'เอสซีจี-ซีเอเอส' ผสานพลังเขย่าวงการนวัตกรรมแห่งอนาคต

สององค์กรนวัตกรรมชั้นนำไทยและจีน “เอสซีจี-ซีเอเอส”สร้างความร่วมมือระหว่างกัน ถือเป็นความร่วมมือแห่งปีด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ถูกจับตามากสุดและคาดว่าจะสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย 3 ด้าน การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เคมีภัณฑ์มูลค่าสูงและการจัดการพลังงาน
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า เอสซีจีร่วมมือกับสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (China Academy of Sciences-CAS) สถาบันวิทยาศาสตร์ระดับสูงที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ อีกทั้งเป็นแหล่งกำเนิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมชั้นนำของจีน เป็นอีกก้าวสำคัญที่จะได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์อนาคต รวมทั้งการพัฒนาบุคลากร และการสร้างความร่วมมือด้านการลงทุนด้วย
ศูนย์ความร่วมมือ “SCG-CAS ICCB Innovation Hub” อยู่ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี เป็นแหล่งสร้างความร่วมมือกับภายนอก ให้เป็นพื้นที่สำหรับการจัดแสดงผลงานนวัตกรรม การจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ พื้นที่ห้องทดลองเพื่อทำวิจัยและพัฒนา และพื้นที่สำนักงาน ทั้งสำหรับการพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน นอกจากนี้ยังเปิดกว้างสำหรับการบ่มเพาะธุรกิจและการทดลองเชิงพาณิชย์ เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพจากจีนที่สนใจมาทำธุรกิจในอาเซียนร่วมกับเอสซีจี
ความร่วมมือจะมุ่งเน้นใน 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต คือ เมืองอัจฉริยะ ปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ เคมีภัณฑ์มูลค่าสูง ธุรกิจพลังงานใหม่ เช่น พลังงานหมุนเวียน หรือระบบกักเก็บพลังงาน และสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เนื่องจากเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพการเติบโตทางธุรกิจสูง สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างหลากหลายทั่วโลก และตอบโจทย์การพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของเอสซีจีได้ในทุกกลุ่มธุรกิจ
สำหรับโครงการที่จะเห็นผลเร็วที่สุดคือ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยนำร่องพัฒนาอาคารอัจฉริยะ ซึ่งจะช่วยตอบสนองทั้งเรื่องความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และการประหยัดค่าใช้จ่าย ตั้งแต่การก่อสร้างตลอดจนการอยู่อาศัยในอาคาร ต่อมา คือ การพัฒนาเคมีภัณฑ์มูลค่าสูง สุดท้าย คือ การจัดการพลังงาน ที่มีความต้องการพลังงานสะอาดทั้งในไทยและอาเซียน นอกจากนี้เรื่องอุตสาหกรรม 4.0 ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งซึ่งเอสซีจีมีศักยภาพและความรู้ด้านนี้ค่อนข้างมาก จึงเป็นเรื่องที่ CAS มองว่าจะสามารถขยายความร่วมมือให้กว้างขึ้นได้
“เอสซีจีหวังว่าด้วยศักยภาพของทั้งสององค์กรจะสามารถช่วยขยายขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยี นวัตกรรมของเราให้ไกลขึ้น รวมทั้งขยายขอบเขตอีโคซิสเท็มในเรื่องนวัตกรรม เทคโนโลยี รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาให้กว้างขึ้น ท้ายที่สุด คือ การตอบโจทย์ของลูกค้าในตลาดทั้งไทยและอาเซียนให้ดีขึ้น ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นประโยชน์กับประเทศชาติต่อไป” นายรุ่งโรจน์ กล่าว
นายเจียง เปียว ผู้อำนวยการ CAS ICCB กล่าวว่า CAS ICCB เป็นหนึ่งในสำนักงานต่างประเทศ 9 สาขาของ CAS ที่ผ่านมาได้สร้างความสัมพันธ์อย่างกว้างขวางกับองค์กรต่าง ๆ ในไทย ผ่านการร่วมกันวิจัยในระดับทวิภาคี การให้บริการโซลูชัน และการฝึกอบรมบุคลากร จึงเชื่อมั่นว่าความร่วมมือครั้งนี้ จะช่วยให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของทั้งจีนและไทย
ลงทะเบียน 'เราชนะ' 4 กลุ่ม อดได้เงินเยียวยา 7 พัน - 1 กลุ่ม รับ 8,000 เช็คเลย!
‘เราชนะ’ ลงทะเบียน ‘www.เราชนะ.com’ เน้นฐานข้อมูลสำคัญ รับเงิน 7 พันบาท
'คนละครึ่งเฟส 2' รอบเก็บตก 1.3 ล้านสิทธิ เช็ควิธี 'ลงทะเบียน' รับ 3,500 บาท ที่นี่!
'วันครู 2564' กับ 6 คำขวัญจากใจ 'บิ๊กตู่' เนื่องในวันครูแห่งชาติ
ด่วน! ยอด ‘โควิด-19’ วันนี้ ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 230 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย
ยอดเสียชีวิตแผ่นดินไหวอินโดฯเพิ่มเป็น 42 ราย