7 วันอันตราย เด็กตายเฉลี่ย 14 คนต่อวัน ปลอดภัยได้ สอนเด็กให้เปลี่ยนพฤติกรรม

7 วันอันตราย เด็กตายเฉลี่ย 14 คนต่อวัน ปลอดภัยได้ สอนเด็กให้เปลี่ยนพฤติกรรม

เผยสถิติ เด็ก 1-17 ปี ตายจากการบาดเจ็บ ช่วง 7 วันอันตราย 3,756 คน ภัยทางถนน เป็นเหตุสำคัญของการเสียชีวิต ปัญหาเด็กอายุมากกว่า 12 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากการขับขี่ก่อนวัย ขับรถจักรยานยนต์เร็ว ไม่ใส่หมวกนิรภัย เมาแล้วขับ แนะสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย

“ตามพ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 กำหนดไว้ว่า เด็ก หมายความว่าบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส ซึ่งในทุกปีจากสถิติการเสียชีวิตในช่วง 7 วันอันตราย จะพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตของเด็กมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กตั้งแต่อายุ 11 ปี ขึ้น โดยสาเหตุหลักมาจากอุบัติเหตุบนท้องถนนและตามด้วยภัยความรุนแรง

วานนี้ (24 ธ.ค.2562) ที่มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.นพ.อดิศักดิ์  ผลิตผลการพิมพ์  ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลสถานการณ์ภาพรวมของเด็กที่เสียชีวิตตลอดปี 2561 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วง 7 วันอันตราย เทศกาลปีใหม่ว่า จากข้อมูลสถิติเมื่อปี 2561 พบว่าภาพรวมในช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลปีใหม่ มีเสียชีวิต 463 ราย บาดเจ็บ 3,892 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นสาเหตุเมาแล้วขับ ซึ่งจังหวัดที่มีการตายสูงสุดปีคือ นครราชสีมา และจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บมากที่สุด คือนครศรีธรรมราช ส่วนการเกิดอุบัติเหตุจะเกิดบนถนนรอง หรือถนนในชุมชม ระแวกหมู่บ้าน และเกิดจากการใช้รถจักรยานยนต์ เป็นหลัก

“จากการสูญเสียในช่วง 7 วันอันตราย และตลอดทั้งปี 2561 พบว่า เด็กอายุ 1-17 ปีตายจากการบาดเจ็บ 3,756 คน เฉลี่ยเด็กเสียชีวิต 10.3 คน ต่อวัน และช่วงของปีใหม่(ตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค.2561-3 ม.ค.2562)เฉลี่ย 14 คน ต่อวัน ในช่วง 2 วันอันตรายสงกรานต์เฉลี่ย 23 คน และในเดือนเม.ย.ตายเฉลี่ย 19 คน ต่อวัน และเมื่อพิจารณาในช่วง 7 วัน เทศกาลปีใหม่ จะพบว่าภัยทางถนน เป็นเหตุสำคัญของการเสียชีวิต”รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าว

157718569055

นอกจากนั้น เมื่อมีการพิจารณาจำนวนการตายของเด็กอายุ 1-17 ปี จากเหตุทุกกลุ่มโรครวมถึงการบาดเจ็บ พบว่า เด็กตั้งแต่อายุ1 – 10 ปี จะเสียชีวิตด้วยโรคมากกว่าอุบัติเหตุ และเมื่อเข้าสู่วัยประถมศึกษาปีที่ 4 –ประถมศึกษาปีที่ 5 หรืออายุ 11-12 ปี ขึ้นไป จะมีอัตราการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุต่างๆ มากขึ้น ซึ่งสถิติปีที่2561 มีเด็กอายุ 11 ปี เสียชีวิต 234คน อายุ 12 ปี เสียชีวิต 306 คน อายุ 13 ปี เสียชีวิต 461 คน อายุ 14 ปี เสียชีวิต 551 คน อายุ 15 ปี เสียชีวิต 761 คน อายุ 16 ปี เสียชีวิต 761 คน และอายุ 17 ปี เสียชีวิต 921 คน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบระหว่างเด็กเสียชีวิตด้วยโรค และการบาดเจ็บ พบว่า เด็ก 53.5% ตายด้วยการบาดเจ็บ

สำหรับการเสียชีวิตของเด็ก เมื่อเทียบสัดส่วนระหว่างการเสียชีวิตด้วยจมน้ำ ภัยทางถนน ความรุนแรง และการบาดเจ็บอื่นๆ ในช่วงอายุ 1-17 ปี พบว่า จมน้ำ เป็นเหตุการณ์ตายอันดับ 1 ที่ทำให้เด็กเล็ก แต่เมื่ออายุ 11-12 ปี หรือเริ่มป.4 –ป.5 ภัยทางถนนกลายเป็นเหตุการณ์ตายอันดับ1 ตามมาด้วยภัยความรุนแรง ดังนี้ มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ 763 คน ภัยทางถนน 1,938 คน ความรุนแรง 524 คน และอื่น 531 คน แบ่งเป็น อายุ 1 ปี จมน้ำ 76 คน ภัยทางถนน 37 คน ความรุนแรง 13 คน และอื่นๆ 26 คน อายุ 2 ปี จมน้ำ 75 คน ภัยทางถนน 36 คน ความรุนแรง 13 คน และอื่นๆ 21 คน อายุ 3 ปี จมน้ำ 50 คน ภัยทางถนน 34 คน ความรุนแรง 10คน และอื่นๆ 20 คน อายุ 4 ปี จมน้ำ 68 คน ภัยทางถนน 40 คน ความรุนแรง 9 คน และอื่นๆ 15 คน

อายุ 5 ปี จมน้ำ 61 คน ภัยทางถนน 33 คน ความรุนแรง 10 คน และอื่นๆ 11 คน อายุ 6 ปี จมน้ำ 64 คน ภัยทางถนน 29 คน ความรุนแรง 8 คน และอื่นๆ 9 คน อายุ 7 ปี จมน้ำ 53 คน ภัยทางถนน 14 คน ความรุนแรง 6 คน และอื่นๆ 9 คน อายุ 8 ปี จมน้ำ 44 คน ภัยทางถนน 27 คน ความรุนแรง 4 คน และอื่นๆ 9 คน อายุ 9 ปี จมน้ำ 44 คน ภัยทางถนน 28 คน ความรุนแรง 7 คน และอื่นๆ 15 คน อายุ 10 ปี จมน้ำ 40 คน ภัยทางถนน 26 คน ความรุนแรง 12 คน และอื่นๆ 10 คน

157718569067

ต่อมา อายุ11 ปี จมน้ำ 25 คน ภัยทางถนน 46 คน ความรุนแรง 14 คน และอื่นๆ 15 คน อายุ 12 ปี จมน้ำ 42 คน ภัยทางถนน 81 คน ความรุนแรง 19 คน และอื่นๆ 23 คน อายุ 13 ปี จมน้ำ 35 คน ภัยทางถนน 180 คน ความรุนแรง 43 คน และอื่นๆ 44 คน อายุ 14 ปี จมน้ำ 35 คน ภัยทางถนน 214 คน ความรุนแรง 60 คน และอื่นๆ 54 คน อายุ 15 ปี จมน้ำ 20 คน ภัยทางถนน 348คน ความรุนแรง 97 คน และอื่นๆ 82คน อายุ 16 ปี จมน้ำ 16 คน ภัยทางถนน 357 คน ความรุนแรง 91 คน และอื่นๆ 76 คน สุดท้าย อายุ 17 ปี จมน้ำ 15 คน ภัยทางถนน 407 คน ความรุนแรง 107 คน และอื่นๆ 91 คน

“ปัญหาเด็กอายุมากกว่า 12 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากการขับขี่ก่อนวัย ขับรถจักรยานยนต์เร็ว ไม่ใส่หมวกนิรภัย มีงานรื่นเริงเมาแล้วขับ เกิดบนถนนเส้นทางสายรองในชุมชน รวมถึงเด็กนั่งส่วนกระบะขนของบนรถปิกอัพ นั่งรถยนต์ส่วนตัว รถสาธารณะแล้วไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย ถึงใช้อาจผิดวิธีไม่สามารถลดความบาดเจ็บลงได้"

"ดังนั้น ขณะนี้แม้มีความรู้ด้านวิชาการเรื่องความปลอดภัย และมีกฎหมายคุ้มครองครอบคลุมทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการขับขี่ก่อนวัยหรือก่อน 15 ปี ถือว่าผิดกฎหมาย ไม่ใส่หมวกนิรภัย เด็กซื้อเครื่องดื่มแอลกฮอลล์ เด็กเมาผิดกฎหมาย การนั่งส่วนกระบะขนของบนรถปิกอัพผิดกฎหมาย แต่กลับพบว่าในทางปฏิบัติทุกหน่วยงานยอมรับว่าไม่สามารถควบคุมได้ เพราะครอบครัวและเด็กมีความจำเป็นต้องใหญ่” รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าว

157718574762

เหตุนำการตายของเด็กและสถานการณ์การเสียชีวิตของเด็กที่เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ล้วนเป็นการกระทำผิดตามกฎหมายทั้งสิ้น แต่ก็ไม่สามารถเอาผิดได้ ซึ่งหลังจากนี้คงติดตามต่อไปว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการทางกฎหมายแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร??

สำหรับมาตรการในการดูแลเด็ก เพื่อป้องกันให้เกิดความปลอดภัยนั้น ถ้าเป็นเรื่องของการนั่งรถอย่างไรให้ปลอดภัย ต้องตอบว่าโครงสร้างรถยนต์ต้องออกแบบมาเพื่อป้องกันผู้ขับขี่และทุกคนที่ร่วมเดินทางต้องมีนิรภัย แต่ถ้านั่งหลังรถปิกอัพนั้นคงไม่มีคำตอบ ซึ่งทางที่ดีที่สุดต้องให้เด็กนั่งข้างใน อยู่ในโครงสร้างรถที่จะช่วยป้องกันเด็กได้ ส่วนกฎหมายมีอยู่แล้ว แต่ทำได้เพียงช่วงหนึ่งและตอนนี้ก็ยกเลิกไป เพราะถูกมองว่าจะไปรังแกประชาชน

หรือการจะไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ขับขี่จักรยานยนต์นั้น เป็นเรื่องยาก เนื่องจากการกระทำเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตของผู้คนไปแล้ว เป็นวิถีชีวิตคำตอบเดียวต้องยอมรับว่าผิดตั้งแต่จุดเริ่มต้น ต้องเป็นการปลูกจิตสำนึก และสอนให้เด็กรับรู้ เปลี่ยนพฤติกรรม ทุกคนตระหนักและเอาจริงในเรื่องป้องกันการปลอดภัยของเด็ก