Green Pulse I เอสซีจี, Asean Circular Economy

Green Pulse I เอสซีจี, Asean Circular Economy

การประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนอาเซียน (ASEAN Business and Investment Summit หรือABIS) ซึ่งเป็นเวทีของภาคธุรกิจที่จัดควบคู่กับการประชุมสุดยอดอาเซียน(ASEAN Summit) โดยสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council หรือ ASEAN-BAC)ในปี 2562

มีผู้นำจากภาคธุรกิจชั้นนำทั้งในอาเซียนและประเทศอื่นๆร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และระดมสมองหาแนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกันในภูมิภาค ผ่านหัวข้อเสวนาที่น่าสนใจ คือ“Sustainable ASEAN 4.0:Circular Economy”ซึ่งสอดคล้องกับยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0ที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญความท้าทายในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้ได้ภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัดแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จึงกลายเป็นคำตอบของภาคธุรกิจที่มีการนำทรัพยากรกลับมาใช้ซ้ำอย่างคุ้มค่าด้วยการคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างประโยชน์อย่างสมดุล ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจีเล่าว่าเอสซีจีมีเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนอยู่ทั้งในแผนแม่บทและในทุกส่วนของการดำเนินธุรกิจเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (The World Business Council for Sustainable Development - WBCSD) และ Down Jones Sustainability Index (DJSI)ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาบรรจุอยู่ในแผนแม่บทของกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม เพราะเชื่อว่าจะเป็นทางออกที่ดีให้กับการแก้ไขปัญหาทรัพยากรของโลกที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนในเร็ววันได้

ผลักดันให้ขยะเป็นศูนย์

ปัจจุบันมีโรงงานและสำนักงานกว่า 2,000 แห่งกระจายทั่วโลกนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาขับเคลื่อนธุรกิจให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ด้วยการนำทรัพยากรที่ผลิตเป็นสินค้าต่างๆ ให้ลูกค้าใช้งานแล้ว วนกลับมาใช้เป็นทรัพยากรในการผลิตใหม่ โดยอาศัยการวางแผนบริหารจัดการของเสียที่ดีและความร่วมมือที่เข้มแข็งกับพันธมิตรคู่ค้า ลูกค้า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเปลี่ยนระบบการผลิตจากเส้นตรง(Make-Use-Dispose) เป็นการหมุนเวียนกลับมาใช้(Make-Use-Return) เช่น ความร่วมมือกับ ดาว ประเทศไทย ในการนำพลาสติกที่ใช้แล้ว เช่น ถุงพลาสติกและถุงใส่อาหารที่มาจากขยะในครัวเรือนมาบดผสมกับยางมะตอยเพื่อใช้ปูถนนในนิคมอุตสาหกรรมรวมถึงมีการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ในโรงงานด้วย

“การขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนนั้น จะต้องมีการร่วมมือกันกับทุกภาคส่วนภายใต้การสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน(Win-Win)ต้องมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และร่วมมือกับภาครัฐในการกำกับดูแลเพื่อให้มาตรการต่าง ๆ มีผลบังคับใช้ได้ในชีวิตประวัน บนเป้าหมายที่จะทำให้ขยะในเมืองไทยเหลือ0% (Zero Waste)”

ทั้งนี้ปัญหาภาวะโลกร้อนและปัญหาขยะที่ถือเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีขยะพลาสติกมากถึง 2 ล้านตันติดอันดับ 6 ของประเทศที่มีขยะพลาสติกในมหาสมุทรมากที่สุดแต่ในจำนวนนี้มีการนำขยะมารีไซเคิลได้เพียงร้อยละ 30 จึงต้องมีการสร้างความร่วมมือเพื่อทำให้เกิดการขยายพลังที่มากขึ้น

ซึ่งพื้นที่ EEC ถือเป็นพื้นที่นำร่องและส่งเสริมด้านการบริหารจัดการให้สิทธิประโยชน์ด้านการพัฒนาส่งเสริมนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยวางเป้าหมายที่จะพัฒนาให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่เป็นต้นแบบการบริหารจัดการขยะ และร่วมมือกับภาครัฐรวมถึงภาคธุรกิจในการบริหารจัดการขยะทั้งประเทศ โดยมีโครงการนำร่องที่ทางภาครัฐให้การสนับสนุน ที่บ้านฉางสมาร์ทซิตี้ จ.ระยอง ซึ่งในชุมชนมีความร่วมมือกับภาคธุรกิจในการวางกฎระเบียบการจัดการขยะและนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม