สิทธิของ ‘พ่อ’ เพียงพอหรือยัง

สิทธิของ ‘พ่อ’ เพียงพอหรือยัง

วันลาคลอดลูกสำหรับ พ่อ มีเวลาจำนวน 15 วัน นั้นเพียงพอจริงหรือ

หนึ่งชีวิตเกิดใหม่ล้วนหน้ายินดีโดยเฉพาะทั้งคุณพ่อและแม่มือใหม่ ปัญหาหนึ่งที่มาพร้อมลูกน้อยลืมตาดูโลกคือการจัดสรรวันลาของผู้ที่เป็นพ่อและแม่

  • ไม่ได้ท้อง จึงไม่ต้องลาคลอด 

ในประเทศไทยลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดได้ 98 วัน โดยวันลาคลอดบุตรรวมถึงการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอดนับรวมใน 98 วันด้วย สำหรับการจ่ายค่าจ้างในวันลามีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงที่ลา 45 วัน

ปัญหาการลาคลอดของแม่ๆ ถูกพูดถึงในทุก ๆปีพร้อมทั้งมีองค์กรเรียกร้องต่อวันลาที่เพิ่มขึ้น แต่ส่วนสำคัญที่ถูกมองข้ามคือวันลาของ ‘พ่อ เพราะข้อกฎหมายที่พูดถึงวันลาคลอดของพ่อนั้น เพิ่งมีในปี 2555 ว่าด้วย ข้าราชการ หรือ ลูกจ้างราชการ จะมีสิทธิลาไปช่วยเหลือภรรยาที่กำลังจะคลอดบุตร และต้องเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้ไม่เกิน 15 วัน โดยจะยังได้รับเงินเดือนในช่วงที่ลาตามปกติ แต่จะต้องเป็นการลาภายใน 30 วันแรกนับตั้งแต่ภรรยาคลอดบุตรเท่านั้น ซึ่งจะต้องแนบหลักฐานสำเนาทะเบียนสมรสและสำเนาสูติบัตรของบุตรด้วย

นับแล้ววันลาคลอดของพ่อน้อยกว่าแม่ถึง 3 เท่าหรือน้อยกว่า 85 วัน สำหรับระเบียบของหน่วยงานภาคเอกชนยังไม่มีออกมาชัดเจนว่าพ่อสามารถลาได้กี่วัน หรือเรียกง่าย ว่ายังไม่มีกฎหมายออกมารอบรับว่าพ่อสามารถลาคลอดได้ ขณะเดียวกัน ประเทศโปแลนด์มีกฎหมายลาคลอดสำหรับพ่อ 14 วัน ประเทศสเปน 35 วัน ประเทศนอร์เวย์ 70 วัน และประเทศออสเตรียมากสุดถึง 3 ปี 

157551761594

  • ไม่ใช่คนคลอด ยิ่งต้องลา 

ความพะวงของคนเป็นพ่อนอกจากการดูแลลูกแล้ว คือเรื่องค่าใช้จ่าย ทำให้คุณพ่อทั้งหลายห่วงงานจนบางคนเลือกที่จะไม่ลาเพื่อรักษาเงินก้อนนั้นไว้ แต่ถึงอย่างนั้นช่วงเวลาหลังคลอดใหม่ ความน่าเป็นห่วงไม่ได้ตกที่เด็กอย่างเดียว แต่แม่หรือผู้คลอดก็น่าห่วงเช่นเดียวกัน 

พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด เผยแพร่บทความในเว็บไซต์กรมสุขภาพจิตว่า ปัญหาเสี่ยงที่แม่ทุกคนพบเจอคือ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด 

สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความเครียดโดยปกติทั่วไป เนื่องจากหลังคลอด อดนอน นอนน้อย ต้องดูแลลูก เหตุเพราะไม่มีคนช่วยเลี้ยงลูก โดยเฉพาะแม่ที่ให้นมลูกก็ต้องตื่นบ่อยๆ ระยะอาการมีจนถึงขั้นรุนแรงคือการมีอาการทางประสาท 

พญ.สุธีรา ระบุว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ คนรอบข้าง ใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ สามี ต้องคอยสังเกต และยื่นมือเข้ามาช่วย โดยต้องอดทน เข้าใจกัน คอยให้กำลังใจ สนับสนุน ช่วยกันให้ผ่านแต่ละเหตุการณ์ไปให้ได้ อย่าตำหนิ โกรธ โมโห เวลาคุณแม่มีอารมณ์เหวี่ยง คุณพ่อควรผลัดเปลี่ยนกันดูแลลูก เพื่อให้คุณแม่ได้พักผ่อน ช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับ

ดังนั้นพ่อจึงเป็นตัวแปรสำคัญในการช่วยดูแลลูกหลังคลอดและแบ่งเบาภาระของภรรยาเช่นกัน 

มีรายงานว่าสุขภาพของเด็กเกิดใหม่และเศรษฐกิจประเทศมีแนวโน้มพัฒนาไปในเชิงบวก การลาไปเลี้ยงลูก (Maternity Leave) เพิ่มระยะเวลาการให้นมลูกของเหล่าแม่ๆ เด็กแรกเกิดได้รับสารอาหารที่ดีจากนมแม่ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในช่วงเปราะบางที่สุดของชีวิต แม่เองก็ไม่ได้เปล่าเปลี่ยวใจ เนื่องจากมีพ่อดูแลอยู่ใกล้ๆ ทำให้คุณแม่มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เครียด ส่งผลต่อการผลิตน้ำนมให้มีมากขึ้น อีกทั้งการได้ใกล้ชิดกันจะเป็นการส่งเสริมความรักความผูกพันกันระหว่างพ่อลูกเพิ่มมากขึ้น

งานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่าประเทศที่มีนโยบายการลาคลอดและลาไปเลี้ยงลูก ช่วยลดอัตราเด็กเสียชีวิตลงได้ไม่ต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ สุขภาพจิตของพ่อดีขึ้นจากการได้ผูกพันกับลูกๆ ในประเทศไทย

สำหรับลูกหนึ่งคน บทบาทของพ่อและแม่ล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น เพราะทั้งสองล้วนมีหน้าที่หล่อหลอมให้หนึ่งชีวิตเติบโตอย่างมีคุณภาพและความสุขภายใต้ความปลอดภัยแต่ถึงอย่างนั้นในมุมมองของผู้ประกอบการสิทธิของพ่อ ต่อวันลายังต้องรอการพิจารณาต่อไปในอนาคต พร้อมเงื่อนไขประกอบหลายประการ 

การเป็นพ่อคนไม่ง่ายเลยจริงๆ !