ปฏิบัติการ 'ม.ธรรมนัส' แผนยึดคืนที่ดิน 'ส.ป.ก.'

ปฏิบัติการ 'ม.ธรรมนัส'  แผนยึดคืนที่ดิน 'ส.ป.ก.'

การยึดคืนที่ดิน ส.ป.ก.ของนางสาวปารีณา ไกรคุปต์ สส.ราชบุรี กำลังถูกจับตามองจากสังคมว่าหลังจากมีการยึดยืนที่ดินจำนวน 682 ไร่แล้ว จะนำไปสู่การยึดคืนที่ดิน ส.ป.ก.ในพื้นที่อื่นๆซึ่งครอบครองไม่ถูกต้องได้หรือไม่

ความร้อนแรงอาจจะลดลงไปบ้างแล้ว หลังนางสาวปารีณา ไกรคุปต์ สส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐยินยอมคืนที่ดินในเขตการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) 682 ไร่ที่ จ.ราชบุรี แต่โดยดี แม้อาจจะมีติ่งเล็กน้อยให้รำคาญใจ ตรงแนบท้ายหนังสือขอมีสิทธิ์ในการจัดสรรที่ดิน ตรงแนบท้ายหนังสือขอมีสิทธิ์ในการจัดสรรที่ดินดังกล่าวอีก แต่ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็สั่งให้ทำมาใหม่ภายใน 7 วัน หากไม่ดำเนินการ ก็ต้องฟ้องร้องดำเนินคดีตามขั้นตอน

ปฏิบัติการยึดที่คืนของนางสาวปารีณา ครั้งนี้ถือเป็นบรรทัดฐาน ที่ร้อยเอกธรรมนัสประกาศ จะใช้เป็นแนวทางดำเนินการกับ ที่ดินในเขต ส.ป.ก. ที่ยังไม่ได้รับการจัดสรร อีก 2 ล้านไร่

ถึงขนาดลั่นแรงส์ว่า“ถ้าใช้ม. 44 ยึดไม่ได้ ก็ต้องใช้ ม.ธรรมนัส “

ที่ดิน สปก. 2 ล้านไร่แยกเป็นที่ดินที่รังวัดแล้วเสร็จ แต่ยังไม่ปฏิรูปหรือออกเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. 4-01 จำนวน 5 แสนไร่ และ ที่ดิน 1.5 ล้านไร่ ที่ยังไม่เข้าระบบ แต่มีการจับจองแล้ว ซึ่งเข้าข่ายคล้ายกับการถือครองของนางสาวปารีณา

จากการสืบค้นข้อมูลเบื้องต้นพบว่าที่ดินทั้ง 2 ล้านไร่นี้ ปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ในการถือครองของนักการเมือง และผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น จึงเป็นความท้ายทายของ ส.ป.ก. ในยุคที่มี ร้อยเอกธรรมนัสดูแล ว่าจะดำเนินการยึดคืน เช่นเดียวกับที่กรณีนางสาวปารณี ได้หรือไม่ เพราะอย่าลืมว่า ผู้ที่ถือครองอยู่นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นคนกันเอง และหากไม่แน่จริงคงไม่ถือครองที่ดินได้จำนวนมาก และนานส่งต่อจากรุ่นพ่อ สู่รุ่นลูกได้ขนาดนี้

การปฏิบัติการยึดคืนที่ดินตามขั้นตอนของ ส.ป.ก. จะเริ่มจากการประกาศให้ผู้ถือครองแจ้งตัวตน ระบุจำนวนการถือครองเพื่อขอรังวัด หากพบว่าถือครองถูกต้องก็จะได้รับเอกสารสิทธิ์ให้ทำประโยชน์ไป ภายใต้เงื่อนไข ต้องเป็นเกษตรกรที่ไม่มีที่ทำกิน ถือครองได้ไม่เกิน 50 ไร่ ใช้ประโยชน์เพื่อภาคการเกษตร และห้ามจำหน่าย จ่าย โอน แต่สามารถถ่ายโอนสิทธิ์ให้ลูกหลานได้

ในกรณีที่ผู้ถือครอง แจ้งตัวตน แล้วพบว่าถือครองไม่ถูกต้อง ไม่เป็นเกษตรกร ถือครองจำนวนมากเกิน 50 ไร่ขึ้นไป และไม่ได้ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร เหล่านี้จะต้องคืนที่ดินให้กับ ส.ป.ก. ทั้งหมดแต่กรณีที่ไม่ยินยอมคืนแต่โดยดี ส.ป.ก. จะแจ้งความดำเนินคดีทางอาญา ฐานเป็นผู้บุกรุกมี โทษสูงสุดคือ การขับไล่ให้ออกจากพื้นที่ ปรับ 1,000 บาทต่อไร่ และจำคุก 1เดือน

157642073630

กฎหมายของส.ป.ก. นั้น เป็นการให้โอกาสด้านการเจรจาเพื่อให้ผู้ถือครองยินยอมคืนพื้นที่แต่โดยดี ทำให้การพิจารณาและการสั่งให้ออกจากพื้นที่ล่าช้า ไม่ทันใจใครหลายๆคนรัฐบาลชุดที่ผ่านมาจึงเปิดช่องให้ ม.44 เข้ายึดคืนได้ทันที กับผู้ที่ถือครองเกิน 500 ไร่ขึ้นไป อย่างที่ปรากฏการณ์ยึดคืนพื้นที่สวนส้ม 3 แห่งใน จ.เชียงใหม่จำนวน 5,900 ไร่ส่วนกรณีสุดท้าย หากไม่มีใครเข้ามาแจ้งตัวตน เจ้าหน้าที่ของ ส.ป.ก. จะถือสิทธิ์เข้าไปรังวัดทันที

...วิธีการสุดท้ายดูเหมือนไม่ซับซ้อน แต่ก็ไม่ง่ายเพราะ อย่างที่รู้ ๆกันคนถืออ้างสิทธิ์ถือครองอยู่นั้นล้วนแล้วแต่ไม่ธรรมดาทั้งสิ้น