Good Partnerships เผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์

Good Partnerships เผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์

"กนกวรรณ" ดัน กศน.จับมือ 4 พันธมิตร Good Partnerships เผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์ ตั้งเป้าศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาทั้ง 20 แห่ง เป็นแหล่งสร้าง การรู้วิทยาศาสตร์ เน้นรูปแบบนิทรรศการ กิจกรรมการศึกษา และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายตระหนักรู้ สร้างกระบวนการคิดและปลูกจิตวิทยาศาสตร์แก่คนไทยทั่วประเทศ

วันนี้ (8..63)นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวในงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ Good Partnerships การพัฒนาการเผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์ ระหว่าง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) กับ 4 หน่วยงาน ได้แก่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอ (SEAMEO STEM-ED)และศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืนของซีมีโอ (SEAMEO SEPS)ว่า

จากนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เรื่องที่ 7 การเตรียมคนสู่ศตวรรษที่ 21 ปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้มุ่งสู่ระบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีด้านวิศวกรรม คณิตศาสตร์โปรแกรมเมอร์ และภาษาต่างประเทศ และยุทธศาสตร์ชาติ (.. 2561 – 2580)  ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์  ข้อ 3.3 ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21  

รมช.ศธ.กล่าวต่อว่ากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ จึงได้มอบนโยบายให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(สำนักงาน กศน.) ดำเนินการพัฒนาการเรียนรู้ ขับเคลื่อน กศน. สู่ กศน. WOW 6 G ได้แก่ 1. Good Teacher การพัฒนาครู กศน. และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการศึกษาและเรียนรู้ 2.Good Place การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้สวยงาม สะอาด ทันสมัยเอื้อต่อการเรียนรู้

3.Good Activity การส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น หลากหลาย น่าสนใจ ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ 4.Good Partnership การเสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย สามารถทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง 5.Good Innovation การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาและกลุ่มเป้าหมาย และ 6.Good Learning การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทุกช่วงวัย

"ความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ สำนักงาน กศน. ได้ขับเคลื่อน นโยบาย กศน. สู่ กศน. WOW ในเรื่อง Good Partnership ที่จะเสริมสร้างการทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้ง 4 หน่วยงานที่มีความโดดเด่น มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศและภูมิภาคอาเซียน ดังนั้น ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาทั้ง 20 แห่ง สังกัดสำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  จะมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งสร้าง การรู้วิทยาศาสตร์ หรือ Science Literacyให้แก่คนไทยทั่วประเทศ โดยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แก่นักเรียน  นักศึกษา  และประชาชนทั่วไป ในรูปแบบของนิทรรศการ กิจกรรมการศึกษา และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายซึ่งสร้างความตระหนักรู้ สร้างกระบวนการคิดและปลูกจิตวิทยาศาสตร์"นางกนกวรรณ กล่าว

นายดิศกุล  เกษมสวัสดิ์ เลขาธิการ กศน. กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ 4 หน่วยงาน ในครั้งนี้สอดคล้องกับจุดเน้นของสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ 2563 ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ในการส่งเสริมวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เชิงรุก เน้นให้ความรู้วิทยาศาสตร์อย่างง่ายให้แก่ประชาชนในชุมชน รวมทั้งพัฒนาสื่อนิทรรศการและรูปแบบการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น

"ความร่วมมือในการพัฒนาการเผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์ แบ่งเป็นร่วมกันนิทรรศการหมุนเวียนขนาดเล็ก จำนวน 2 เรื่อง คือ นิทรรศการสูงวัยใกล้ตัว และนิทรรศการคณิตศาสตร์รอบตัวเรา หมุนเวียนจัดศูนย์ละ 3 เดือน และสำหรับนิทรรศการหมุนเวียนขนาดใหญ่ จำนวน 1 เรื่อง คือ นิทรรศการคณิตศาสตร์รอบตัวเรา เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม 2563 เป็นต้นไป"นายดิศกุล  กล่าว

ทั้งนี้ ยังมีร่วมกันจัดอบรมบุคลากร 4 เรื่อง ได้แก่ Coding , เกม Battle of the Number , KidBrigth และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ระหว่างเดือนมีนาคมมิถุนายน 2563 ที่สำคัญ คือ จะมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ  มาร่วมให้คำปรึกษา แนะนำในเรื่องของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแนวทางการพัฒนางานของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

จึงเป็นโอกาสที่ดีของสำนักงาน กศน. ที่มี Good Partnerships ที่มีความเข้มแข็งและเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ เข้ามาร่วมพัฒนาการเผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทันสมัยสามารถให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมาย นักเรียน นักศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ และประชาชนได้อย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น