กล้องจุลทรรศน์ติด 'เอไอ' ลดผิดพลาดนักพยาธิฯ

กล้องจุลทรรศน์ติด 'เอไอ' ลดผิดพลาดนักพยาธิฯ

สตาร์ทอัพรุ่นใหม่จากจุฬาฯอวดโฉม “ไมโครซิสดีซีเอ็น” แพลตฟอร์มวิเคราะห์เซลล์บนแผ่นสไลด์ เสริมศักยภาพกล้องจุลทรรศน์ด้วยเทคโนโลยี ประมวลผลภาพ และแมชชีนเลิร์นนิ่ง ลดความผิดพลาดจากคน นําร่องทดสอบใช้ในโรงพยาบาลสัตว์ก่อนที่จะขยับสู่คน

ไมโครซิสดีซีเอ็น (MicrosisDCN) เกิดจากแนวคิดของนิสิตภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มองเห็นปัญหาของผู้ปฏิบัติงานในพยาธิแล็บที่ต้องส่องกล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูลักษณะของรูปร่างของเซลล์ต่างๆ ที่มีขนาดเล็กและคาดคะเนได้ยากทําให้เกิด ความล้าจากการส่องกล้อง อาจจะนําไปสู่การวินิจฉัยที่ผิดพลาดได้

เอไอยกระดับกล้องจุลทรรศน์

ปิยะวัฒน์ อุบล ผู้ร่วมพัฒนา กล่าวว่า ไมโครซิสดีซีเอ็นเป็นอุปกรณ์วินิจฉัยเซลล์ มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมใช้สวมเข้ากับ ท่อเลนส์กล้องจุลทรรศน์แบบไม่จํากัด ทําหน้าที่วินิจฉัยเซลล์ขนาดเล็กบนแผ่นสไลด์ เช่นแบคทีเรีย เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เซลล์จุลชีพอื่นๆ ด้วยโมเดลทางคอมพิวเตอร์ สําหรับประมวลผลสารสนเทศด้วยการคํานวณแบบคอนเนคชันนิสต์

จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังโปรแกรมที่ติดตั้งไว้ทําให้ทราบผลวินิจฉัยถึงจํานวนของเซลล์ชนิดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยําบนแดชบอร์ดหรือจอแสดงผลแบบเรียลไทม์ ถือเป็นตัวช่วยสําคัญสําหรับผู้เชี่ยวชาญ อาทิ นักเทคนิคการแพทย์ นักจุลชีววิทยา นักวิทยาศาสตร์ ทําให้สามารถทํางานได้รวดเร็วและแม่นยํา ลดความล้า และความผิดพลาดที่เกิดจากการส่องกล้องเป็นเวลาต่อเนื่อง

157849410380

“เราตั้งใจนําความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการประมวลภาพ แมชชีนเลิร์นนิ่งและ ปัญญาประดิษฐ์ สร้างเป็นคลัง Datasets กึ่งสําเร็จรูป เพื่องานค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ ทางการแพทย์ ทางชีววิทยา และการเรียนรู้ภายในห้องเรียนที่สามารถใส่แผ่นสไลด์แล้วกดปุ่มเปิดชุดกล้อง เลื่อนภาพแล้วจับภาพได้อย่างรวดเร็วและการสร้างสมาร์ทแอพพลิเคชั่นให้สามารถทํางานได้ผ่านกล้องสมาร์ทโฟนในการจับเซลล์ผ่านชุดเลนส์ที่มีใช้งานทั่วไป"

ขณะนี้เตรียมวางตัวเครื่องลอตแรกกว่า 50 เครื่องที่คณะสัตวแพทย์จุฬาฯ และ โรงพยาบาลสัตว์พระราม 3 วัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมดาต้าสําหรับสร้างการเรียนรู้ให้กับเอไอของแพลตฟอร์มให้ทํางานได้แม่นยํายิ่งขึ้น ซึ่งตามเป้าหมายที่แพทย์ระบุไว้คือ 98% แต่เรายังทําได้ที่ 90%

157849411913

“เราต้องสร้างการเรียนรู้ให้กับเอไอด้วย
ข้อมูลรูปภาพในปริมาณที่มากพอสมควร ซึ่งปัจจุบันมีอยู่เพียง 3 หมื่นภาพแต่มาตรฐาน เอไอจะต้อง 5 หมื่นภาพขึ้นไปฉะนั้นจะต้อง มีข้อมูลภาพเซลล์ต่างๆ 2 แสนภาพก่อนจะต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ แต่การคาดคะเนนั้นก็ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้และความชํานาญ เนื่องจากลักษณะของเซลล์บางชนิดมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก ไม่เช่นนั้นอาจเกิดผลที่คลาดเคลื่อนได้”

ค่าวิเคราะห์1บาท1แผ่นสไลด์

ณัทกร เกษมสําราญ ผู้ร่วมพัฒนา กล่าวเสริมว่า รายได้ไม่ได้มาจากการจําหน่ายเครื่องไมโครซิสดีซีเอ็นแต่มาจากการสแนปแผ่นสไลด์ในอัตราค่าบริการ 1 บาทต่อ แผ่นสไลด์ ซึ่งจากข้อมูลของกรมศุลกากร ระบุว่า ประเทศไทยนําเข้าแผ่นสไลด์กว่า 27 ล้านแผ่นต่อปี จุดนี้จะสามารถสร้าง มูลค่าทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

กระบวนการทํางานมี 3 ขั้นตอนคือ 1.นําแผ่นสไลด์ที่มีตัวอย่างเซลล์ที่ต้องการคัดแยก หรือนับจํานวนสอดใต้กล้องจุลทรรศน์ จากนั้นเรียกการทํางานไมโครซิสดีซีเอ็น เพื่อเริ่มต้นวิเคราะห์ในราคา 1 บาท ทั้งยังได้ดาต้าจากการวิเคราะห์อีกด้วย 2.ศูนย์กลางประมวลผลในการผสานข้อมูล เช่น คลังภาพจุลชีพ ความถี่ในการ ตรวจพบพื้นที่เป้าหมายของการระบาดเพื่อ ประมวลภาพด้วยเอไอ 3.ตรวจจับจุลชีพแบบเรียลไทม์และวิเคราะห์คุณลักษณะ ของเซลล์ขนาดเล็กเพื่อรายงานผลไปยังห้อง ปฏิบัติการด้วยความแม่นยําสูงเทียบเคียง กับผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์สูงด้วยเอไอ

ทั้งนี้ไมโครซิสดีซีเอ็นเป็น 1 ใน 12 ผลงานที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศการแข่งขัน ธุรกิจด้านเทคโนโลยี ที่สนับสนุนให้เกิด นักธุรกิจตัวจริงในโครงการ Young Technopreneur 2019 จัดขึ้นด้วยความ ร่วมมือของ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่นและ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.)