กสทช.ถกวาระพิเศษเคาะ '5จี'

กสทช.ถกวาระพิเศษเคาะ '5จี'

ชงถอดคลื่น700ออกจากแผนประมูล ก.พ.63

“คณะอนุกรรมการลงมติว่า คลื่นความถี่ย่าน 1800, 2600 เมกะเฮิรตซ์ไม่ติดปัญหา ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ นั้น ตามที่โอเปอเรเตอร์ มองว่า ยังติดปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจนของเทคโนโลยี แต่ทางเราคาดว่าจะมีความชัดเจนในอีก 1 ปี จึงลงมติให้จัดการประมูลคลื่นล่วงหน้า แต่ยังไม่ต้องชำระค่าใบอนุญาต” นายฐากร กล่าว

ทั้งนี้ หลังการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สําหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 700, 1800, 2600 เมกะเฮิรตซ์ และ 26 กิกะเฮิรตซ์โอเปอเรเตอร์ 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้ยื่นหนังสือเสนอความคิดเห็นอย่างเป็นทางการถึง กสทช. เพื่อเสนอให้จัดการประมูลเฉพาะคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ ย่านเดียว

“อาจจะมีการประชุม กสทช. เป็นวาระพิเศษ โดยมีการเลื่อนเวลาให้เร็วขึ้น จากเดิมที่จะประชุมในวันที่ 24 ธันวาคมนี้ เพื่อให้เรื่องนี้จบเร็วขึ้น เพราะเราจะช้าไม่ได้” นายฐากร กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้(17 ธ.ค.) ที่สำนักงานกสทช.  มีจัดการสัมมนาให้ความรู้เรื่องรูปแบบการประมูล โดยนายพัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะคณะทำงานจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ ,26 กิกะเฮิรตซ์ และ 28 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่ง ระบุว่า การประมูลแบบ Clock Auction ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 16 ก.พ. 2563 นี้ เหมาะสำหรับการประมูลคลื่นพร้อมกันหลายคลื่น เพื่อให้การประมูลรวดเร็วขึ้น เพราะสามารถเลือกคลื่นได้พร้อมกัน โดยการประมูลจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรก ประมูลเลือกคลื่นความถี่ที่ต้องการ และ ช่วงที่สอง คือ การเลือกตำแหน่งคลื่นความถี่ โดยผู้ประมูลสามารถใส่จำนวนเงิน หรือ ไม่ใส่ก็ได้ ในตำแหน่งคลื่นความถี่ที่เลือกโดยต้องเลือกตำแหน่งติดกัน เพื่อหาผู้ที่เสนอราคาที่สูงที่สุดเป็นผู้ชนะ หากเสนอเท่ากัน ระบบจะเลือกแบบสุ่มอัตโนมัติ