เปิดโผ RMF ผลตอบแทนสูงปี 2019

เปิดโผ RMF ผลตอบแทนสูงปี 2019

ส่องอันดับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) ที่มีผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดัยแรกในรอบ 3 ปีและ 10 ปี

RMF ย่อมาจากคำว่า “Retirement Mutual Fund” หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออมเงินระยะยาวไว้สำหรับใช้จ่ายยามเกษียณอายุ คล้ายๆ กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund ของภาคเอกชน และกองทุนบำเหน็จบำบาญข้าราชการ (กบข.) หรือ Government Pension Fund ของข้าราชการ ซึ่งผู้ที่ลงทุนในกองทุน RMF ได้ตรงตามเงื่อนไขจะได้รับประโยชน์ทางภาษีได้

โดยการลงทุนระยะยาวในกองทุน RMF แบ่งออกเป็นหลายรูปแบบตามระดับความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนแต่ละคนรับได้ โดยส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก คือ RMF ที่ลงทุนในตราสารทุน RMF ที่ลงทุนในตราสารหนี้ RMF ที่ลงทุนแบบผสม และ RMF ที่ลงทุนในแบบอื่นๆ 

ครั้งนี้หยิบยกการจัดกองทุน RMF (ประเภทลงทุนในตราสารทุน) ซึ่งเป็นรูปแบบการลงทุนที่มีผลตอบแทนสูงสุดในกลุ่ม RMF และมีความเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ เช่นกัน 

สำหรับกองทุนที่มีผลดำเนินงานที่ดีจนได้ผลตอบแทนสูงสุดในรอบ 3 ปี และ 10 ปี จากการจัดอันดับของ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน (บลน.) เว็ลธ์ เมจิก จำกัด (Wealth Magik) ดังนี้ 

157658006366



157647985521

กองทุน RMF ประเภทลงทุนในตราสารทุน ที่มีผลตอบแทนสูงเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง 10 อันดับแรก ได้แก่

1. TMBCORMF (กองทุนเปิดทหารไทย China Opportunity เพื่อการเลี้ยงชีพ)
จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด (TMBAM)
ความเสี่ยงระดับ 6
ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 16.38%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

2. TMBGQGRMF (กองทุนเปิดทหารไทย Global Quality Growth เพื่อการเลี้ยงชีพ)
จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด (TMBAM)
ความเสี่ยงระดับ 7
ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 13.15%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

3. SCBRMGHC (กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ โกลบอลเฮลธ์แคร์ เพื่อการเลี้ยงชีพ)
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ (SCBAM)
ความเสี่ยงระดับ 7
ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 11.44%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

4. KT-HEALTHC RMF (กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เฮลธ์แคร์ เพื่อการเลี้ยงชีพ)
จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (KTAM)
ความเสี่ยงระดับ 7
ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 11.12%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

5. KGHRMF (กองทุนเปิดเค โกลบอล เฮลท์แคร์ หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ)
จาก
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย (KAsset) 
ความเสี่ยงระดับ 6
ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 10.53%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

157647987495

6. KEURMF (กองทุนเปิดเค ยูโรเปียน หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ)
จาก
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย (KAsset) 
ความเสี่ยงระดับ 6
ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 10.26%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

7. T-GlobalEQRMF (กองทุนเปิดธนชาต Global Equity เพื่อการเลี้ยงชีพ)
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จำกัด (TFUND)
ความเสี่ยงระดับ 6
ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 10.23%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

8. TUSRMF (กองทุนเปิด ทิสโก้ ยูเอส อิควิตี้ เพื่อการเลี้ยงชีพ)
จาก
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด ( TISCOAM)
ความเสี่ยงระดับ 6
ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 9.70%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

9. KFGBRANRMF (กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ)
จาก
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (KrungsriAsset)
ความเสี่ยงระดับ 6
ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 9.66% 
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

10. T-HealthcareRMF (กองทุนเปิดธนชาตโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ)
จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จำกัด (TFUND)
ความเสี่ยงระดับ 7
ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 9.46%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

157647989297

สำหรับ 10 อันดับ กองทุน RMF ที่ลงทุนในตราสารทุน ที่มีผลตอบแทนสูงสุดในรอบ 10 ปี ได้แก่ 

1. BERMF (กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ)
จาก
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (BBLAM) 
ความเสี่ยงระดับ 6
ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 12.28%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

2. KFDIVRMF (กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นปันผลเพื่อการเลี้ยงชีพ) 
จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (KrungsriAsset) 
ความเสี่ยงระดับ 6
ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 11.53%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

3. ABSC-RMF (กองทุนเปิด อเบอร์ดีนสมาร์ทแคปปิตอลเพื่อการเลี้ยงชีพ)
จาก
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อเบอร์ดีน จำกัด (ABERDEEN) 
ความเสี่ยงระดับ 6 
ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 10.99%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

4. IN-RMF (กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ)
จาก
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (BBLAM)
ความเสี่ยงระดับ 6 
ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 10.94%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

5. UOBEQRMF (กองทุนเปิด ยูโอบี ตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ)
จาก
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด (UOBAM)
ความเสี่ยงระดับ 6 
ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 10.86%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

157647992267

6. KFS100RMF (กองทุนเปิดกรุงศรี SET100 เพื่อการเลี้ยงชีพ)
จาก
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (KrungsriAsset) 
ความเสี่ยงระดับ 6 
ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 10.75%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

7. KEQRMF (กองทุนเปิดเค หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ)
จาก
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (KAsset) 
ความเสี่ยงระดับ 6 
ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 10.71%
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

8. V-RMF (กองทุนเปิด หุ้นคุณค่า เพื่อการเลี้ยงชีพ)
จาก
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด (ONEAM)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 10.63% 
ความเสี่ยงระดับ 6 
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

9. TMB50RMF (กองทุนเปิดทหารไทย SET50 เพื่อการเลี้ยงชีพ)
จาก
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด (TMBAM)
ความเสี่ยงระดับ 6 
ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 10.43% 
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

10. TEGRMF-A (กองทุนเปิด ทิสโก้หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ ชนิดหน่วยลงทุน A)
จาก
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด (TISCOAM)
ความเสี่ยงระดับ 6
ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 10.38% 
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล

อย่างไรก็ตามการจัดอันดับนี้เป็นเพียง ณ เวลาหนึ่ง ผลตอบแทนในอดีตของแต่ละกองทุน ไม่ได้การันตีผลตอบแทนในอนาคต เนื่องจากประสิทธิภาพของกองทุนจะแปรผันไปตามสถานการณ์ความเสี่ยงของกองทุน ทรัพย์สินที่ลงทุน นโยบายในการบริหารงานของแต่ละกองทุน รวมถึงสภาพตลาดแต่ละช่วงประกอบด้วย

ดังนั้น จึงไม่มีกองทุนที่ดีที่สุด มีแต่กองทุนที่เหมาะสมกับเรามากที่สุด ฉะนั้น ผู้ลงทุนจึงควรศึกษาการลงทุนให้เข้าใจก่อนลงทุนทุกครั้ง เพราะความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนต้องรับไว้ตามการตัดสินใจของตัวเอง