลนเน็ท 2020 (EMPORIUM & EMQUARTIER SUPER KIDS SAVE THE PLANET 2020)  ระหว่างวันที่ 9 - 12 มกราคม 2563

157867997071

          คุณสุธาวดี ศิริธนชัย รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม และ ดิ เอ็มควอเทียร์ บอกว่า “กิจกรรมวันเด็กปีนี้ เน้นการส่งเสริมการเรียนรู้นอกตาราเรียน พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียน เสริมสร้างจินตนาการ และทักษะด้านต่าง ๆ ให้เด็กไทยมี 7Qs พาน้อง ๆ ไปสัมผัสธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ สติปัญญาได้ 7Qs ครบจบในงานเดียว และยังเป็นช่วงเวลาที่พ่อ แม่ ลูก และทุกคนในครอบครัวสามารถใช้เวลาร่วมกันอย่างมีความสุข เพื่อเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศในอนาคต”

157868000437

        สุธาวดี ศิริธนชัย 

        น้อง ๆ จะ “สัมผัสธรรมชาติ” จากกิจกรรมไฮไลต์ ได้แก่ Amazing Aquartics มหัศจรรย์จากใต้ท้องทะเล โดยไม่ต้องไปถึงอะควาเรียมริมทะเล เด็ก ๆ ก็จะได้ชมแมงกะพรุนหลากหลายสายพันธุ์อย่างใกล้ชิด 

          ดร.อดิสรณ์ มนต์วิเศษ รองผอ.การฝ่ายวิชาการ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา บอกว่า

          “งานวันเด็กปีนี้ เด็ก ๆ จะได้รู้เรื่องสัตว์ทะเล สำคัญอย่างไร ชนิดไหนใกล้สูญพันธุ์ เรื่องมลพิษและปัญหาขยะในทะเล เช่น ขยะมาจากไหน แยกเป็นประเภทไหนบ้าง รวมถึงการท่องเที่ยวทางทะเลควรปฏิบัติตัวอย่างไร นำเสนอในรูปแบบนิทรรศการ และมีสัตว์ทะเลเป็น ๆ นำมาจัดแสดงในตู้ พร้อมเอกสารให้ความรู้ มีของที่ระลึกและเล่นเกมต่าง ๆ

157868005427

            ดร.อดิสรณ์ มนต์วิเศษ  

         ไฮไลต์คือแมงกะพรุน นำมาจัดแสดงด้วย เช่นที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เรามีตู้แสดงแมงกะพรุนหลากหลายชนิด ก็จะนำมาให้เด็ก ๆ ชม จะตื่นตาตื่นใจเมื่อได้เห็นแมงกะพรุนจริง ๆ เพราะในทะเลบางทีเราก็ไม่ได้เห็นมันชัด ๆ หรือไปดำน้ำเมื่อเจอแมงกะพรุน ก็จะเป็นอันตรายหากไปสัมผัสตัวมันเข้า แมงกะพรุนเป็นสัตว์ทะเลจำพวกเดียวกับปะการัง กัลปังหา และดอกไม้ทะเล มีอายุสั้น ไม่กี่เดือนก็ตาย ลักษณะส่วนใหญ่เป็นวุ้น มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 90% เราจะนำแมงกะพรุนมาให้ชม ให้รู้จักว่าส่วนนี้เป็นร่ม หนวด ชนิดไหนมีพิษร้ายแรง ความจริงแมงกะพรุนไม่มีสี แต่ในอะควาเรียมที่เห็นมีแสงจากแสงไฟ ส่วนบางชนิดที่เราเห็นเป็นสี ๆ เนื่องจากมีสาหร่ายชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในชั้นเนื้อเยื่อของแมงกะพรุน สาหร่ายจะสร้างอาหารซึ่งส่วนหนึ่งจะถูกดูดซึมไปใช้ จึงทำให้แมงกะพรุนมีสีเขียวบ้าง แดง หรือสีชมพู ขึ้นอยู่กับสาหร่ายชนิดนั้น ๆ ยังมีแมงกะพรุนที่เห็นเป็นสีน้ำตาลเข้ม ๆ เป็นสีที่หนวด พวกนี้อันตรายโดยเฉพาะแมงกะพรุนกล่อง หรือ Box jellyfish บางคนเรียก “ตัวแตนทะเล” มีพิษร้าย โดนแล้วถึงตาย สาเหตุที่ตายไม่ใช่จากพิษที่ตายเหมือนถูกงูกัด แต่เมื่อถูกพิษส่งผลให้ระบบประสาท ระบบหายใจ มีปัญหา ก็จะจมน้ำ ถ้าอยู่บนบกก็ช่วยส่งโรงพยาบาลได้ทัน พิษพวกนี้เหมือนโดนแล้วจะเหมือนถูกไฟช็อต ส่งผลให้ว่ายน้ำไม่ได้ก็จมน้ำตาย”

          เด็ก ๆ จะเห็นแมงกะพรุนตัวเป็น ๆ ลอยพลิ้วไหวตามสายน้ำ จินตนาการถึงความสวยงามเมื่ออยู่ในท้องทะเล แมงกะพรุน เป็นสัตว์ทะเลในระบบนิเวศ แม้ประโยชน์ไม่ชัดเจนนักแต่อยู่ในห่วงโซ่อาหาร

157868009731

     แสดงการให้อาหารปลา ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ บางแสน

     “สัตว์ทะเลทุกชนิดมีความสำคัญไม่น้อยก็มากในห่วงโซ่อาหาร แมงกะพรุนกินสัตว์บางตัวในห่วงโซ่อาหารแต่ไม่ได้มีผลกระทบโดยตรง หรือกินปลาขนาดเล็ก ในขณะที่ปลาบางชนิดก็อาศัยอยู่ในหนวดแมงกะพรุนได้ อย่างดอกไม้ทะเลกับปลาการ์ตูน แมงกะพรุนเป็นอาหารของเต่า เมื่อเต่าโตขึ้นจะกินแมงกะพรุน โลมาก็กิน เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อาหาร ผลกระทบอีกอย่างถ้าแมงกะพรุนมีมากเกินไปคือจะเข้าไปติดในอวนชาวประมง เวลากู้อวนมาเมื่อไปถูกมันเข้าก็จะคัน หรือนักท่องเที่ยวเมื่อดำน้ำไปถูกมันเข้า แต่บางชนิดชาวบ้านก็ชอบถ้าเจอเยอะ ๆ เช่น แมงกะพรุนหนังที่เอามาทำอาหารได้”

157868014257

      รู้จักแมงกะพรุนแล้ว เด็ก ๆ ก็สามารถเข้าใจได้ว่า ทำไมเต่าทะเล พะยูน โลมา จนถึงสัตว์ทะเลชนิดอื่น ๆ มี “พลาสติก” เข้าไปอยู่ในท้องเพราะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแมงกะพรุน สัตว์บกอย่างกวาง นก ก็เผลอกินขยะพลาสติกคิดว่าเป็นอาหาร พลาสติกจึงกลายเป็นจำเลยของโลก ดร.อดิสรณ์ ให้มุมมองว่า

     “ขยะทะเล เป็นปัญหาที่น่าวิตกที่สุด เป็นปัญหาระดับโลก ปีที่ผ่านมากรมทรัพยากรทางทะเลและกรมประมง จะมุ่งไปที่ขยะทะเล ซึ่งถูกทิ้งมาแล้วก็จะไหลไปสู่แม่น้ำ สู่ทะเล และมีสารพัดอย่าง เวลาพลาสติกลงไปทะเลมันก็จะเหมือนอาหาร พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เต่า วาฬ โลมา จะคิดว่ากินได้ ผมเคยเห็นเต่ากินหลอดพลาสติกด้วยนะ วาฬนำร่องก็กิน พอกินแล้วก็ไม่ย่อย ไปอุดตันทางเดินอาหารแล้วก็ตายในที่สุด จริง ๆ แล้วคือปลายเหตุ เพราะขยะเริ่มจากบนบกก่อน ส่วนขยะที่เกิดจากในเรือ และการประมงก็มีส่วน อวนต่าง ๆ ที่ใช้เมื่อขาดเขาก็โยนลงทะเล สัตว์ทะเลไปติดก็จะว่ายน้ำไม่ได้ หรือขยะอันเกิดจากการท่องเที่ยวทางทะเลก็เยอะ ในกิจกรรมครั้งนี้ก็จะจัดแสดงให้เห็นถึงปัญหาขยะในทะเลด้วย

157868079239

      ปัจจุบัน ขยะเป็นปัญหาใหญ่ ส่งผลให้หลายหน่วยงานทำซีเอสอาร์กับเทศบาลและกับเราเรื่องเก็บขยะ แม้ว่าการเก็บขยะตามชายหาดเป็นเรื่องปลายเหตุ แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีคนทำเลย ผมว่าต้องปลุกจิตสำนึกโดยเริ่มตั้งแต่เด็ก ๆ เลยว่า ขยะมาจากไหน แก้ยังไง ดังนั้นการให้ความรู้กับเด็ก การใช้ การทิ้ง และรณรงค์ต่อว่าใช้แล้วทิ้งหรือกำจัดอย่างไร ปัญหาคือเลิกใช้ยาก แต่อยากให้รณรงค์เรื่องเอามาแปรรูปด้วย เช่นมีบางองค์กรเน้นเอาขยะไปแปรรูปทำอิฐบล็อกปูพื้นวัด หรือเอามาทำอย่างอื่นให้เกิดประโยชน์”

      ไฮไลต์แมงกะพรุน จัดแสดงในโซน Wildlife & Nature at Helix Garden ชั้น 5 ดิ เอ็มควอเทียร์ ชมแมงกะพรุนและสัตว์ทะเลอย่างใกล้ชิด มีอาทิ แมงกะพรุนพระจันทร์, แมงกะพรุนกล่อง, แมงกะพรุนไฟ, ปลาการ์ตูน, ปลาบลูแทงค์, หมึกสาย, ดาวทราย, ดาวทะเล และระยะฟักตัวของไข่ปลาฉลามกบ, ส่องกล้องจุลทรรศน์ศึกษาเข็มพิษและวงจรชีวิตของแมงกะพรุน, ชมสัตว์สตัฟฟ์ เช่น พะยูน เต่ากระ ปลากระเบนเจ้าพระยา และฉลามเสือดาว

157868019392

      ยังมีอีกหนึ่งไฮไลต์ที่จะช่วยปลุกจิตสำนึกรักษ์โลก ที่โซน Innovation Playground จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม นำ รถพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Car) พร้อมตัวแทนจากประเทศไทยที่เคยเข้าแข่งขันระดับโลกในงาน World Solar Challenge มาจัดแสดงให้เด็ก ๆ เรียนรู้แหล่งพลังงานทดแทนเพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ พร้อมสนุกกับการประดิษฐ์รถจิ๋ว (Solar Car Kit) และหุ่นยนต์แสนรู้ที่ออกแบบโดยคนไทย

157868021726

157868070161      

     

    ทุกกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้รักษ์โลก ชมสัตว์ทะเลแล้วที่โซน Wildlife Wonder จัดนิทรรศการเรื่องระบบนิเวศที่สมบูรณ์สำหรับสัตว์ป่าและป่าไม้ ให้เด็ก ๆ รู้จักสัตว์ป่าในธรรมชาติ เช่น เสื้อ ช้าง ตัวนิ่ม พร้อมวิทยากรจากองค์กรพิทักษ์สัตว์ป่า เช่น Wildaid, WWF, B.Grimm มาให้ความรู้

157868024419

     สำหรับเด็กเล็ก ชวนสนุกกับการปั้น SEED BOMB เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ป่า โดยมูลนิธิสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ยังมี SUPER KIDS THEARTER เล่าเรื่องสัตว์และป่าผ่านนิทานเพลง โดยพี่ ๆ จากคณะละครมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภาควิชาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และชมการ์ตูนชื่อดังจาก TOONEE

157868028170

     เจนนิส โสภณพนิช กับ "ตาวิเศษ"

     ในขณะที่บริเวณชั้น G ดิ เอ็มควอเทียร์ จัดโซน ZERO WASTE KIDS  ให้น้อง ๆ เรียนรู้รู้วิธีการ เปลี่ยน โดยเริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ รอบตัว เช่น ปรับเปลี่ยนวิธีการทิ้งขยะ ทิ้งให้ถูกที่ ทิ้งให้ถูกถัง เรียนรู้วิธีการแยกขยะ กับ ตาวิเศษ และโรงเรียนรุ่งอรุณ

     มุมสนุกและเสริมสร้างจินตนาการก็มีใน SUPER KIDS PLAYROOM  บริเวณ QUARTIER GALLERY กับขบวนฮีโร่ตัวจิ๋วและของเล่นจากหลากหลายแบรนด์ (ระหว่างวันที่ 6-15 มกราคม) และฝั่งศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม พื้นที่ EMPORIUM GALLERY จัดกิจกรรม House of Dolls อาณาจักรที่จะทำให้ความฝันของเด็กผู้หญิงเป็นจริง (วันที่ 6 – 15 มกราคม)

     ให้เด็ก ๆ เล่นสนุกอย่างสร้างสรรค์และเรียนรู้รักษ์โลก ให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่คุณภาพ เพื่อดูแลโลกใบน้อยให้อยู่กับมนุษย์โลกต่อไปนาน ๆ... 

 

157868083960

          Ocean Conservancy ระบุว่า ขยะพลาสติกส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลมากกว่า 700 สายพันธุ์ ตั้งแต่แพลงก์ตอนขนาดเล็กมากจนถึงปลาวาฬ ไม่เพียงเท่านั้น นักวิจัยยังพบขยะพลาสติกอยู่ในท้องของนกทะเลถึงกว่า 60% กระทั่งจระเข้ในฟาร์มก็กินฝาพลาสติกจากนักท่องเที่ยวที่โยนลงไปในบ่อ

          ในแต่ละปีมีขยะพลาสติกไหลลงสู่ทะเลกว่า 8 ล้านตัน ในขณะที่อุตสาหกรรมพลาสติกก็ยังเร่งเครื่องผลิตต่อไป นักอนุรักษ์คาดการณ์ว่า ใน 10 ปีข้างหน้า โลกเราจะมีพลาสติกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า นั่นหมายถึงขยะพลาสติกกว่า 250 ล้านตัน จะไปกองกันอยู่ในท้องทะเล และภายใน 32 ปีต่อจากนี้ ขยะพลาสติกจะมีมากกว่าจำนวนปลาในมหาสมุทร !

157868075673

          พลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย แต่คนใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้ง และการทิ้งไม่ถูกทางทำให้สร้างปัญหาขยะ ทางแก้คือ ลด ละ เลิก การใช้พลาสติกหรือใช้เท่าที่จำเป็น จากนั้นเข้าสู่ “ชุมชนรีไซเคิล” อย่างเป็นทางการ ทุกวันนี้มีพลาสติกเพียง 9% ทั่วโลกที่เข้าสู่วงจรรีไซเคิล ดังนั้นหาหนทางนำพลาสติกใช้แล้วเข้าสู่อุตสาหกรรมรีไซเคิล (ให้ได้) ข้อต่อไปคือสนับสนุนองค์กรที่ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทดแทนพลาสติก และเข้าไปมีส่วนร่วม รณรงค์ แก้ไข ปัญหาขยะพลาสติก และสุดท้ายเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี “ไมโครบีดส์” (Microbeads) เม็ดบีดส์คือชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของพลาสติกที่อยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ยาสีฟัน น้ำยาทำความสะอาด ฯลฯ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร และไม่ย่อยสลาย ข้อมูลจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า เมื่อไมโครบีดส์อยู่ในแหล่งน้ำ มันจะดูดซึมสารพิษต่าง ๆ สารเหล่านี้ส่งผลต่อร่างกายโดยไปขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ และเป็นสารก่อมะเร็ง แล้วเมื่อคนใช้มันก็จะไหลลงท่อจากบ้านเรือนลงสู่แหล่งน้ำ และสัตว์น้ำจะกินเข้าไป และสุดท้ายมนุษย์เราก็จะกินสัตว์น้ำเหล่านั้น

157868114673

 

หมายเหตุ : ร่วมส่งน้ำใจช่วยดับไฟป่าที่ประเทศออสเตรเลีย กับขบวนมาสคอทจิงโจ้และโคอาล่าตัวน้อย ที่จะช่้างวยมารับบริจาคเพื่อนำไปช่วยเหลือสัตว์ป่า อาทิ จิงโจ้ โคอาล่า กวาง ฯลฯ ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุุการณ์ไฟไหม้ป่าครั้งรุนแรงที่สุด (สามารถบริจาคได้ในช่วงงานวันเด็ก ที่ห้างสรรพสินค้าดิ เอ็มโพเรียม. ดิ เอ็มควอเทียร์)