กรมชลฯ ห่วงปีหน้าวิกฤติแล้งทั่วประเทศ

กรมชลฯ ห่วงปีหน้าวิกฤติแล้งทั่วประเทศ

กรมชลฯห่วงปีหน้าน่ากลัววิกฤติแล้งทั่วประเทศ เร่งส่งหนังสือถึงมท.ผู้ว่าฯช่วยคุมน้ำไม่หายกลางทาง หยุดสถานีสูบน้ำเพื่อเกษตร แนวแม่น้ำน่านหวั่นกระทบปลายน้ำระ

ที่ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะน้ำ กรมชลประทาน นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยสำนักงานชลประทาน 17 สำนักทั่วประเทศ เปิดศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้งปี 2562/63 พร้อมปล่อยขบวนคาราวานเครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำ รถขนน้ำ กว่า 1.8 พันรายการ ส่งไปช่วยพื้นที่ประสบภัยแล้ง ที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค 43 จังหวัด ในเป้าหมายเบื้องต้นตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)คาดการณ์ไว้ และ 13 จังหวัด ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือปภ.ได้มีประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้ง 

157750547328

นายทองเปลว กล่าวว่าตั้งศูนย์นี้จะสามารถทำงานได้เร่งด่วน กระชับรวดเร็วในการแก้ไขยับยั้งปัญหาความเดือดร้อนประชาชน และประสานกับพื้นที่โดยตรงกับศูนย์นี้ แจ้งเตือนได้แบบเรียลไทม์ ทั่วประเทศ ทำให้ช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ซึ่งประชาชนสามารถแจ้งขอรับความช่วยเหลือ ขอบริการหรือให้นำน้ำไปช่วยในท้องที่ได้ โดยมีรถส่งน้ำไปให้ถึงบ้านเรือน

 

พร้อมกับเปิดสายด่วน 1640 ประชาชนแจ้งขอรับการช่วยเหลือได้ตลอด24ชม. เป็นการป้องกันวิกฤติภัยแล้งไม่ให้รุนแรงมากขึ้น ลดความเดือดร้อนประชาชนให้น้อยที่สุด โดยแม้ในช่วงปีใหม่จะไม่หยุดปฏิบัติหน้า ให้มุกฝ่ายปฏิบัติงานทุกพื้นที่ มั่นใจว่าเมื่อตั้งศูนย์นี้ตามคำบัญชาท่านนายกรัฐมนตรี และรมว.เกษตรฯมีความห่วงใยประชาชน จะทำให้ทำงานครอบคลุมทุกหน่วยงานน้ำ และบริหารจัดการผ่านไปได้ แม้ปริมาณน้ำต้นทุนปีนี้ใกล้เคียงปี58ที่เกิดภัยแล้งรุนแรงมาก

 

ปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่าเป็นภัยแล้งที่รุนแรงในรอบ 60 ปี เป็นอันดับสอง รองจากปี 2522 และปีนี้รุนแรงกว่าปี 58 ที่กลายเป็นอันดับสามไปแล้ว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีศูนย์นี้ เพื่อกระชับการใช้น้ำ กระชับพื้นที่ ให้ผ่านวิกฤติไปจนถึงเดือนก.ค.63 ทั้งนี้ในแผนการใช้น้ำฤดูแล้งทั่วประเทศ ปี 62/63 ปัจจุบัน ระหว่าง 1 พ.ย.62-30เม.ย.63 เป็นน้ำใช้การได้ 17,699 ล้านลบ.ม.

 

 

ปัจจุบันจัดสรรน้ำไปแล้ว 4,927 ล้านลบ.ม.โดยใน 4 เขื่อนใหญ่ ณ วันที่26ธ.ค.62 มีน้ำใช้การได้ 4,491 ล้านลบ.ม.ใช้ไปแล้ว 1,044 ล้านลบ.ม. เท่ากับเกินแผนไป 200 ล้านลบ.ม.หรือ4% ส่วนที่เกินเนื่องจากมีการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลักจากแผนวันละ18ล้านลบ.ม. เป็น 25.50 ล้านลบ.ม. ระหว่างวันที่ 23 ธ.ค.ถึงวันที่ 5 ม.ค.เพื่อรักษาระบบนิเวศตลอดลำน้ำ ตั้งแต่หน้าเขื่อนเจ้าพระยา จนถึงอ่าวไทย เนื่องจากต้องการรักษาระดับน้ำที่หน้าเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ไม่ให้ต่ำกว่า 13.2 ม.รทก.เพราะในการปล่อยน้ำตามแผนพบว่ามีน้ำหายไปจากระบบตั้งแต่กำแพงเพชร ลงมาจนถึง เขื่อนเจ้าพระยา

 

หากระดับน้ำหน้าเขื่อนต่ำกว่า 13.2 ม.รทก.จะเป็นผลทำให้มีปัญหาต่อหารดันน้ำเข้าระบบคลองสาขาทั้งฝั่งซ้าย ขวา ของลำน้ำเจ้าพระยา จะกระทบระบบนิเวศทุกคลอง ตลิ่งพัง กระทบระบบประปา จึงจำเป็นต้องเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อน รวมไปถึงการผลักดันน้ำเค็มที่สถานสูบน้ำประปาสำแล จ.ปทุมธานี ที่ยังน่าห่วงเรื่องความเค็มไม่เข้าระบบประปา ที่บางช่วงน้ำทะเลหนุนสูงต้องคุมค่าความเค็ม โดยได้เสริมจากลุ่มน้ำแม่กลองมาช่วยลุ่มเจ้าพระยา ผ่านคลองพระยาบรรลือ มาลำเลียงดันน้ำเค็ม รักษานิเวศ เพิ่มจาก 800 ล้านลบ.ม.เป็น 2 พันล้านลบ.ม.ด้วย 

 

 

ทั้งนี้ได้มีหนังสือไปยังกระทรวงมหาดไทย ประสานท้องถิ่นในการเข้มงวดสถานีสูบน้ำเพื่อการเกษตร ตลอดสองฝั่งแม่น้ำ น่าน ปิง เจ้าพระยา ไม่ให้สูบน้ำเพราะกระทบกับน้ำปลายทางมาไม่ถึง กระทบนิเวศทั้งหมด ไม่มีน้ำนอนคลอง ส่วนสถานีสูบน้ำประปาของนครหลวง และภูมิภาค อยู่ในแผนการใช้น้ำของกรมชลประทาน ดังนั้นต้องขอความร่วมมือเกษตรกร งดปลูกพืชใช้น้ำมาก หยุดทำนาปรัง 

 

ขณะที่พื้นที่ปลูกข้าวฤดูแล้งแม้ไม่มีแผนส่งน้ำการเกษตร ปัจจุบันลุ่มเจ้าพระยา ปลูกแล้ว 1.3ล้านไร่ ส่วนทั่วประเทศ 2 ล้านไร่ เกษตรกรพร้อมจะเสี่ยงเอง ซึ่งจะไม่ส่งน้ำให้เพราะได้ประกาศเตือนล้วงหน้าไปแล้ว อีกทั้งปริมาณน้ำจัดสรรไว้กินใช้ รักษานิเวศ ดันน้ำเค็ม และสำรองไว้ก่อนถึงฤดูฝน 2.2พันล้านลบ.ม.เพราะกรมอุตุฯคาดการณ์ว่าปี63จะแล้งตั้งแต่เดือนม.ค.ถึง พ.ค. ฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย5-10% และฤดูฝนมาล่าไป1หนึ่งสัปดาห์ ต่อจากนั้นมีฝนทิ้งช่วง ถึง เดือนก.ค. คาดว่าเข้าฝนปลายเดือนก.ค.

 

อีกทั้งปริมาณฝนทั้งปีต่ำกว่สเฉลี่ย3-5% ซึ่งคาดว่าปริมาณน้ำที่จะเหลือในเขื่อน ณ สิ้นฤดูแล้ง ประกอบกับคาดการณ์ฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ทำให้สถานการณ์แล้งรุนแรงมากกว่าขณะนี้และแล้งยาวต่อเนื่อง จึงจำเป็นเข้มงวดต่อการบริหารจัดการน้ำ ขอความร่วมมือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดให้ชี้แจงเกษตรกร โดยเฉพาะที่อยู่แนวแม่น้ำ ไม่ให้ดึงน้ำไปใช้ จะกระทบปลายน้ำ และทั้งระบบ

 

อย่างไรก็ตามในปี58 มีมาตรการเข้มงวดแบะประสบความสำเร็จเพราะมีทหารมาช่วยดูแลที่สถานีต่างๆ แต่ปีนี้ได้แต่ขอความร่วมมือ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทำงานไม่ได้หลับนอน และข้อมูลการบริหารจัดการน้ำ ให้นำเข้าระบบออนไลน์ ทำให้เห็นว่าจุดไหนใช้น้ำเกินแผน สำหรับแผนที่เป็นห่วง เขื่อนอุบลรัตน์ ได้นำน้ำก้นเขื่อนมาใช้แล้ว29ล้านลบ.ม.คาดว่าตลอดฤดูแล้งจะใช้300ล้านลบ.ม.

นายทองเปลว กล่าวว่ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ไม่ได้ปลูกพืชฤดูแล้ง กรมได้จัดงบ3.1พันล้านบาท จ้างเป็นแรงงานในโครงกรมชลฯ ในปี 63 แบ่งเป็นภาคเหนือ 581 ล้านบาท อีสาน 995 ล้านบาท ภาคกลาง 794 ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งตำแหน่งและจำนวนงานทั้งหมด ให้สำนักงานชลประทาน แสดงไว้ในสำนักงานในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนแสดงความจำนงค์ ย้ำว่าต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ และจ่ายโอนเข้าบัญชีเกษตรกร 


“ศูนย์นี้รวบรวมทุกหน่วยงานต้องนำข้อมูลข้อเท็จจริง เรื่องสถานการณ์น้ำ ให้ถึงประชาชนทั่วประเทศ ไม่เกิดความตระหนก ให้ตระหนักถึงการใช้น้ำ กรมอุตุฯรายงานว่าในรอบ 60 ปีกับปีนี้มีฝนน้อยลำดับที่สองรองจากปี 2522 ทั้งปีนี้ฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 16 % และในปี 58 เขื่อนที่มีน้ำใช้การน้อยกว่า 30 % มี17แห่ง ปี 61 มี 5 แห่ง ปี 62 มี13 แห่ง

 

ดังนั้น ผลจากคาดการณ์ต่อไป กรมอุตนิยม คาดอีก7เดือนฝนต่ำกว่าเฉลี่ย และ ผลการส่งน้ำ ใช้นำมากกว่าแผน แนวโน้อย่างนี้ความรุนแรงเกิดขึ้นกระจายทั่วทุกภาค นายกฯ รมว.เกษตรฯห่วงใย ให้ทุกกรมในกระทรวงเกษตรฯทำงานเชิงบูรณาการป้องกันปัญหาภัยแล้งโดยเร่งด่วน ไม่ให้ประชาชนเกิดการขาดแคลนน้ำ ตอนนี้ขอความร่วมมือช่วยกันอย่าให้น้ำหายไประหว่างทาง ทำหนังสือมหาดไทย ผู้ว่าฯ เป็นหน่วยงานหลัก ควบคุมไปตำบล หมู่บ้าน ไปตามลำดับ ซึ่งช่วงจ.กำแพงเพชร แม่น้ำน่าน พิษณุโลก ขอร้องสถานีสูบน้ำเพื่อการเกษตร อย่าสูบ หากไปใช้น้ำเกินแผน กระทุกระบบ ไปกระทบปีหน้าน่ากลัวมากเรื่องขาดแคลนน้ำ