สอท.ชงรัฐบาลจัดซื้อจัดจ้าง 'อีอีซี' ใช้วัสดุก่อสร้างไทย 90%

สอท.ชงรัฐบาลจัดซื้อจัดจ้าง 'อีอีซี' ใช้วัสดุก่อสร้างไทย 90%

สอท.เสนอรัฐบาลกำหนดเกณฑ์จัดซื้อจัดจ้าง “อีอีซี” หนุนสินค้าไทย แนะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใช้วัสดุก่อสร้างผลิตในประเทศ 90%

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ได้เตรียมเสนอรัฐบาลให้พิจารณาข้อเสนอการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้ใช้วัสดุภายในประเทศ (Local Content) ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

สืบเนื่องจากโครงการภาครัฐสาหรับงานโครงสร้างทั้งการลงทุนในโครงการรถไฟรางคู่ รถไฟฟ้า และรถไฟฟ้าความเร็วสูง รวมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซี ซึ่ง ส.อ.ท.เห็นว่า ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการผลิตสินค้าได้ภายในประเทศและเป็นสินค้าที่มีมาตรฐานรองรับ จึงขอให้ภาครัฐมีสนับสนุนให้มีการจัดซื้อจัดจ้างที่ใช้วัสดุภายในประเทศ (Local Content) มากขึ้น

ทั้งนี้ ส.อ.ท.มีข้อเสนอเพื่อพิจารณา 4 ข้อ คือ 1.เสนอให้ตั้งคณะทางานร่วมระหว่างกรมบัญชีกลาง และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่ผลิตในประเทศให้มีสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่ผลิตในประเทศได้

2.กำหนดเงื่อนไขให้การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ จากผู้ประกอบการที่ใช้วัสดุภายในประเทศ (Local Content) ไม่น้อยกว่า 40-60%

3.กำหนดสัดส่วนการใช้วัสดุภายในประเทศสำหรับงานโครงการภาครัฐในอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง เสนอให้ภาครัฐสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างขั้นต่ำ 90% จากมีผู้ประกอบการไทยที่สามารถผลิตได้

อุตสาหกรรมราง เสนอให้ภาครัฐสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างขั้นต่ำ 30-40% จากมีผู้ประกอบการไทยที่สามารถผลิตได้ รวมทั้งอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเรือ เสนอให้ภาครัฐสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างขั้นต่ำ 40-50% จากมีผู้ประกอบการไทยที่สามารถผลิตได้

4.พิจารณาใช้สินค้าวัสดุก่อสร้างที่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับงานโครงการภาครัฐ

สำหรับรายละเอียดสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซี โดยอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง เช่น ปูนซีเมนต์ คอนกรีตผสมเสร็จ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต กระเบื้อง สุขภัณฑ์และเหล็กก่อสร้าง ซึ่งข้อมูลสถิติเฉลี่ยในช่วงปี 2559-25611 ของอัตรากำลังการผลิต พบว่า ความสามารถของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างยังมีอัตรากำลังการผลิตประมาณ 65% ซึ่งยังสามารถเพิ่มกาลังการผลิตได้อีก 

จึงเสนอให้ภาครัฐสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างขั้นต่ำ 90% โดยเฉพาะในงานโครงการภาครัฐสาหรับงานโครงสร้างทั้งการลงทุนในโครงการรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า และรถไฟฟ้าความเร็วสูง รวมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซี ซึ่งงานโครงสร้างเป็นงานที่ผู้ประกอบการไทยสามารถดาเนินการได้ทั้งหมด

ส่วนอุตสาหกรรมราง ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้สามารถผลิตได้ภายในประเทศ ผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตระบบตัวรถ เช่น โครงสร้างตู้โดยสาร และการตกแต่งภายในตัวรถได้

แต่ทั้งนี้ ระบบช่วงล่างของโครงสร้างตัวรถ เช่น โบกี้ ระบบห้ามล้อ และอุปกรณ์เชื่อมต่อตู้โดยสาร ระบบขับและควบคุม และระบบควบคุมและอาณัติสัญญาณ ผู้ประกอบการไทยยังไม่สามารถผลิตได้ ประกอบกับไทยกาลังมีการลงทุนในระบบรางเป็นจานวนมาก จึงเสนอให้ภาครัฐสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างขั้นต่ำ 30-40% จากมีผู้ประกอบการไทยที่สามารถผลิตได้

อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเรือในอีอีซี เช่น กิจการสาธารณูปโภคและบริการเพื่อการขนส่ง ศูนย์รวมกิจการโลจิสติกส์ทันสมัย การพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยาน และท่าเรืออุตสาหกรรม เป็นต้น จึงเสนอให้ภาครัฐสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างขั้นต่ำ 40-50% จากมีผู้ประกอบการไทยที่สามารถผลิตได้ เช่น วัสดุก่อสร้าง