'โลจิสติกส์' 1 ใน 5 งานตลาดแรงงาน

'โลจิสติกส์' 1 ใน 5 งานตลาดแรงงาน

“โลจิสติกส์” เป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine Of Growth) ของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 5 อันดับแรกของสายงานที่ต้องการของตลาดแรงงาน (พ.ศ. 2559) โดยเฉพาะงานขนส่งและโลจิสติกส์

ปัจจุบันแนวโน้มของตลาด “อี-คอมเมิร์ซ” ตลาดออนไลน์นับวันจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ปลายปี 2561 ประเมินว่า มูลค่าการซื้อขายออนไลน์ในปี 2561 อยู่ที่ 3.05 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 9-10% และคาดการณ์ว่าจากนี้ไปจนถึงปี 2565 ตลาดอี-คอมเมิร์ซไทย น่าจะเติบโตขึ้นเฉลี่ย 22% ซึ่งเมื่อตลาดออนไลน์โตเร็วขึ้น “โลจิสติกส์” ก็มีอัตราเติบโตตามไปด้วย คาดว่ามีมูลค่ามากกว่า 200,000 ล้านบาท มีอัตราเติบโตปีละ 15-20%

"ศิริเดช คำสุพรหม" คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) กล่าวว่า ขณะนี้ต้องยอมรับว่าธุรกิจโลจิสติกส์ มีอัตราการเติบโตมากขึ้น เนื่องจากตลาดอีคอมเมิร์ซ การซื้อขายตลาดออนไลน์โตขึ้น อีกทั้งรัฐบาลก็ได้ให้ความสำคัญในสาขาดังกล่าว แต่เมื่อดูการผลิตบุคลากรด้านนี้ ประเทศกำลังขาดแคลนอย่างมาก หน้าที่ของสถาบันการศึกษาซึ่งต้องผลิตกำลังคนตอบสนองความต้องการของประเทศ

157520140471

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชีหรือ CIBA มธบ.เป็นอีกหนึ่งสถาบันการศึกษาที่เล็งเห็นความสำคัญของการผลิตบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานด้านนี้ โดยมีการเปิดหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจโลจิสติกส์อย่างครบวงจร ตั้งแต่การบริหารจัดการคลังสินค้า สินค้าคงคลัง การขนส่ง การจัดหาและการบริการลูกค้า

อดีตการซื้อสินค้าของคนไทย ยังยึดติดกับการไปซื้อแบบเดินช็อปปิ้ง เพราะคนไทยไม่เชื่อมั่นการซื้อออนไลน์เนื่องจากเป็นการตัดเงินจากบัตรเครดิตและต้องกรอกข้อมูล ซึ่งคนไทยรู้สึกไม่ปลอดภัย แต่เมื่อตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยได้มีการปรับรูปแบบให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยโดยให้สามารถเก็บเงินปลายทางได้ ทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น เนื่องจากได้เห็นของก่อน และทำให้ลูกค้าสนใจซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยจึงโตขึ้น โลจิสติกส์ก็โตตาม และความต้องการบุคลากรด้านนี้ก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ”ศิริเดช กล่าว 

การเรียน“การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน” ไม่ใช่เรียนเพื่อรู้จักการขนส่งสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นการเรียนทั้งองค์ความรู้ในศาสตร์โลจิสติกส์และการปฎิบัติจริงในสถานประกอบการ ศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านนี้โดยตรง ครอบคลุมโลจิสติกส์ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และระบบรางของประเทศไทย

รูปแบบการเรียนการสอนของCIBA จะมีความโดดเด่นในการสร้างให้นักศึกษามีองค์ความรู้ในศาสตร์ของตนเองอย่างเข้มข้น และมีทักษะตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ โดย CIBA ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ กลุ่มบริษัท SC Group ซึ่งเป็นผู้นำและผู้เชี่ยวชาญทางด้านโลจิสติกส์เชิงบูรณาการของประเทศไทย ให้บริการด้านการขนส่งปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติเคมีภัณฑ์ รถยนต์และสินค้าทั่วไป ทั้งทางบกและทางน้ำ โดยมีเครือข่ายการ รถขนส่งสินค้า เรือขนส่งสินค้า ท่าเรือขนส่งสินค้า คลังสินค้า คลังก๊าซ 

157520140466

ในด้านโลจิสติกส์ระบบราง มีความร่วมมือกับ Xiamen City University ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ศูนย์จัดอบรม เพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบรางอันดับต้นๆ ของประเทศจีน โดยนักศึกษาสามารถไปเรียนรู้ได้ที่ประเทศจีน 1ภาคการศึกษา หรือไปฝึกงานสหกิจศึกษาได้ในสถานประกอบการที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ได้ 1 ปีเต็ม

“นักศึกษาสามารถมีประสบการณ์ได้ทั้งในไทยและประเทศจีน โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งถือว่ามีศักยภาพในเรื่องของรถไฟฟ้าระบบราง หรือขนส่งมวลชนในเมืองอย่างมาก มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ไปเรียนรู้ เพิ่มเติมทักษะต่างๆ ที่ไม่ได้จำกัดเพียงเฉพาะศาสตร์ในห้องเรียนเท่านั้น”ศิริเดช กล่าว

ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยได้เปิดให้ทางบริษัท Flash Express Logistics มาตั้งศูนย์ให้บริการด้านการรับส่งพัสดุประเภทด่วนภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นแหล่งฝึกปฎิบัติการโลจิสติกส์การรับส่งสินค้าที่รองรับการเติบโตของธุรกิจ e-commerce อีกทั้ง DNA ของ DPU คือการสร้างผู้ประกอบการ ดังนั้น นักศึกษาที่เรียนนอกจากไปทำงานในองค์กรต่างๆ ได้แล้ว ยังสามารถเป็นผู้ประกอบการด้านนี้ได้อีกด้วย

คณบดี CIBA กล่าวต่อไปว่า นักศึกษาที่จบจาก CIBA จะมีความเป็นมืออาชีพ เพราะมีความรู้ครอบคลุมทั้งด้านองค์ความรู้ ทักษะความเป็นวิชาชีพ เป็นโอกาสให้เด็กไปทำงานตามสำเร็จวิชาชีพได้ รวมถึงเด็กได้ไปศึกษาดูงาน เช่น สถานประกอบการโลจิสติกส์ในบริษัทเครื่องดื่มอันดับต้นๆของไทย เพื่อเพิ่มเติมประสบการณ์มากขึ้น ได้ไปฝึกปฎิบัติจริงในสถานประกอบการ ศูนย์พัฒนาบุคลากรฯ ทั้งในและประเทศจีน เป็นการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาของประเทศไทย

157520140442

เด็กไทยบางส่วนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเรียนโลจิสติกส์ ว่าเป็นผู้ส่งของ แต่จริงๆ แล้วการเรียนโลจิสติกส์ จะเป็นเรื่องการขนส่ง เส้นทาง Optimization การกระจายสินค้า การดูแลคลังสินค้า และอีกหลายเรื่องเพื่อความคุ้มทุน เด็กที่มาเรียนโลจิสติกส์จะเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ดังนั้น การเลือกเรียนด้านโลจิสติกส์ หรือสาขาอะไรก็ตาม ต้องมองเรื่องของอัตราการมีงานทำ เรียนจบแล้วมีงานทำมากน้อยขนาดไหน มหาวิทยาลัยที่เลือกเรียนมีความร่วมมือ มีหลักสูตร มีจุดเด่นอะไรที่จะช่วยให้มีทักษะ มีประสบการณ์ และมีองค์ความรู้ตอบโจทย์กับความต้องการของตลาดแรงงาน เทรนด์ของประเทศในอนาคตร่วมด้วย” คณบดี CIBA กล่าว

ทั้งนี้ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน”เน้นการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษา มีองค์ความรู้ มีทักษะวิชาชีพ และความเชี่ยวชาญ ด้านการวางแผน กำหนด กลยุทธ์ การวิเคราะห์สถานการณ์ การประเมินผล แก้ปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีประสบการณ์ในการทำงานจริงกับสถานประกอบการ และสร้างเครือข่าย มีความเป็นผู้ประกอบการเมื่อจบการศึกษา ดูข้อมูลได้ที่ http://ciba.dpu.ac.th/