‘ทูตพาณิชย์’ เปิดปม สหรัฐซ่อนเร้นตัด ‘จีเอสพี’

‘ทูตพาณิชย์’ เปิดปม สหรัฐซ่อนเร้นตัด ‘จีเอสพี’

หลังสหรัฐประกาศตัดสิทธิพิเศษทางการค้าสินค้าไทยภายใต้โครงการ Generalized System Preference สินค้าไทย 573 รายการ ซึ่งกำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย.2563 ด้ายเหตุผลเรื่องแรงงาน "เกิดคำถามมากมายว่า เหตุที่อ้างสอดคล้องกับผลที่เกิดหรือไม่"

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ เมืองไมอามี เผยผลวิเคราะห์สถานการณ์การค้าระหว่างไทยและสหรัฐว่า จากการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศสหรัฐ ที่มีท่าทีแข็งกร้าวต่อประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างจีน แต่ท่าทีดังกล่าวส่งผลกระทบต่อประเทศคู่ค้ารายอื่น ของสหรัฐ ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา และเอเชีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย

จากก่อนหน้านี้ที่ไทยเคยถูกรัฐบาลสหรัฐสอบสวนกรณีการค้าที่ไม่เป็นธรรมมาแล้วในช่วงต้นปี 2560 ซึ่งในขณะนั้นรัฐบาลสหรัฐยังไม่ได้มีการกำหนดมาตรการทางภาษีนำเข้าที่ชัดเจนใดๆ เพื่อกดดันให้ไทยเร่งหามาตรการในการลดมูลค่าการค้าที่เกินดุลสหรัฐมาอย่างต่อเนื่อง

จนกระทั่งเมื่อเดือน ..ที่ผ่านมา สหรัฐได้ประกาศที่จะตัดสิทธิพิเศษทางการค้าสินค้าไทย ภายใต้โครงการ Generalized System Preference สินค้าไทย 573 รายการ ซึ่งกำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 เม..2563 โดยอ้างเหตุผลมาด้านสถานการณ์สิทธิแรงงาน และสถานการณ์การค้ามนุษย์ในไทย

157534607033

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าเหตุผลดังกล่าวดูเหมือนจะสวนทางกับรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking in Person Report หรือ TIP) โดยกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ (U.S. Department of State) ฉบับล่าสุดที่เผยแพร่เมื่อเดือน มิ.ย.2562 ที่จัดอันดับให้ไทยอยู่ในกลุ่ม 2 (Tier 2) หรือประเทศที่ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำของกฎหมาย ป้องกันเหยื่อการค้ามนุษย์ (The Trafficking Victims Protection Act หรือ TVPA) ไม่ครบถ้วน แต่มีความพยายามอย่างมีนัยยะ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน

ทั้งนี้อันดับดังกล่าวเป็นอันดับสูงสุดที่ไทยเคยได้รับการจัดอันดับ และเป็นกลุ่มเดียวกันกับประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศ ได้แก่ เดนมาร์ก เยอรมนี อิตาลี และสิงคโปร์ เป็นต้น

"หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยไม่เร่งพยายามหาทางแก้ไข หรือเจรจาเพื่อหาทางออกอย่างเร่งด่วน อาจจะส่งผลกระทบต่อยอดการส่งออกของไทย เนื่องจากสหรัฐถือเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย และอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวม โดยเฉพาะภาคการผลิตไทยที่พึ่งพาการส่งออกในอัตราค่อนข้างสูง"

นอกจากนี้สหรัฐยังมีนโยบายเพิ่มอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงรอการพิจารณา แม้ว่าจะเลยกำหนดเมื่อวันที่ 13 ..2562 ไปแล้วก็ตาม หากสหรัฐตัดสินใจเพิ่มอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์ในอนาคตก็อาจจะส่งผลกระทบทางตรงต่อผู้ผลิตในยุโรปและเอเชีย

รวมถึงผู้ประกอบการไทยที่เป็นผู้ผลิต และส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ให้แก่ผู้ผลิตทั้งในยุโรปและเอเชีย และอาจจะส่งผลทำให้เกิดภาวะการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าในกลุ่มชิ้นส่วนรถยนต์ได้ในอนาคต

รายงานดังกล่าวได้ระบุถึงข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า สภาวะการทำสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ โดยรวมถือเป็นการเปิดโอกาสสำหรับผู้ประกอบการรายอื่นในตลาด รวมถึงประเทศไทยในการช่วงชิงความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด และเพิ่มสัดส่วนการครองตลาดมากขึ้น โดยสินค้าไทยหลายรายการถือเป็นสินค้าในกลุ่มทดแทนการนำเข้าสินค้าจากจีนที่ได้รับผลกระทบจากการเรียกเก็บภาษีนำเข้า ภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด และภาษีตอบโต้การอุดหนุน

ในส่วนของการเจรจาเพื่อลดผลกระทบจากการพิจารณาตัดสิทธิจีเอสพีนั้น จากปัจจุบันสหรัฐวางท่าทีทางการค้าและการกำหนดนโยบายที่ค่อนข้างแข็งกร้าวต่อประเทศคู่ค้า ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐของไทยที่มีส่วน เกี่ยวข้องในส่วนงานการเจรจาในระดับนโยบาย ควรพิจารณาใช้กลยุทธ์การเจรจาแบบประนีประนอม (Compromise Strategy) ในการหาทางออกร่วมกันกับสหรัฐ ในลักษณะ Win-Win เพื่อลดผลกระทบและความขัดแย้งทางการค้าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับจีนในช่วงที่ผ่านมา

สอดคล้องกับก่อนหน้านี้ วันที่ 20 ..นี้ ประเทศไทย นำโดยเอกอัครราชทูตไทยประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงวอชิงตัน ดี.ซี รวมถึงสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ และทูตแรงงาน ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. จะหารือกับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (ยูเอสทีอาร์) อย่างเป็นทางการครั้งแรกหลัง พล..ประยุทธ์ และนายวิลเบอร์ รอสส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ในระหว่างการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 35 โดยไทยขอให้สหรัฐพิจารณาทบทวนจีเอสพีอีกครั้ง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ พร้อมเปิดให้มีการเจรจาทบทวนระหว่างกัน

ล่าสุดรายงานจากสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ ว่า เมื่อวันที่ 22 ..62 ทีมไทยแลนด์ได้เข้าพบหารือกับยูเอสทีอาร์ และกำหนดจะประชุมผ่านทางไกล (วิดีโอ คอนเฟอร์เรนซ์) ร่วมกัน ในวันที่ 6 ..นี้

"หากไล่เรียงท่าทีของสหรัฐในช่วงเวลาที่ผ่านมา ก็พอจะบอกได้ว่า เรื่องนี้มีสิ่งที่ซ่อนเร้น อยู่ที่ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง ไม่ให้กลายเป็นว่าได้สิ่งหนึ่งมาแต่เสียอีกสิ่งไป"