กรมชลฯ ย้ำอ่างฯใหญ่ 9 แห่ง เหลือน้ำ 30% คุมเข้มการใช้น้ำตามแผนฯ

กรมชลฯ ย้ำอ่างฯใหญ่ 9 แห่ง เหลือน้ำ 30% คุมเข้มการใช้น้ำตามแผนฯ

กรมชลฯ ย้ำอ่างฯใหญ่ 9 แห่ง มีน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 คุมเข้มการใช้น้ำต้องเป็นไปตามแผนฯ

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.62 ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึง สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทั่วประเทศว่า ปัจจุบัน(17 ธ.ค. 62) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 45,098 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 64 ของความจุเก็บกักรวมกัน โดยมีปริมาณน้ำใช้การได้ 21,625 ล้าน ลบ.ม.

ทั้งนี้ มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณเก็บกักน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ ปัจจุบัน (17 ธ.ค. 62) มีจำนวน 9 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 74 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 60 ล้าน ลบ.ม. , อ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 46 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 9 ล้าน ลบ.ม. , อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น มีปริมาณน้ำเก็บกัก 511 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯ, อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา มีปริมาณน้ำเก็บกัก 24 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 23 ล้าน ลบ.ม. , อ่างเก็บน้ำ- ลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 24 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 20 ล้าน ลบ.ม. , อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาณน้ำเก็บกัก 269 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 28 ของ ความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 266 ล้าน ลบ.ม., 

อ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี มีปริมาณน้ำเก็บกัก 37 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 23 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 20 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี มีปริมาณน้ำเก็บกัก 62 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯเป็นน้ำใช้การได้ 22 ล้าน ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำคลองสียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา มีปริมาณน้ำเก็บกัก 115 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 85 ล้าน ลบ.ม.

157658722645

ปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ดังกล่าว จะเน้นส่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ผลิตประปา และรักษาระบบนิเวศ ตามแผนที่ได้กำหนดไว้ของแต่อ่างฯเท่านั้น จึงขอให้ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัดมากที่สุด โดยเฉพาะสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขอให้ปฏิบัติตามแผนการสูบน้ำที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เพียงพอใช้ต่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ รวมถึงการผลักดันค่าความเค็มในลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ตลอดฤดูแล้ง