"คนรักแม่กลอง"ร้องศาลคุ้มครอง"ไม่แบน3 สาร"ลุยฟ้องปปช.เอาผิดสธ.ใช้ข้อมูลเท็จ

"คนรักแม่กลอง"ร้องศาลคุ้มครอง"ไม่แบน3 สาร"ลุยฟ้องปปช.เอาผิดสธ.ใช้ข้อมูลเท็จ

กลุ่มคนรักแม่กลองยื่นศาลปกครองสูงสุดขอรับคุ้มครองชั่วคราว ไม่แบน 3 สาร พร้อมเตรียมยื่น ปปช. ใช้มาตรา 157 ฟ้องกระทรวงสาธารณสุข ใช้ข้อมูลเท็จ ขณะกรมวิชาการเกษตร หวั่น 6 เดือน หาแนวทางทดแทนพาราคอวตไม่ได้ ด้านหมอรามา ชี้ผู้ป่วยกินเพื่อฆ่าตัวตายกว่า 63 %

นางสาวอัญชุลี ลักษณ์อำนวยพร ประธานเครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง เปิดเผยว่า ได้ยื่นคำร้องถึงศาลปกครองสูงสุด ให้คุ้มครองชั่วคราว สมาชิกคนรักแม่กลอง ไม่ให้แบน 3 สารเคมีทางการเกษตร คือ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต โดยเบื้องต้นได้รับคำร้องแล้ว

รวมทั้งจะยื่นฟ้อง นายอนุทิน ชาญวีระกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งอดีตและปัจจุบันต่อ สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) มาตรา 157 ตามประมวลกฎหมายอาญา กรณีเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด

ทั้งนี้เพราะจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ที่อ้างว่าในปี 2559 สาธารณสุข 6 จังหวัดได้เก็บตัวอย่างผัก ในตลาดมาตรวจสอบและพบสารพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ตกค้าง และนำข้อมูลดังกล่าวมาเสนอต่อคณะกรรมการวัตถุอันตรายเพื่อให้แบนสารทั้ง3 ชนิดจนเป็นเหตุให้เกษตรกรผู้ปลูกผักได้รับผลกระทบ เช่นคะน้าจาก กิโลกรัมละ 30 บาทเหลือเพียง 5 บาท เป็นต้น

ซึ่งจากการทวนสอบข้อมูลดังกล่าว โดยลงพื้นที่สอบถามไปยังสาธารณสุขในจังหวัดที่ระบุเอาไว้พบว่า ไม่ได้มีการเก็บตัวอย่างผักมาตรวจสอบแต่อย่างใด แต่ข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุขนำมากล่าวอ้างนั้นเป็นการตรวจสอบของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไทยแพน (Thai-PAN) ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์

โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้หลังเทศกาลปีใหม่ ซึ่งจะยึดผลการตรวจสอบพืช 8 ชนิด เป็นหลักเช่น คะน้า แก้วมังกร กล้วย ฝรั่ง ใบกระเพรา ชมพู่ทับทิมจันทร์ เป็นต้น

นายศรันย์ วัฒนธาดา ผู้เชี่ยวชาญด้านควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กล่าวว่า ในการสัมมนา ทางออกที่ยั่งยืนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย หัวข้อ การเฝ้าระวังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ว่า กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานที่อยู่ต้นน้ำ เนื่องจากเป็นผู้อนุญาตให้ขายและอนุญาตให้ใช้ จำเป็นต้องทำทั้ง การเฝ้าระวัง การยกเลิก และการจำกัดการใช้ ในปี 59

ในส่วนของการเฝ้าระวัง มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณากรณีพิษเฉียบพลันสูง มีพิษเรื้อรัง เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ทดลอง เป็นสารที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ ตกค้าง สะสมในสิ่งมีชีวิต และถ่ายทอดได้ในห่วงโซ่อาหาร สลายตัวอยาก มีความคงทนในสภาพแวดล้อม พบพิษตกค้างในผลผลิตเกินค่ามาตรฐาน เป็นอันตรายอย่างรุนแรงต่อพืชหรือสัตว์ และถูกห้ามใช้หรือเฝ้าระวังหรือจำกัดการใช้ในต่างประเทศ.

“การเฝ้าระวังดังกล่าวจะแบ่งตามสารกำจัด วัชพืช กำจัด แมลง มีการตั้งคณะทำงานพิจารณา เพื่อพิจารณาเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย ยกเลิกการใช้ หรือจำกัดการใช้แล้วแต่ความรุนแรง ซึ่งที่ผ่านมายกเลิกใช้สารเคมีไปกว่า 98 ชนิด “

อย่างไรก็ตาม จากมติของคณะกรรมการวัตถุอันตราย นี้ ปัจจุบันพบว่า มีการขอขึ้นทะเบียนกลุ่มชีวภัณฑ์จำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ เป็นสารฆ่าแมลง และโรคพืช เนื่องจากชีวภัณฑ์ ยังไม่สามารถนำมากำจัด วัชพืชได้ ในขณะที่มีผู้ประกอบการบางกลุ่ม นำเชื้อที่ได้จากสารชีวภัณฑ์ ไปผสมขายเกษตรกร ซึ่งจะเป็นอันตรายมากกว่าการใช้สารเคมี เพาะเชื้อบางชนิดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น อาจเข้าสู่ผิวหนังได้ง่าย เพราะเกษตรกรมั่นใจว่าใช้แล้วปลอดภัย

157666107029 นอกจากนี้การปรับตัวของเกษตรกรหลังจากไม่มีสารเคมีใช้แล้ว ต้องหันมาใช้เครื่องจักรแทน อาจมีปัญหาเพราะต้องปรับกระบวนการปลูกทั้งหมดใหม่ ด้วย ในขณะที่การวิเคราะห์ขอมูลตางๆในช่วง 6 เดือนที่ คณะกรรมการวัตถุอันตรายให้ยืดระยะเวลาการใช้ 3 สารเคมีออกไปนั้นยังไม่แน่ใจว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด

 

นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน อดีตรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การแบนสาร 3 ชนิดนี้จะกระทบกับห่วงโซ่อุตสาหกรรมปศุสัตว์และประมงด้วย ซึ่งตามหลักขององค์การการค้าโลก หือดับบลิวทีโอ นั้น การที่ประเทศสมาชิกจะดำเนินอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบกับการค้าระหว่างประเทศ จ ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน หรือสามารถขยายได้อีก 30 วัน เพื่อให้ประเทศคู่ค้าแสดงความเห็น

แต่มติของคณะกรรมการวัตถุอันตราย แจ้งล่วงหน้าเพียง 30 วันเท่านั้น ส่งผลให้ ประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล นิวซีแลนด์ เป็นต้น ทำหนังสือถึงรัฐบาลไทยให้ทบทวน พร้อมทั้งให้แสดงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ที่สามารถยืนยันอันตรายไม่สอดคล้องกับข้อมูลของโคเด็กซ์ ซึ่งขณะนี้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ยังไม่สามารถดำเนินการได้เพราะข้อมูลไม่มี

ดังนั้นการจะตัดสินใจว่าควรจะแบนหรือไม่แบนสาร3 ชนิดนี้ควรให้เกษตรกรเลือกเองว่าจะใช้สารตัวไหน ถ้าไม่ใช้แล้วผลผลิตตกต่ำ ไม่สามารถแข่งขันได้ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ กรณ๊หน่วยงานที่มีข้อมูลว่าอันตรายนั้นควรออกมาพูดความจริงทั้งหมด ไม่ใช่นำเสนอเพียงครึ่งเดียว

ส่วนผู้ประกอบการผลิตสารเคมีเป็นไปได้หรือไม่ที่จะใส่สาร หรือกลิ่นที่เมื่อกินเข้าไปแล้วจะอาเจียนทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกษตรกรหรือผู้อื่นนำไปใช้ฆ่าตัวตาย

นายสมศักดิ์ สมานวงศ์ ตัวแทนผู้ประกอบธุรกิจสารเคมีเกษตร กล่าวว่า การจำหน่ายสารเคมี จะมีการอบรม เพื่อให้ขายได้อย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบ สิ่งแวดล้อมและสังคม ที่สำคัญ สารทุกชนิดจะใช้ระยะเวลาวิจัยกว่า 15 ปี งบประมาณหลายพันล้าน การนำไปใช้จึงต้องสมเหตุสมผล ปลอดภัย จริงแต่ความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากนำไปใช้กันผิดวิธี มีความร้ความเข้าใจ การวิจัยใช้เวลานาน 15 ปี ใช้เงินเป็น พันล้าน ถ้าใช้ไปแปบบนึ่งแล้วแบนโดยไม่มีเหตุผลก็ไม่คุ้มกับสิ่งที่เสียไป

นายแพทย์ วินัย วนากูล ผู้อำนวยการศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ผู้ป่วยที่เข้ามารักษาอันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรนั้น ส่วนใหญ่ กว่า 63-64 % เป็นการกินเพื่อฆ่าตัวตาย โดยเป็นการกินยาฆ่าแมลง 46-47 % ซึ่งจะกินไกรโครเซตเป็นอันดับ ส่วนการเกิดอุบัติเหตุมี 3% เท่านั้น

เนื่องจากนำสารดังกล่าวไปบรรจุในบรรจุภัณฑ์อื่น เช่น ขวดน้ำดื่ม แล้วจัดเก็บในที่ไม่ปลอดภัยเช่น ตู้เย็น ทำให้มีเด็กตกเป็นเหยื่อ กว่า 30% ดังนั้นการแก้ไขจะต้องลดพฤติกรรมนี้ และ มี 3.7% ที่พบว่ามีปัญหาใช้ในที่ทำงาน เพราะผสมผิดวิธี พ่นผิดวิธีที่ไม่มีการป้องกันตัว

นางจรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย กล่าวว่าข้อมูลที่ได้ทั้หมดนี้จะส่งถึงกระทรวงเกษตรฯ สาธาณสุข คณะกรรมการวัตถุอันตราย และนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ใช้ประกอบการพิจารณา แะกำหนดนโยบายโดยรวม