ซื้อไม่ทันแล้ว ...โรลส์-รอยซ์ “เรธ อีเกิล8”

ซื้อไม่ทันแล้ว ...โรลส์-รอยซ์ “เรธ อีเกิล8”

รุ่นพิเศษ 50 คัน ทั่วโลก โควต้า 1 คันในไทย ล่าสุดมีผู้จองเป็นเจ้าของเรียบร้อยแล้ว

       หลังจากเปิดตัว รถยนต์รุ่นพิเศษ “โรลส์-รอยซ์ เรธ อีเกิล8” เมื่อสัปดาห์ก่อน เป็นรถที่ผลิตแค่ 50 คัน ทั่วโลก และไทยได้โควต้า 1 คัน โดยไม่เปิดเผยราคาจำหน่าย แต่แน่นอนว่าสูงกว่ารุ่นพื้นฐานที่มีราคา 32.8 ล้านบาท แน่นอน

       ล่าสุด โรลส์-รอยซ์ มอเตอร์ คาร์ส แบงคอก แจ้งว่า รถคันนี้มีผู้จับจองเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ใครที่อยากชมตัวจริง ทางบริษัทยังคงขอนำรถรุ่นนี้จอดโชว์ที่ ที่งาน “The Pinnacle of Luxury2019”  ระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน ถึง 10 ธันวาคม ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน ก่อน

       สำหรับ เรธ อีเกิล 8 สร้างขึ้นเพื่อฉลองครบรอบ 100 ปี การบินข้ามมมหาสมุทรแอตแลนติกโดยไม่จอดพักได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลกเมื่อปี 2462 ด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิด Vickers Vimy สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งผ่านการปรับแต่งเป็นพิเศษ ใช้รื่องยนต์ของ โรลส์-รอยซ์ อีเกิล 8 ที่ให้กำลังสูงสุด 350 แรงม้า 2 เครื่อง

       ซึ่งรถรุ่นนี้ตกแต่งพิเศษหลายจุด เช่น  ตัวถังสีเมทัลตัดกับสีเซลบี เกรย์ (Selby Grey) แบ่งเป็นสัดส่วนโดยเส้นทองเหลือง กระจังหน้าสีดำ ล้อแม็กเคลือบเงาเป็นบางจุดด้วยสีเทาเข้ม

157500550333

        ห้องโดยสารตกแต่งสอดคล้องกับสีตัวถัง วัสดุทองเหลืองถูกใช้ในจุดสำคัญ ทั้งส่วนของที่นั่งคนขับ หนังแท้สีเซลบี เกรย์ (Selby Grey) และสีดำ แต่งขอบด้วยทองเหลือง สื่อถึงเครื่องวัดระยะทางหาเส้นรุ้งและเส้นแวงทองเหลือง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

        กรอบลำโพงผลิตจากทองเหลือง แสดงระยะทางโดยประมาณกว่า 1,880 ไมล์ ของไฟล์ทการบิน ประตูฝั่งผู้ขับตกแต่งด้วยแผ่นเหล็ก สลักถ้อยแถลงของวินสตัน เชอร์ชิล ที่กล่าวถึงความสำเร็จของนักบินทั้งคู่

        แดชบอร์ดตกแต่งให้สะท้อนทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่นักบินทั้ง 2 ได้เห็นในท้ายที่สุด หลังบินฝ่าเมฆหมอกหนาออกมาได้สำเร็จ ด้วยกรรมวิธีร่วมสมัย ผสานเทคนิคดั้งเดิม ไม้ยูคาลิปตัสรมควันผ่านการชุบสูญญากาศเป็นสีทอง ก่อนนำไปเลี่ยมกับเงินและทองแดง

157500550266

        เพดานห้องโดยสารตกแต่งเป็นรถแสงดาว Starlight Headliner โดยเส้นใยไฟเบอร์ออปติก 1,183 จุด แสดงตำแหน่งของดวงดาวบนฟากฟ้าในช่วงเวลาของไฟล์ทบินในปี 2462 เส้นทางบินและหมู่ดาวต่างๆ ถักร้อยด้วยเส้นด้ายทองเหลือง โดยเรื่องราวที่ทั้ง 2 บินฝ่าหมู่เมฆเพื่อใช้ดวงดาวนำทาง ถูกบอกเล่าผ่านเส้นใยนำแสงไฟเบอร์ออปติกสีแดง ควบคู่กับการเย็บปักเป็นลายก้อนเมฆ นอกจากนั้นยังมีแผ่นเหล็กที่มีข้อความ ‘The celestial arrangement at the halfway point 00:17am June 15th 1919, 5007’ Latitude North – 31” Longitude West’ แสดงจุดกึ่งกลางของการเดินทาง

157500550145