กปน. จับมือกรมชลประทาน ลุยปฏิบัติการกระแทกน้ำ “Water Hammer” ครั้งที่ 2 เริ่มคืนนี้

กปน. จับมือกรมชลประทาน ลุยปฏิบัติการกระแทกน้ำ “Water Hammer” ครั้งที่ 2 เริ่มคืนนี้

ทั้งนี้ เพื่อผลักดันลิ่มความเค็มเจ้าพระยา เตรียมรับภาวะน้ำทะเลหนุนสูงสุด 13-14 ม.ค.

นายรักษ์ศักดิ์ สุริยหาร รองผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำ เปิดเผยว่า จากการคาดการณ์ของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ในวันที่ 13-14 มกราคม 2563 จะเกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงสุด 

กรมชลประทาน และ กปน. จะปฏิบัติการ Water Hammer ตั้งแต่คืนนี้ (9 มกราคม) จนถึงเช้ามืดวันที่ 13 มกราคม เพื่อเตรียมรับมือและบรรเทาผลกระทบการรุกของน้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเวลาดังกล่าว 

โดย เมื่อวันที่ 25-26 ธันวาคมที่ผ่านมา กรมชลประทาน และ กปน. ได้ร่วมกันดำเนินการทดลองกระแทกลิ่มความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยวิธี Water Hammer of Chao Phraya River Flow Operation ซึ่งนายรักษ์ศักดิ์อธิบายว่า เป็นการใช้มวลนำ้ที่ปล่อยลงมาจากเขื่อนทั้งหมดไหลกระแทกดันน้ำเค็มออกไปให้ไกลจากแหล่งสูบน้ำดิบ 

โดยในปฏิบัติการครั้งแรกนั้น กปน. ได้หยุดการสูบน้ำดิบเข้าคลองประปาในช่วงเวลาที่น้ำเริ่มลง เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ในขณะที่กรมชลประทาน ปรับแผนการระบายน้ำจากเขื่อนพระรามหก จาก 5 เป็น 15 ลบ.. ต่อวินาที รวมทั้งเปิดประตูน้ำคลองลัดโพธิ์ในช่วงน้ำลงเพื่อเร่งการเคลื่อนตัวลงของน้ำให้เร็วขึ้น และปิดในช่วงเวลาน้ำขึ้น เพื่อชะลอการหนุนของน้ำให้ช้าลง ซึ่งผลการปฏิบัติการดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างดี มวลน้ำที่ระบายออกมาสามารถผลักดันลิ่มความเค็มจากน้ำทะเลหนุนสูง ให้ไกลจากสถานีสูบน้ำดิบสำแล .ปทุมธานี ซึ่งเป็นจุดรับน้ำดิบของ กปน. ถึง 5-6 กิโลเมตร

ภาวะน้ำทะเลหนุนสูงสุดจะเกิดอีกครั้ง ราววันที่ 26-27 มกราคม 2563 ทั้งนี้ ทั้งสองหน่วยงานจะติดตามข้อมูลความเค็มอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมกันหาแนวทางบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด นายรักษ์ศักดิ์กล่าว

ทาวด้านกรมชลประทาน โดย รองอธิบดีกรมชลประทาน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล เปิดเผยว่า  กรมชลประทาน ยังคงเร่งบริหารจัดการน้ำโดยดำเนินการลำเลียงน้ำจากแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำป่าสัก เพื่อช่วยผลักดันค่าความเค็มออกสู่อ่าวไทยตามแผนฯ ที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง 

ส่วนสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 46,390 ล้าน ลบ.. คิดเป็นร้อยละ 61 ของความจุเก็บกักรวมกัน โดยมีปริมาณน้ำใช้การได้ 22,565 ล้าน ลบ.. หรือคิดเป็นร้อยละ 43 ของปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 

เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 10,875 ล้าน ลบ.. หรือร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯรวมกัน มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 4,179 ล้าน ลบ.. หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน

ดร.ทวีศักดิ์กล่าวว่า กรมชลฯ เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ รถยนต์บรรทุกน้ำ และเครื่องจักกลอื่นๆ รวม 2,175 หน่วย  อาทิเครื่องสูบน้ำ 1,851 เครื่อง รถบรรทุก 324 คัน กระจายอยู่ตามสำนักงานชลประทานและพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนให้มีน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้งอย่างเพียงพอ 

ทั้งนี้ ต้องขอความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนใช้น้ำตามแผน อย่างประหยัดและคุ้มค่ามากที่สุด