'สุชัชวีร์' แนะเร่งใช้เอไอเชื่อมบิ๊กดาต้าสร้างเกษตรสมัยใหม่

'สุชัชวีร์' แนะเร่งใช้เอไอเชื่อมบิ๊กดาต้าสร้างเกษตรสมัยใหม่

เทคโนฯลาดกระบัง ชี้เอไอ Disruptiveเปลี่ยนโลกเร็วและแรงกว่าสงครามโลกครั้งที่2แนะใช้ประโยชน์เชื่อมบิ๊กดาต้าคำนวนออกแบบการเกษตรที่คาดพื้นที่จะลดลงจากสังคมเมืองขยายตัวไร้ทิศทาง

นาย สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปฐกถาพิเศษ เรื่อง "Disruptive Agricultural Big data พลิกโฉมเกษตรไทย“ ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การพัฒนาระบบ เอไอ ปัจจุบันมีความเร็วและรุนแรงมากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะไม่รู้ว่าเรากำลังสู้กับใคร อยู่ที่ไหน การทำงานสามารถทำได้ที่บ้าน ทั่วทุกมุมโลก และงานเหล่านั้นสามารถส่งผลกระทบกับธุรกิจถึงขั้นเจ๊งได้ทันที เช่นยานยนต์ที่ไร้คนขับ การผลิตเครื่องดื่มบำรุงกำลังเพื่อก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป การทำธุรกรรมทางด้านการเงินไม่ต้องผ่านธนาคาร ทำให้อาชีพนักงานธนาคารที่มั่นคงกลายเป็นมีความเสี่ยงมากที่สุด

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงจึงกระทบกับทุกวงการ คนที่ต่อต้านจะสูญพันธุ์แล้ว การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จะแข่งขันกันด้วยมาตรการลดต้นทุน กลุ่มประเทศที่มีประชากรจำนวนมาก จะได้เปรียบเพราะมีค่าแรงต่ำ สามารถขยายงานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในขณะนี้กำลังจะตามมาด้วยการพัฒนาคุณภาพ และประเทศที่ใช้การพัฒนาคุณภาพอย่างสุดๆ เพื่อใช้เป็นจุดแข็งในการแข่งขัน เช่น สิงคโปร์ อิสราเอล สแกนดิเนเวีย เป็นต้น ประเทศเหล่านี้แม้ค่าแรงจะสูงแต่มากด้วยคุณภาพ

ดังนั้นประเทศที่ไม่มีทั้งปริมาณแรงงานและคุณภาพ จะถูกจู่โจม เจอ 2 เรื่องจู่โจม และได้รับผลกระทบอย่างหนัก หันกลับมาดูประเทศไทย เรื่องกำลังคนไม่ใช่แนวทางการต่อสู้ เพราะไทยเป็นประเทศขาดแคลนแรงงาน ครอบครัวสมัยใหม่ที่นิยมมีลูกคนเดียว

ในขณะที่นักศึกษาใหม่ที่เรียนจบแล้ว ส่วนใหญ่ทำงานไม่ตรงกับสาขา มากที่สุดคือขายออนไลน์ ซึ่งสถานการณ์นี้จะทำให้มีคู่แข่งมากขึ้นและอายุน้อยกว่า เช่น เด็กอายุ 13 ขวบ สามารถทำเครื่องช่วยฟัง เขียนโปรแกรมบล็อกเชนได้

ทั้งหมดจะเห็นได้ว่า โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว ในวงการเกษตรก็เช่นกัน กำลังได้รับผลกระทบจากความเจริญของสังคมเมืองที่ไร้ทิศทาง จากภาพถ่ายขององค์การนาซ่า มีความชัดเจนว่าพื้นที่การเกษตรจะลดลงอย่างหาร 2 และเอเชียจะเป็นทวีปที่มีการขยายสังคมเมือง แต่ละเมืองจะมีประชากรที่หนาแน่น พื้นที่การเกษตรจะลดลงอย่างเท่าทวีคูณ

การอยู่รอดของภาคการเกษตร จำเป็นต้องใช้ เอไอ เข้ามาช่วย จากสมองจำลองของเอไอ ที่จัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก มีความสามารถในการคำนวณได้อย่างแม่นยำ จะเป็นตัวกลางในการเรียนรู้เซ็ตระบบแผนงานการเพาะปลูกได้ สามารถใช้ Big data ได้ทั้ง input output เช่นการวัดพื้นที่ ความสูง ปริมาณน้ำ แล้ว คำนวณผลผลิต เป็น Big data set ให้เกษตรกรเลือกแนวทางที่เหมาะสม ผ่านสมาร์ทโฟนที่เชื่อมกับข้อมูลด้านการเกษตร

“การใช้เอเอเข้ามาคำนวณระบบการเพาะปลูกจะทำให้เกษตรกรสามารถคาดเดาผลผลิตในอนาคตได้จากวิธีการปลูกที่เอไอแนะนำ ในขณะที่การเพาะปลูกจากเดิมที่ใช้ IOT เพื่อปรับหน้าดิน ถือว่าเชยไปแล้วเพราะมี ระบบเซ็นเซอร์สามารถวัดได้ทั้งหมด”

นอกจากนี้กระบวนการผลิตภาคปศุสัตว์ยังมีการพัฒนาก้าวหน้าไปมาก ในอนาคตอาจไม่ต้องเลี้ยงด้วยระบบฟาร์มขนาดใหญ่ เพราะเนื้อไก่ หมู โค ต่างๆสามารถสั่งสั่งปริ้น ได้ทันที กำหนดได้ทั้งคุณภาพ การขายสินค้าเกษตรจะสามารถเปิดตลาดได้ทุกมุมโลก ในขณะที่คนซื้อจะมีสิทธิ์รับรู้ระบบการผลิตสินค้า เช่น ทุเรียนอาจมีการสั่งจองตั้งติดดอก และผู้ซื้อติดตามการเจริญเติบโตจนถึงระยะที่รับประทานได้ ด้วยระบบออนไลน์ ที่จะเข้ามามีคุณค่าสูงมากกับชีวิต

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) กล่าวว่า แผน บิ๊กดาต้า กำหนดไว้ 3 ปี ( 2563-2565) แบ่งเป็น เฟส 1 ได้ชุดข้อมูล (Datasets) จากหน่วยงานภายใต้ความร่วมมือ 10 หน่วยงานและหน่วยงานต่างๆ ที่พร้อมเปิด Open Data เฟส 2 ได้ Dashboard เชื่อมโยง Demand และ Supply สินค้าเกษตรสำคัญ 5 ชนิด มีการ Prediction และใช้ AI วิเคราะห์ Trend สถานการณ์ในปัจจุบัน ในบางเรื่องได้ และ เฟส 3 ได้ระบบฐานข้อมูลด้านการเกษตรแห่งชาติที่สมบูรณ์ พร้อมเปิดให้บริการ Public AI เปิดให้บริการระบบข่าวสารด้านการเกษตรแห่งชาติ (NAIS)

ทั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร และประชาชน ในการวิเคราะห์ทางเลือกและโอกาสในปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าเกษตร เช่น การเปลี่ยนประเภทสินค้าตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม นาไปใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตเพื่อการลดต้นทุนเพิ่มรายได้ ผลักดันให้เกษตรกรก้าวสู่การเป็น Smart Farmer

นอกจากนี้ยังเตือนภัยทางการเกษตร และความรู้ในการดูแลรักษาไปใช้ในการเตรียมพร้อมรับมือเพื่อป้องกันหรือลด ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ ในขณะที่ภาครัฐ จะสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่กระทบกับภาคเกษตร เช่น ภัยธรรมชาติ ภัยเศรษฐกิจ สนับสนุนการดำเนินงานของผู้บริหารให้ตัดสินใจถูกต้อง แม่นยำ ทันต่อสถานการณ์ บุคลากรได้รับการพัฒนาเพิ่มทักษะในการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ และเป็นประโยชน์ต่อเอกชน ในการวางแผนบริหารจัดการลดความเสี่ยง ของธุรกิจได้