นิเทศฯจุฬาถกสาธารณะ 'มาดามเดียร์' แนะการศึกษา 'ธนาธร' ชี้แก้อำนาจการเมือง

นิเทศฯจุฬาถกสาธารณะ 'มาดามเดียร์' แนะการศึกษา 'ธนาธร' ชี้แก้อำนาจการเมือง

คนรุ่นใหม่กับการมีส่วนร่วม กำหนดนโยบายสาธารณะ! "นิเทศฯจุฬา" เปิดถกสาธารณะ ด้าน "มาดามเดียร์" แนะการศึกษา "ธนาธร" ชี้แก้อำนาจการเมืองก่อน ปัญหาอื่นจะง่ายขึ้น

ช่วงเช้าวันนี้ (4 ธ.ค.) ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีสนทนาสาธารณะ ในหัวข้อ คนรุ่นใหม่กับการมีส่วนร่วม กำหนดนโยบายสาธารณะ โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย, นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ,นางสาววทันยา วงษ์โอภาสี หรือมาดามเดียร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ , นายพริษฐ์ วัชรสินธุ อดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ดำเนินงานเสวนาโดย นางสาวประวีณมัย บ่ายคล้อย ผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

นิเทศฯจุฬาถกสาธารณะ 'มาดามเดียร์' แนะการศึกษา 'ธนาธร' ชี้แก้อำนาจการเมือง

เริ่มต้นที่ประเด็นของการศึกษา โดยนักศึกษาได้ตั้งคำถามเพื่อขอความคิดเห็นจากตัวแทนนักการเมือง ว่าในปัจจุบัน นักเรียนไทยประสบปัญหา กับคำถามที่เกิดขึ้นกับตัวเองหลายอย่าง อาทิ จบไปแล้วจะไปทำอะไร เรียนมากหรือน้อยดีกว่ากัน นโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สามารถใช้ได้จริงหรือไม่ เด็กไทยควรทำอย่างไรดี แล้วใครสามารถเข้ามาช่วยส่วนนี้ได้บ้าง และมาช่วยตรงไหน

น.ส.วทันยา กล่าวว่า การศึกษาถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งเป็นพื้นฐานของทุกเรื่อง ยอมรับว่าในปัจจุบันอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เมื่อเทียบกับทั่วโลก ยังค่อนข้างห่างไกล ส่วนตัวมองว่า การแก้ปัญหาต้องมีการกระตุ้นในหลายๆส่วน อาทิ เรื่องของแผนการเรียนรู้ , เรื่องของบุคลากรอย่างครู ที่ต้องมีการคัดกรองให้มีคุณภาพ , การบริหารจัดการในส่วนของโครงสร้าง รวมถึงการเข้ามาของเทคโนโลยี ที่อาจจะมาบทบังการเข้าทำงานของมนุษย์ มองว่าก่อนอื่นภาครัฐ ต้องพยามเข้ามาสนับสนุน และช่วยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เต็มที่

นิเทศฯจุฬาถกสาธารณะ 'มาดามเดียร์' แนะการศึกษา 'ธนาธร' ชี้แก้อำนาจการเมือง

หากยกตัวอย่าง ในฐานะที่ตนเป็นแม่ ที่ต้องส่งลูกไปเข้าเรียนในโรงเรียน ตนยอมรับ ว่าส่งเรียนในโรงเรียนที่มีหลักสูตรนานาชาติ เหตุผลเพราะเข้าใจระบบการศึกษาของไทย ว่าอาจจะมีการตัดทอนความคิดเห็นจากครูอยู่บ้าง ซึ่งสิ่งนี้ อาจทำให้เด็กไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็น ตนคิดว่ากระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการคิด เป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อเยาวชน ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต เพราะฉะนั้นจากประเด็กคำถาม ภาครัฐคงต้องเป็นแกนนำหลัก ในการศึกษา และเดินหน้าแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ลำพังจะให้ภาครัฐทำอย่างเดียว ก็คงไม่ได้ นักเรียน , นักศึกษา สามารถมีส่วนในการช่วยสะท้อนปัญหาต่างๆ หรือวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆได้เช่นกัน ในส่วนของปัญหาสิ่งแวดล้อม

มาดามเดียร์ กล่าวว่า ต้องมีการปลูกฝังร่วมกัน เรื่องของอากาศ แน่นอนทุกคนต้องใช้ คุณภาพของอากาศเลยมีความสำคัญ ปัญหาเรื่อง PM2.5 จริงๆ เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่พึ่งมาตื่นตัว ซึ่งปัญหาตรงนี้ เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ หากพูดถึงในกรุงเทพมหานคร ยานพาหนะ คือต้นตอของปัญหา แต่ถ้ามองไปทางภาคเหนือของประเทศไทย ยังพบว่า มีการเผาขยะ หรือเผาป่า ซึ่งนี่ก็คือต้นเหตุของปัญหานี้เช่นกัน

นิเทศฯจุฬาถกสาธารณะ 'มาดามเดียร์' แนะการศึกษา 'ธนาธร' ชี้แก้อำนาจการเมือง

ปัจจุบันภาครัฐพยายามรณรงค์และควบคุมอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหาส่วนใหญ่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากประชาชนเอง ฉะนั้นต้องมีการปลูกฝัง หรือสร้างจิตสำนึก ให้ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าว อีกส่วนหนึ่ง ส่วนตัวมองว่า อาจจะต้องมีการกฎหมาย เพื่อผลักดันให้มีการแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น รวมถึงต้องมีการบูรณาการร่วมกัน จากหลายภาคส่วน

ด้านนายธนาธร พูดถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเช่นกัน โดยกล่าวว่า ก่อนอื่นต้องแก้ใน 3 ประเด็น คือ 1.การบังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 ไม่ใช่พูดถึงแค่ช่วงที่เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ 2.การทำงานร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ โดยใช้มาตรการทางการค้า หรือการทูต เชิญชวนให้ประเทศเพื่อนบ้านร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องนี้ และ 3.การแก้กฎหมายเพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้ ทำให้เกิดจิตสำนึกลดการเผาทำลายป่า ส่วนในพื้นที่เขตเมือง การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ ที่จำเป็นที่สุดคือ การปรับขนส่งสาธารณะ ให้เข้ากับระบบขนส่งปัจจุบัน บีบคนเข้าสถานีรถไฟฟ้า ให้ทุกพื้นที่มีรถเชื่อมต่อมายังสถานีรถไฟฟ้าเพื่อลดการใช้รถส่วนบุคคล

157543835366

ทั้งนี้ นายธนาธรทิ้งท้ายว่า ปัญหาทั้งหมด เป็นปัญหาทางด้านการเมือง หากไม่สามารถแก้เรื่องอำนาจทางการเมืองได้ ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเชิงประเด็นอื่นๆได้ ในด้านเศรษฐกิจ นายธนาธร ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในไทยตอนนี้ มีปัญหาในด้านของการส่งออก และกำลังซื้อที่ลดลง ซึ่งแนวทางแก้ปัญหา คือการขับเคลื่อนด้วยงบประมาณจากภาครัฐ ด้วยการจัดงบประมาณก้อนใหญ่ และมีประสิทธิภาพมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยก่อนหน้านี้ประเทศไทยใช้วิธีดึงต่างชาติ เข้ามาลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ในขณะนี้ ต้องปรับมุมมองใหม่ ด้วยการนำปัญหาสังคม มาตั้งเป็นดีมานด์ แล้วนำดีมานด์มาสร้างซับพลายเชน โดยยกตัวอย่าง ปัญหาขยะในประเทศไทย ที่หากจะสร้างเตาเผาขยะให้ถูกต้องตามหลักสิ่งแวดล้อม ควรลงทุนสร้างเตาเผาเอง ซึ่งใช้งบประมาณ 200,000 ล้านบาท แทนการซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามา หรือปัญหารถเมล์ควันดำ ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของฝุ่น PM2.5 โดยเสนอให้เปลี่ยนไปใช้รถเมล์ไฟฟ้า 10,000 คัน โดยให้คนไทยคิดค้นและผลิตเอง แทนการนำเข้ารถจากต่างประเทศ เพื่อให้อาชีพ และการจ้างงานในประเทศ

นิเทศฯจุฬาถกสาธารณะ 'มาดามเดียร์' แนะการศึกษา 'ธนาธร' ชี้แก้อำนาจการเมือง

นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ คือการยกเลิกการผูกขาดสัมปทานต่างๆ และการกระจายอำนาจ ยกเลิกระบบราชการแบบรวมศูนย์ เพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ และกระตุ้นเศรษกิจแบบทั่วถึงทุกพื้นที่ ด้านนายพริษฐ์ ได้พูดถึงหัวข้อของการให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพว่า บางคนเป็นหลายโรคต้องได้รับการรักษาเรื่อยๆ และต่อเนื่อง มองว่าปัญหาเหล่านี้จะทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ ด้วยสภาพแวดล้อม , เรื่องของสังคมผู้สูงวัยที่มากขึ้น หากถ้าพูดถึงการรักษาพยาบาล แน่นอนจำเป็นจะต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆนำเข้ามาเพื่อใช้รักษา ฉะนั้นก็เกิดคำถามว่า ค่าใช้จ่ายมากมายส่วนนี้จะเอามาจากไหน เรื่องนี้อ้างอิงถึงด้านเศรษฐศาสตร์ แล้วจะสามารถลดได้อย่างไร ส่วนตัวเสนอให้หันมาออกกำลังกายให้มากขึ้น ตั้งคำถามต่อว่า ป่วยแล้วจำเป็นหรือไม่ ที่ต้องไปรักษาเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่สุดเท่านั้น สามารถลดวันที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลได้หรือไม่ ซึ่งหากทำได้ มันจะเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนในครอบครัวมากขึ้น เพราะจะมีเวลาไปทำอย่างอื่น ส่วนการเพิ่มรายได้ ส่วนตัวมองได้ 2 ทาง หนึ่ง หาโอกาสให้ผู้สูงอายุมีรายได้ และ สอง การรณรงค์ให้คนไทยรู้จักการออม