กรมควบคุมโรค เผยสถิติทำผิดกฎหมายน้ำเมาช่วงปีใหม่

กรมควบคุมโรค เผยสถิติทำผิดกฎหมายน้ำเมาช่วงปีใหม่

กรมควบคุมโรคเผยช่วงปีใหม่ 62 พบธุรกิจน้ำเมาทำผิดกฎหมายเกือบ 300 ครั้ง ฐานโฆษณามากที่สุด 132 คดี ระบุเทศกาลปีใหม่ไฮซีซั่นจำหน่ายน้ำเมา ธุรกิจอัดกลยุทธ์3 เทคนิค เร่งการตลาด-เพิ่มยอดขาย ขณะที่ยอดคนตายจากอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นทุกปี สาเหตุสูงสุด“ดื่มแล้วขับ"

       นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ผลการดำเนินงานตามกฎหมายควบคุมเครื่องกื่มแอลกอฮอล์เทศกาลปีใหม่ 24 ธ.ค.2561- 2 ม.ค.2562 จากการลงพื้นที่ตรวจทั่วประเทศ 1,317 แห่ง พบมีจำนวนการกระทำความผิดรวม 278 คดี แยกเป็นความผิดตามมาตราต่างๆ ได้แก่ มาตรา 27 ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามขาย 21 ครั้ง มาตรา 28 ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลาห้ามขาย 71 ครั้ง มาตรา 30 ขายด้วยวิธีห้ามขาย ลด แลก แจก แถม 29 ครั้ง มาตรา 31 ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามขาย 2 ครั้ง มาตรา 32 การโฆษณาส่งเสริมการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 132 ครั้ง พ.ร.บ.สรรพสามิต 22 ครั้ง และอื่นๆ 1 ครั้ง

          นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่ของทุกปี พบว่ามีการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบุติเหตุทางถนน โดยที่มีสาเหตุจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นจำนวนมากทุกปี ข้อมูลจากศูนย์อำนวนการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562 พบว่า เทศกาลปีใหม่ 2562 มีผู้เสียชีวิต เพิ่มขึ้น 40 รายจากปี 2561 สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ดื่มแล้วขับ 43.66 % ทั้งนี้ เทศกาลปีใหม่ถือเป็นไฮซีซั่นของการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เร่งทำการตลาด เพื่อเพิ่มยอดขาย โดยมี 3 เทคนิค คือ 1.การแฝงไปในกิจกรรมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม(CSR) 2.จัดกิจกรรมพิเศษร่วมกับร้านค้าสถานบันเทิง ผับ และบาร์ และ3.จัดกิจกรรมพิเศษร่วมกับสื่อสื่อมวลชน

            สำหรับการรับเรื่องร้องเรียนการกระทำความผิดกฎหมายจำแนกฐานความผิดตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.2561-30ก.ย.2562 แยกเป็น มาตรา 27 ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามขาย 27 เรื่อง คิดเป็น 2 % มาตรา 28 ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลาห้ามขาย 12 เรื่อง คิดเป็น 1 % มาตรา 29ขายให้กับบุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ 64 เรื่อง คิดเป็น 4% มาตรา30 ขายด้วยวิธีห้ามขาย ลด แลก แจก แถม 64 เรื่อง คิดเป็น 4 % มาตรา 31 ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามขาย 56 เรื่อง คิดเป็น 3 % มาตรา 32 การโฆษณา ส่งเสริมการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1,378 เรื่อง คิดเป็นร 85 % ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการรับเรื่องร้องเรียนการกระทำความผิดเกี่ยวกับการโฆษณา ส่งเสริมการขายมากที่สุด ส่วนผลการรับเรื่องร้องเรียนการกระทำความผิด 1 เดือน หลังเทศกาลออกพรรษา พบว่า ร้องเรียนเกี่ยวกับ มาตรา 30 ในปี 2562 เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ถึง 2.8 เท่า จาก 59 ครั้ง เป็น 166 ครั้ง

           

             นพ.นิพนธ์ ระบุด้วยว่า แนวทางการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ “เทศกาลปีใหม่ ปลอดป้าย ปลอดโปร” เพี่อสนับสนุนการควบคุมและลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 โดยแนวทางการปฏิบัติงานช่วงเทศกาล 1.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)และพนักงานเจ้าหน้าที่กฎหมายทุกระดับ ดำเนินการป้องปรามการกระทำความผิด และบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน หรือด่านชุมชน หรือคณะทำงานอื่น 2. สสจ.และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ(สสอ.) ประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จัดทีมเชิงรุกในการป้องกัน และแยกผู้ดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน มิให้ขับขี่ยานพาหนะ

          3.รพ.เตรียมความพร้อมรับผู้กระทำความผิดฐานเมาแล้วขับ จากกรมคมุมประพฤติ เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา และในกรณีมีผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้เก็บตัวอย่างเลือกเผื่อสำหรับตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด และ4.ในกรณีที่พบผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์และสงสัยว่าดื่มสุรา ให้เจ้าหน้าที่รพ.สอบถามถึงสถานที่จำหน่ายให้เยาวชน และแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ ส่วนแนวทางการปฏิบัติงานภายหลังเทศกาล 1. สสจ.รวบรวมผลการดำเนินงานทั้งหมด และรายงานเลขานุการคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถายในวันที่ 10 ม.ค.2563 และเจ้าหน้าที่รพ.ให้รายงานผลการบำบัดรักษาและผลการติดตามหลังการรักษาของผู้กระทำความผิดฐานเมาแล้วขับ

157729268915