'สตาร์ทอัพ' เริ่มโต ซิเคียวริตี้ต้อง 'ไม่ธรรมดา'

'สตาร์ทอัพ' เริ่มโต ซิเคียวริตี้ต้อง 'ไม่ธรรมดา'

การป้องกันภัยไซเบอร์ที่เหมาะสม ช่วยป้องกันความปลอดภัยให้ธุรกิจได้อย่างไร้กังวล

เรามักจะได้เห็นว่าในนิตยสารธุรกิจส่วนใหญ่เต็มไปด้วยเรื่องราวของนักธุรกิจและวิธีฝ่าฟันก่อตั้งบริษัทขึ้นมาสู่ความสำเร็จ จากงานอดิเรก หรือไอเดียขำๆ กลายมาเป็นธุรกิจขนาดเล็ก จากเชฟอาหารกลายเป็นผู้ก่อตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพอาหาร หรือพนักงานออฟฟิศตำแหน่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์สู่การพัฒนาซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือคุณแม่ยังสาวที่ผันตัวเองมาเป็นเจ้าของธุรกิจออนไลน์ ผู้คนมีความพลิกผันทางสายอาชีพได้เสมอ

อเล็กซานเดอร์ มอยซีฟ ประธานบริหารฝ่ายธุรกิจ บริษัทแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า การแปลงโฉมจากเจ้าของธุรกิจรายย่อย ซึ่งมักเริ่มต้นจากงานอดิเรกมาสู่ธุรกิจแบบจริงจัง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนบางครั้งเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จหน้าใหม่ไม่มีเวลาได้ชื่นชมความสำเร็จ และตระหนักถึงขนาดของธุรกิจความเป็นไปต่างๆ อย่างถ้วนถี่

สังเกตว่าเมื่อได้พูดคุยกับเจ้าของธุรกิจจากศูนย์นวัตกรรมของเรา (Innovation hub เป็นแผนกหนึ่งของแคสเปอร์สกี้ที่ทุ่มเทไปกับการสรรหาคัดสรรสตาร์ทอัพทั้งภายในและนอกองค์กรที่มีนวัตกรรมเด็ดๆ) ต่างมองตัวเองเป็นเจ้าของธุรกิจ (entrepreneurs) แต่ยังไม่ใช่ผู้ที่จำเป็นต้องใช้บริการเพื่อธุรกิจเต็มรูปแบบ เช่น ส่งข้อความ การประชุมผ่านวิดีโอ บริการคลาวด์และสตอเรจ เป็นต้น

เป็นเพียงเส้นกั้นบางๆ ระหว่างสองสถานะนี้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของธุรกิจใหม่ตระหนักถึงสถานภาพของตัวเอง ก็จะทำให้อะไรๆ ง่ายขึ้นมาก แก้ปัญหาธุรกิจได้เร็วและตรงจุดด้วยประสิทธิภาพ

ยกเคส “อีเกีย”บริการเพื่อความสะดวก

เรื่องราวของ “เวนดี้” และ “ปีเตอร์” เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนถึงวิธีการดังกล่าว “ปีเตอร์” เป็นกุ๊ก ชื่นชอบการใช้เวลาว่างไปกับการทดลองทำขนมเพื่อสุขภาพ และขายผ่านไอจี ส่วน “เวนดี้” เป็นที่ปรึกษาให้บริษัทใหญ่โต อยากมีชีวิตที่ตื่นเต้นแทนชีวิตสาวออฟฟิศที่จำเจ

เมื่อทั้งปีเตอร์และเวนดี้ ต่างพบว่า สามารถพึ่งพาอีกฝ่ายได้ จึงคิดลองตั้งธุรกิจเล็กๆ ร่วมกัน คือ ธุรกิจร้านกาแฟเล็กๆ และเมื่อถึงคราวต้องหาซื้อเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่ง อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ทั้งคู่ไปเลือกซื้อของที่อิเกีย ชมสินค้าอยู่เป็นนานพร้อมรถเข็นใส่ของ เลือกถ้วยกาแฟ ช้อน เก้าอี้ ต้นไม้ตกแต่ง ใช้เวลาที่มีค่าไปนานทีเดียว

ที่จริงแล้ว อิเกียมีบริหารพิเศษสำหรับเจ้าของธุรกิจ “IKEA Business” ช่วยให้งานจัดซื้อเป็นงานง่าย เพียงเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ สั่งซื้อ ส่งของ และระบุการติดตั้ง จ่ายผ่านเครดิตได้อีก ลดเวลาที่ต้องเดินดูเดินเลือกสินค้าในร้านลงไปได้เลย ทุกอย่างทำได้ทางออนไลน์ เก็บเวลาไว้ไปใช้กับธุรกิจใหม่ดีกว่า แต่เสียดายที่ทั้งปีเตอร์และเวนดี้ไม่ได้คิดถึงจุดนี้

เลือกซิเคียวริตี้ที่เหมาะกับธุรกิจ

จากข้างชี้ว่า เจ้าของธุรกิจเล็กๆ รวมทั้งลูกค้าแคสเปอร์สกี้ มีแนวโน้มใช้ตัวช่วยสำหรับผู้บริโภคทั่วไปหรือคอนซูเมอร์ แทนที่จะใช้เครื่องมือและข้อเสนอพิเศษสำหรับธุรกิจ

รายงานแคสเปอร์สกี้ เรื่อง “Beware being breached: why data protection is vital for small businesses” สัมภาษณ์บริษัทที่มีพนักงานไม่ถึง 50 คนเกือบ 700 บริษัททั่วโลก พบว่า บริษัทหนึ่งในสี่ (25%) ยอมรับว่าใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันภัยไซเบอร์แบบที่ใช้ในบ้านมาใช้ในธุรกิจ ซึ่งตรงกับข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์จากแผนกจัดจำหน่ายของบริษัทว่า บริษัทองค์กรธุรกิจพากันมาซื้อโปรดักส์ไอทีซิเคียวริตี้ สำหรับคอนซูเมอร์ไปใช้ป้องกันธุรกิจของตัวเอง

บางครั้งตัวเลือกนี้อาจดูง่ายกว่า ถูกกว่า และรวดเร็วกว่าสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก และไม่ต้องพึ่งพาว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญไอทีมาดูแล แค่ตั้งค่า ‘เซ็ตและก็ลืมไปได้เลย’ กับระบบป้องกันความปลอดภัยไอทีในจำนวนเงินที่พอไหว และก็ดูเหมือนว่าผลิตภัณฑ์สำหรับใช้งานในบ้านเพื่อป้องกันสมาชิกครอบครัวก็เพียงพอที่จะใช้ป้องกันธุรกิจด้วยเช่นกัน

ปรับมุมมองอย่างนักธุรกิจ

ความปลอดภัยสำหรับใช้งานในคอนซูเมอร์เป็นเรื่องสุดยอด แม้ฟังดูดี แต่ยังขาดฟีเจอร์ที่จำเป็น แม้จะเป็นเพียงธุรกิจเล็กๆ ก็ตามที ธุรกิจควรตระหนักรู้สถานภาพตัวเองว่าเป็นองค์กรธุรกิจ ไม่ได้เป็นผู้บริโภคตามบ้านทั่วไป

เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องเรียนรู้พิจารณาทุกแง่มุม ที่จะก่อประโยชน์ให้บริษัท ต้องหาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดให้ธุรกิจตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์เข้าคาเฟ่เล็กๆ หรือบริหารโลจิสติกส์จากสโตร์ที่โตเกียวไปโคเปนเฮเกน

ก้าวเล็กๆ เหล่านี้นำไปสู่ธุรกิจที่จะเติบโตขึ้นได้อย่างมั่นคง แต่ที่สำคัญควรต้องช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาอันมีค่าของคุณ ยิ่งไปกว่านั้น การจัดการการป้องกันภัยไซเบอร์ที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันความปลอดภัยให้แก่กระบวนการทางธุรกิจทั้งหมดได้ไร้กังวล