KTC - ขาย

KTC - ขาย

ดีกรีการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้น

Event

ปรับลดประมาณการกำไร ราคาเป้าหมาย และคำแนะนำ

lmpact

เผชิญการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้นจากธนาคารต่าง ๆ

จากการที่ธนาคารขนาดใหญ่ต่างพยายามแสวงหาอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น จึงมุ่งจับลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งเป็นตลาดหลักของ KTC การเข้ามาของธนาคารใหญ่จะทำให้การแข่งขันในตลาดสินเชื่อผู้บริโภคยิ่งทวีความเข้มข้นมากขึ้น ทั้งในส่วนของบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล (P-loan) ทั้งนี้ ตามแผนธุรกิจของ KBANK ธนาคารตั้งเป้าจะจับกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้เดือนละ 15,000 บาท เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด โดยผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอจะคล้ายคลึงกับกลุ่มลูกค้าระดับที่อยู่เหนือกว่า (อย่างเช่น ประกัน กองทุนรวม สินเชื่อผู้บริโภค) แต่ขนาดของธุรกรรมจะเล็กลง

รายได้จากหนี้เสียมีแนวโน้มลดลง

เนื่องจากการบริโภค และอัตราการขยายตัวของ GDP แผ่วลง รายได้จากการติดตามหนี้เสียจึงลดลงติดต่อกันมาสองไตรมาสแล้ว และคิดเป็นแค่ 18% ของรายได้ใน 2Q-3Q62 เท่านั้น (ลดลงจาก 21% ใน 1Q62) ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่ยืดเยื้อทำให้เรามองว่ารายได้กลุ่มนี้มีแนวโน้มจะลดลงไปอีก จากสถิติในอดีต สัดส่วนนี้เคยต่ำสุดที่ 12% ในปี 2556 และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็น 15% ในปี 2558, 16% ในปี 2559, 18-19% ในปี 2560-61 ดังนั้น เราจึงปรับลดสัดส่วนรายได้จากการติดตามหนี้เสียต่อรายได้รวมปี
2563/2564 ลงเหลือปีละ 15%/14% (จากเดิมปีละ 19.5%)

ธุรกิจใหม่ – มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นทันที แต่รายได้จะตามมาในอีก 1-2 ปี

KTC มีแผนจะเริ่มธุรกิจการปล่อยกู้ใหม่ (อย่างเช่น Pico Finance, car for cash หรือสินเชื่อจำนำทะเบียน) เพื่อหาอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงน้อยลง ซึ่งในเบื้องต้น บริษัทตั้งเป้าจะขยายสินเชื่อกลุ่มใหม่นี้ให้ได้ประมาณ 1.5 พันล้านบาท ซึ่งรายได้สุทธิน่าจะยังไม่ได้เป็นชิ้นเป็นอันนักในปี 2563 เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายด้านการตลาด แต่ CEO ของบริษัทคิดว่ารายได้สุทธิน่าจะเริ่มมีน้ำหนักในปี 2564 ซึ่งทำให้เรามองว่าประมาณการกำไรปี 2563-64 ของเรายังมี downside อีก

ปรับลดประมาณการกำไรปี 2563/64 ลง 7% และปรับลดราคาเป้าหมายปี 63F ลงเหลือ 36 บาท

ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่ยืดเยื้อจะเป็นความเสี่ยงต่อรายได้จากหนี้เสีย และทำให้อาจต้องกันสำรองเพิ่มในขณะที่การแข่งขันจากธนาคารขนาดใหญ่จะกระทบกับแนวโน้มอัตราการเติบโตของสินเชื่อ KTC ดังนั้น เราจึงปรับลดประมาณการสัดส่วนรายได้จากการติดตามหนี้เสียปี 2563/64 ลงเหลือแค่ 15%/14% (จากเดิมปีละ 19.5%) และปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตของสินเชื่อเหลือปีละ 5% (จากเดิมปีละ 7.5%) ในขณะที่ปรับเพิ่มประมาณการสัดส่วนต้นทุน/รายได้เป็นปีละ 35% (จากเดิมปีละ 34%) ส่งผลให้ประมาณการกำไรสุทธิปี 2563/64 ของเราลดลง 7%/11% ทั้งนี้ จากแนวโน้มกำไรที่ลดลง เราจึง de-rate P/E เป้าหมายลงมาอยู่ที่ 15.5x (เท่ากับค่าเฉลี่ยระยะยาว +1 S.D.) ซึ่งทำให้ได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 36 บาท ดังนั้น เราจึงปรับลดคำแนะนำจาก ถือ เป็น ขาย Neutral)..

Risks

การแข่งขันที่เข้มข้นกดดันให้ค่าการตลาดเพิ่มขึ้น และมีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์ของทางการเพื่อคุมอัตราการเติบโตของสินเชื่อ