“แหลมฉบัง”กับอุตฯยานยนต์ 

“แหลมฉบัง”กับอุตฯยานยนต์ 

การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3  นอกจากความจำเป็นในฐานะบทบาท“ท่าเรือ”แล้วยังมีบทบาททางอ้อมว่าด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรมในพื้นทีอีอีซีด้วย

โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการ หนึ่งในนั้นคือ การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3  นอกจากความจำเป็นในฐานะบทบาท“ท่าเรือ”แล้วยังมีบทบาททางอ้อมว่าด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรมในพื้นทีอีอีซี ได้แก่ การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์

 ข้อมูลจากเวทีการรับฟังความเห็นจากภาคเอกชน เพื่อศึกษารูปแบบการลงทุนโครงการท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 จากเว็บไซด์สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ส่วนหนึ่งระบุถึงคาดการณ์รถยนต์ที่ต้องการใช้ศักยภาพท่าเรือแหลมฉบังจะสูงถึง 4 ล้านคันในปี 2593 ซึ่งเป็นผลจากการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมรถยต์ไฟฟ้า (อีวี)

สำหรับท่าเรือแหลมฉบังฯระยะที่ 1และ2มีอาณาบริเวณทางบก (พื้นที่เวนคืน) 6,341ไร่ และอาณาบริเวณทางน้ำ (พื้นที่ถมทะเล) 2,411ไร่ รวม 8,752ไร่ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 มีอาณาบริเวณ (พื้นที่ถมทะเล)ประมาณ 1,600 ไร่ 

ดังนั้น ทั้งสองโครงการจะต้องดำเนินไปอย่างควบคู่กันเพื่อให้การพัฒนาที่เกิดขึ้นบรรลุเป้าหมาย