หนี้ครัวเรือน ‘ฝัน(ร้าย)’ เศรษฐกิจไทยเมื่อ GEN-Y ไร้แผนออม

หนี้ครัวเรือน ‘ฝัน(ร้าย)’ เศรษฐกิจไทยเมื่อ GEN-Y ไร้แผนออม

“ของมันต้องมี” เจ็บกับคำนี้มาเท่าไหร่แล้ว เป็นคำถามที่หาคำตอบได้ไม่ยากเมื่อคนรุ่นใหม่มองว่าการใช้ชีวิตให้มีความสุขในทุกวันของปัจจุบันเป็นสิ่งจำเป็นกว่าที่วางแผนอนาคต

“ของมันต้องมี” เจ็บกับคำนี้มาเท่าไหร่แล้ว เป็นคำถามที่หาคำตอบได้ไม่ยากเมื่อคนรุ่นใหม่มองว่าการใช้ชีวิตให้มีความสุขในทุกวันของปัจจุบันเป็นสิ่งจำเป็นกว่าที่วางแผนอนาคต

เพราะวัยรุ่นหนุ่มสาวยังมีแรงและโอกาสหางานและเงินได้อีกมาก เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีนำมาซึ่งแหล่งรายได้ในแบบที่ต้องจริตคนเจนวาย หากนับจำนวนวัยรุ่นพันล้านเทียบกับจำนวนประชากรวันกระเตาะแล้วคงมีไม่ถึง 1% ดังนั้นคำถามที่ว่าแผนการเงินแบบสนองคตินิยมแบบ ”ของมันต้องมี” นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือ

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยปี 2562 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,201 ตัวอย่างทั่วประเทศระหว่างวันที่ 11-23 พ.ย. 2562 พบว่า ในปี 2562 ครัวเรือนมีหนี้เฉลี่ยที่ 340,053 บาทต่อครัวเรือน เป็นอัตราที่สูงสุดในประวัติศาสตร์

และเพิ่มจากปีก่อน 7.4% โดย 59.2% เป็นหนี้ในระบบ และ 40.8% เป็นหนี้นอกระบบโดยแบ่งเป็นการผ่อนชำระต่อเดือนเป็นหนี้ในระบบ 16,000 บาท นอกระบบผ่อนชำระ 5,222 บาท 

ผลสำรวจยังเผยถึงความสามารถในการชำระหนี้ โดย 75.4% ตอบว่าเคยขาดการผ่อนชำระ สาเหตุมาจากรายได้ไม่เพียงพอ สินค้าอุปโภคบริโภคราคาสูงขึ้น เกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น และเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ผ่านมา เมื่อถามถึงช่วง 1 ปีเคยมีปัญหาชำระหนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่ 64.9% ตอบว่ามีปัญหา ซึ่งสูงขึ้นจากปี 2561 ที่ 57.8%

แม้ว่าประชาชนจะต้องการประหยัดแต่ราคาสินค้าที่แพงขึ้นก็ยากที่จะประหยัดหรือลดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม พบว่า บางกลุ่มก็เป็นหนี้เพราะใช้จ่ายฟุ่มเฟือยโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หรือ เจเนเรชั่นวาย (GEN Y )ที่ ระบุว่าสาเหตุของการเป็นหนี้นั้น 17.6% เกิดจากรายได้ลดลงมีการ  15.1% ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต และ 15.1% ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น

สอดคล้องกับความเห็นของ ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก หรือดับเบิลยูทีโอ ที่แสดงความกังวลต่อเศรษฐกิจไทยที่กำลังเผชิญกับปัญหาหนี้ครัวเรือน อันเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยที่เป็นรูปแบบ “รังแกคนออม” เมื่อไม่มีการสนับสนุนให้เกิดการออม ประกอบกับหลักคิดของคนรุ่นใหม่ที่พร้อมใช้จ่ายเพื่อความพึงพอใจก็ยิ่งทำให้เกิดปัญหาหนี้ครัวเรือนมากขึ้น

“อัตราดอกเบี้ยไทยกำลังไม่เข้ากับเหตุการณ์ เราไม่ได้กำลังเผชิญกับคนว่างงานจำนวนมหาศาล  เราไม่ได้มีปัญหามากขนาดต้องลดดอกเบี้ย ผมเสียใจกับการตัดสินใจครั้งนั้นมากและอยากให้กลับไปใช้อัตราดอกเบี้ยเดิม"

ดังนั้น ขอสรุปสถานการณ์เศรษฐกิจไทยและต่างประเทศในภาพรวม ตามทฤษฎี Black Swan มีอยู่ 4 ปัจจัยได้แก่

1. ภาวะเศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่กำลังเผชิญปัญหาหนี้สะสม ซึ่งจะกระทบกับการส่งออกของไทย

อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่แม้จะมีปัญหาแต่ก็ยังมีประเทศที่สามารถเป็นตลาดส่งออกของไทยได้ต่อไปเพราะยังมีแนวโน้มความต้องการสินค้าและอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ได้แก่ ตุรกี จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้

 

157623747367

2. การตีราคาสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆหรือ Asset class ที่มีการกำหนดราคาที่เกินมูลค่ากว่าตัวสินทรัพย์นั้นๆ (overprice )

3. การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน ที่คาดว่าปีหน้าจะมีความผันผวนความพยายามอัดฉีดเงินเข้าระบบหรือ  QEที่เกิดขึ้นทั้งใน ญี่ปุ่น อียู ส่งผลให้เงินบาทปีหน้า มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง และเชื่อว่าปี 2563 จะเฉลี่ยที่ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นอัตราที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจไทยแล้ว ที่เหลือคือต้องปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่าไม่ใช่นั่งบ่นว่าเป็นสาเหตุให้ส่งออกไม่ได้

“การกระตุ้นการส่งออกไม่ใช่ใช้วิธีเดิมๆที่ส่งออกด้วยราคาต่ำ (under price) เพราะประเมินว่าอีก 10-20 ปีข้างหน้า เงินบาทไทยมีโอกาสเห็นที่ 27 บาทต่อดอลลาร์ เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง”

4. สงครามการค้า การที่จีน หรือสหรัฐเจรจากันหากตกลงกันได้ จะเป็นแค่มาตรการชั่วคราวเพราะเป้าหมายที่แท้จริงคือการยึดพื้นที่เชิงภูมิรัฐศาสตร์ บทบาทของไทยในภาวะการเผชิญหน้าทางการค้าเช่นนี้ คือการหาช่องทางส่งออกสินค้าในส่วนที่จีนไม่สามารถสั่งจากสหรัฐ และส่งออกไปสหรัฐในส่วนที่ไม่สมารถนำเข้าจากจีนและ ไทยต้องเล่นบทบาทนำเพื่อผลักดันให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือทางการค้าต่างๆ

ปัญหาเศรษฐกิจแต่ละยุคสมัยมีปัจจัยกระทบที่ต่างกันออกไป ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในดังนั้นผู้เกี่ยข้องต้องร่วมกันบริหารตัวแปรต่างๆให้เหมาะสมกับเศรฐษกิจของประเทศไทยให้ไปรอดได้และดีด้วย

  157623759463