เทรนด์การตลาดปีหน้า ..สืบต่อจากในปีนี้

เทรนด์การตลาดปีหน้า ..สืบต่อจากในปีนี้

ส่อง 10 เทรนด์ ที่ธุรกิจต้องเตรียมความพร้อม พร้อมทั้งหาแนวทางปรับตัวและพัฒนากลยุทธ์ การตลาดให้สอดคล้อง

ย่างเข้าสู่เดือนสุดท้ายของปี หลายท่านกังวลว่า โลกการตลาดจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แนวโน้มและเทรนด์ในปีหน้า ก็มีหลายสำนักเริ่มออกมาคาดการณ์กันไปต่างๆ นานา แต่จะมี 10 เทรนด์ ที่ธุรกิจต้องเตรียมความพร้อม และแนวทางในการปรับตัวและพัฒนากลยุทธ์ การตลาดให้สอดคล้อง ดังต่อไปนี้

157613865064

1.Presumers and Custowners มาจากคำสองคำ คือคำว่า Pre กับ Consumers แปลว่า ลูกค้าในปัจจุบันจะไม่เป็นแค่ผู้บริโภค แต่จะมีส่วนร่วมในการออกสินค้ารูปแบบใหม่ มีส่วนในการตัดสินใจในการออกรสชาติใหม่ ขนาดใหม่มากขึ้น การสอบถามลูกค้าและให้มีส่วนร่วมจะเป็นสิ่งจำเป็น ดังแคมเปญการส่งเสริมการตลาด เปิดโอกาสให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

ผลที่ตามมาจากกิจกรรมการตลาดดังกล่าวก็คือ Custowner ซึ่งหมายถึง การที่ลูกค้ารู้สึกเป็นเจ้าของแบรนด์นั้นๆ ที่ตนเองได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย ตั้งแต่แรก การสร้างความผูกพันเป็นเจ้าของ นี่เองจะทำให้เกิด Brand Advocates ที่แปลว่าลูกค้าที่เป็นสาวกมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์

2.Mobile Moments เทรนด์นี้ หมายถึง การที่ผู้บริโภคจะใช้เวลาในการจดจ้องโทรศัพท์มือถือมากขึ้น เป็นการตอกย้ำ ผลสืบเนื่องมาจากปีก่อนๆ ที่ผู้บริโภคไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นแค่การติดต่อสื่อสารเท่านั้น แต่เป็นการใช้ชีวิต มีไลฟ์สไตล์ มีช่วงเวลาของชีวิตอยู่ในโทรศัพท์มือถือ ปฏิกิริยาระหว่างคนไม่ได้ขาดหายไป แต่เป็นการพบกันในโลกของเทคโนโลยี

3.Emerging 2 อ่านว่ายกกำลังสอง ดังนั้นการตลาดในยุคใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ในปีนี้จะมีสินค้าจากตลาดประเทศต่างๆ มากขึ้นมาก การนำเสนอสินค้าระหว่างประเทศจากประเทศใหม่จะเพิ่มพูนและหลั่งไหลมากขึ้น เหตุผลเนื่องจากการสื่อสารทางการตลาดที่เปิดกว้างมากขึ้นนั่นเอง

157613872429

4.Appscriptions เพราะแนวโน้มสุขภาพมาแรง เทรนด์นี้จึงเป็นการรวมเอาคำสองคำ ได้แก่ คำว่า Prescriptions กับคำว่า Applications ซึ่งหมายถึง "ใบสั่งยา" ของหมอที่คอยแนะนำว่าควรจะกินยาอะไร ต้องดื่มอะไรนั้น จะเป็นคำถามที่มีคำตอบผ่าน Applications ทั้งหลาย มีทั้งคำแนะนำในการรักษาสุขภาพ คำเตือน ข้อแนะนำในการรักษา ตลอดไปจนถึงการวัดชีพจร หรือตรวจสุขภาพจะสามารถกระทำได้ง่ายผ่าน Applications ช่วยให้ผู้บริโภคเกิดความสะดวกสบายและพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น

5.New Life Inside แนวโน้มการตลาดในปีที่ผ่านมามีการรักษาสิ่งแวดล้อม รณรงค์ให้ใช้สินค้าที่สามารถนำเอามาใช้ประโยชน์ได้อีก เอาสินค้ามา recycle เพื่อพัฒนา เพื่อไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้มากขึ้น แต่การพัฒนาเหล่านี้ในปีนี้จะมีมากขึ้นกว่าเดิม การมี new life inside แปลว่า ของที่ทิ้งไปแล้ว ไม่ใช้แล้วต้องสามารถ นำเอาไปทำไปเป็นอย่างอื่นได้อีก เช่น กล่องสินค้าที่ไม่ใช่เป็นแค่การใช้กระดาษ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่กล่องนั้นสามารถไปเป็นเก้าอี้กระดาษหรือที่ใส่ของได้อีก

157613900519

6.Full Frontal สื่อความตามตัวได้ว่า เปลือยหมดเปลือก แฉหมด กิจกรรมการตลาดของสินค้าต่างๆ ต้องมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ว่ามีคุณสมบัติจริงตามที่กล่าวอ้างไว้ในสรรพคุณหรือไม่ การนำเสนอคุณประโยชน์ไปยังลูกค้าต้องให้ข้อมูลหมดเปลือก ไม่มีแบบครึ่งๆ กลางๆ เพราะในที่สุดแล้วผู้บริโภคก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้เองอยู่ดี การบอกไปหมด เป็นการล่วงหน้าย่อมดีกว่าลูกค้ามาสืบทราบภายหลัง

7.Celebration Nation กิจกรรมทางการตลาดไม่เพียงแต่เป็นการนำเสนอสินค้าไปยังต่างประเทศ แต่ต้องเป็นการนำเสนอวัฒนธรรม ประเพณี สิ่งที่ติดตัวไปกับแบรนด์นั้นๆ คือ Brand Culture วัฒนธรรมของแบรนด์ ขนบธรรมเนียมจากประเทศใหม่ๆ จะเป็นที่ยอมรับในสายตาชาวโลกมากขึ้น

8.Datamynning เป็นการเพี้ยนจากคำว่า Data Mining แต่เป็น My ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของลูกค้า จะสามารถกระทำได้ผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทางอินเทอร์เน็ต หรือโทรศัพท์มือถือต่างๆ ผู้บริโภคยินดีที่จะให้ข้อมูลการบริโภคและการตัดสินใจของตนเอง และคาดหวังว่าจะนำเอาข้อมูลนั้นไปพัฒนาให้มีสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของตนเองได้มากขึ้น ส่งผลให้เรื่องของ Internet of Things มีบทบาทมากขึ้น

9.Again Made Here แนวโน้มจากปีก่อนๆ ที่ลูกค้าต้องการของแปลก ของใหม่ตลอดเวลา (Newism) เป็นสิ่งจำเป็นที่การตลาดจะต้องกระทำการตลาดในระดับประเทศได้รับข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น ความสามารถเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะเป็นแนวทางให้สินค้าที่ผลิตในประเทศกลับมามีบทบาทมากขึ้น มีระดับขีดความสามารถการต่อสู้มากขึ้น เป็นที่มาของคำว่า Again Made Here

10.Brand Demanding แบรนด์มีความสามารถในการสั่ง ให้ลูกค้ามีพฤติกรรมไปในทิศทางที่ตนเองต้องการได้ ถ้าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ลูกค้าสามารถทำตามได้มากขึ้น ดังเช่น แบรนด์หนึ่งออกมารณรงค์ ให้ลูกค้าของตนเลือกซื้อสินค้าเฉพาะที่ประหยัดไฟเบอร์ห้า หรือให้ช่วยกันประหยัดน้ำมันหรือช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม แบรนด์ต่างๆ จะมีข้อเรียกร้องให้ลูกค้าของตนเองปฏิบัติตามมากขึ้น เพื่อให้เกิดความผูกพันกันได้ในที่สุด

เทรนด์ต่างๆ ที่นำเสนอมาก็เป็นแค่การคาดคะเนสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่สิ่งที่แน่นอน ก็คือความยืดหยุ่นของกิจกรรมทางการตลาดที่จะต้องมีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงให้ได้

เพราะที่สุดแล้ว เทรนด์ที่แน่นอนที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นนิรันดร์ครับ